Why we type(script) | https://unsplash.com/photos/azft6PuI3Ug

เขียน TypeScript กันทำไมนะ

Supawit R
odds.team
Published in
2 min readDec 1, 2020

--

อยากเล่าเกี่ยวกับการมาเขียน TypeScript ของตัวเอง จากที่เมื่อก่อนเรายังเตาะแตะอยู่ในโลกของ JavaScript อยู่เลย ยังเป็นมือใหม่หัดลองนู่นนี่ ก็เห็นเห้ยเจ๋งจังเลยเรียน JS ตัวเดียวก็พอแล้วนิ เขียนได้ทั้ง frontend, backend, mobile, desktop ครบจบเลย ดีจัง 😃

แต่เมื่อผมลองเขียนไปสักพักก็เจอว่าเห้ย ทำไมมันมีบั๊กตรงนี้นะ ตัวแปรนี้มันมีข้อมูลอะไรให้ใช้บ้าง ทำไมบางทีมันส่งมาเป็น undefined เสียเวลานั่ง debug เป็นวัน

ความตลก ๆ ในการใช้ == และ === ในการเปรียบเทียบข้อมูลที่ให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไป อารมณ์ประมาณมุกด้านล่าง

JavaScript Meme Explaining | https://www.freecodecamp.org/news/explaining-the-best-javascript-meme-i-have-ever-seen/

เลยสงสัยจังเล้ย ว่าทำไงดีนะให้ เห้ยเขียน unit test จะช่วยเราได้หรือเปล่านะ ก็รู้สึกว่าพอช่วยได้ประมาณนึง แต่ปัญหาก็ไม่ได้หมดไป ก็ต้องมา debug กันอยู่

แล้วเราก็มาเจอกัน… TypeScript ได้ยินเกียรติศักดิ์ของภาษานี้มาสักพักใหญ่ เริ่มรู้จักภาษาจากการไปลอง Angular ก็แบบเห้ยดี ช่วยเป็น document ให้เราประมาณนึงได้เลยว่าข้อมูลตัวแปรที่ประกาศอยู่ในโค้ด จะมี Data อะไรบ้าง

TypeScript

TypeScript is superset of JavaScript

TypeScript is superset of JavaScript หมายความว่าความสามารถอะไรที่เราเคยเขียนใน JavaScript สิ่งเหล่านั้นมีอยู่ใน TypeScript ทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีเรื่องฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน JavaScript ที่ยังอยู่ใน stage ต่าง ๆ ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ใน core หลักของ JavaScript เอง

อีกทั้งความที่ถ้าเราประกาศ Type ให้โปรแกรมของเรา เราก็สามารถรู้ได้เลยว่ามีส่วนไหนของโปรแกรมที่ทำงานไม่ถูกต้องอยู่ เพราะ TypeScript มีตัว Complier ช่วยบอกเรา นั่นเองจึงทำให้ภาษานี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในศักราชนี้ Enterprise ต่างก็หยิบเอาภาษานี้มาใช้หากจะต้องเขียน JavaScript เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนการ Debug และเหมาะมากกับทีมที่จะมาใช้ modern frontend framework เช่น Angular, React หรือ Vue

ตัวผมเริ่มศึกษาไปเจอหนังสือเล่มนึง ที่ช่วยเป็นแนวทางในการหัดเขียนภาษานี้

และ TypeScript เองก็มี Utility Types ที่ช่วยให้เราสนุกกับการเขียน type ขึ้น

หากใครคิดว่า TypeScript ก็ดีนะ แต่เอาไว้เริ่มใหม่โปรเจกต์หน้าละกัน talk นี้ของพี่ Thai Pangsakulyanont อาจช่วยคุณได้ในการทำให้ JavaScript Project ของเพื่อน ๆ เริ่มมี Type

หากอ่านมาถึงตรงนี้มีอะไรแล้วคิดว่ามีอะไรผิดพลาด หรือตกหล่นอะไร อยากรบกวนช่วยกันคอมเมนต์เข้ามาได้เลยนะครับ หรือสงสัยอะไรอยากถามก็ได้เช่นกัน เพื่อที่เพื่อน ๆ คนอื่นที่มาอ่านบทความนี้จะได้เนื้อหาที่ถูกต้องและสมบูรณ์ครับ 🙂

อ้างอิง

https://www.typescriptlang.org/docs/handbook/utility-types.html

https://basarat.gitbook.io/typescript/

Special Thanks

ขอขอบคุณ “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)” และคณาจารย์ “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. (SIT)” ที่ให้การสนับสนุน “ทุนเพชรพระจอมเกล้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (KMUTT-depa)” ซึ่งเป็นทุนที่มอบความรู้ ทักษะและโอกาสดีในการฝึกฝนพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้เฉียบคมมากยิ่งขึ้นครับ ❤️

--

--

Supawit R
odds.team

a developer who love to learn, read, and sleep.