เอาตัวรอดยังไงในยุคที่ AI กำลังจะครองโลก

Pierceeee
odds.team

--

Skills for Success in an Era of Increasing Generative AI in the Workplace
Speaker : Sappawish Siripon
Senior Designer, Beacon Interface (KBTG)
UXTH2024

ทำไม AI ถึงบูมมากๆในบ้านเรากันนะ เมื่อเทียบกับในสมัยก่อนนั้น AI มักจะเป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อทำตามคำสั่งที่เรากำหนด แล้วก็มีเลียนแบบการสื่อสารที่ดูเหมือนกำลังพูดคุยกับมนุษย์ แต่ก็แน่นอนว่ามันไม่ได้เนียนขนาดนั้น เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน AI ยุคนี้ก็เปลี่ยน มันสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองผ่านข้อมูลที่เราให้มันศึกษา ทำให้ AI มีการให้คำตอบที่ดูมีความใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น รวมถึงมนุษย์สามารถเข้าใจได้ง่าย ทำให้คนเกิดความสนใจมากขึ้นในยุคปัจจุบัน

แล้วคุณคิดว่าคุณรู้จัก AI รึยัง?

ถ้ายังเราจะมาแบ่งปันให้ แต่ถ้ารู้แล้วก็ลองฟังดูนะไม่ใช่ก็จะได้เตือน
AI นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
Predictive AI และ Generative AI ความต่างของสอง AI คือ อันแรกเป็นการประเมิน คาดการณ์ ข้อมูล หรือ การเรียนรู้รูปแบบบางอย่างจากอดีต เพื่อคาดการณ์อนาคต เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อคาดเดาว่าจากข้อมูลที่ได้มามีโอกาสเป็นอะไรได้บ้าง แต่สำหรับ Generative AI นั้นต่างออกไป Generative AI มีการเรียนรู้จากภาษาของมนุษย์ไม่ว่าจะชาติใดก็ตาม มันจะทำการเรียนรู้ทั้งจากข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว และการป้อนข้อมูลของคนที่ถามมัน ยิ่งมีการพูดคุยมากก็จะเกิดการเรียนรู้ที่มากขึ้นและสามารถตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น แถมประโยคที่ใช้ตอบยังมีความคล้ายคลึงกับการพูดคุยกับมนุษย์อีกด้วย

จากที่รู้จักประเภท AI แล้วเนี่ย เรามายกตัวอย่าง Generative AI ที่ดังๆหน่อยดีกว่า เช่น Chat GPT, Bard โดย AI ที่กล่าวมาอาจจะมีการทำงานคล้ายๆกันแต่ประสิทธิภาพที่ได้นั้นแตกต่างกัน แถมมีความโดดเด่นต่างกันด้วย ซึ่งสิ่งที่ตลาด AI เขาแข่งกันอยู่นั้นคือ

  • Speed ความเร็วในการประมวลผลยิ่งเร็วก็ยิ่งดีเยี่ยม
  • Easy to use ความง่ายในการใช้งานมี interface ให้ใช้ง่ายๆก็แจ่ม
  • Capability ความสามารถในการให้ข้อมูล เช่น คนเข้าเยอะๆ อาจจะมีการ Delay เกิดขึ้นหรือกระตุกบ้าง หรือแม้แต่เป็นความขี้เกียจของน้องที่ไม่ยอมตอบ ต้องโดนกดดันถึงจะยอมตอบออกมา อาจจะทำให้ผู้ใช้งานไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่
  • Specialized ความเชี่ยวชาญที่พิเศษของแต่ละเจ้าก็จะต่างกัน
  • Cost ถ้าเป็นเรื่องของการใช้งานของรายบุคคลราคาก็จะค่อนข้างสูง แต่ถ้าเป็นฝั่งที่มีการใช้งานสำหรับนักพัฒนาราคาก็จะถูกลง แล้วแต่เจ้าไม่เท่ากัน
  • Integrated การนำไปใช้งานจริงนั้นเหมือนหลายๆเจ้าก็ไม่ได้ยุ่งยาก

ได้ยินแบบนี้แล้วเราก็ควรจะเลือกใช้สิ่งที่เหมาะกับงานเรามากกว่าที่เราจะตามเทรนเพราะค่าสมัครรายเดือนของแต่ละเจ้านั้นก็ไม่ได้ถูกๆเลย ยิ่งเปิดตัวใหม่ๆยังไม่มีใครทำได้ยิ่งแพงโขเลย

พูดเรื่องตลาด AI เขาแข่งกันยังไงไปแล้วมาทำความรู้จักกันต่อกับ Model type ของ AI กันบ้างดีกว่า

ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเภท แต่ละประเภทเกิดมาเพื่ออะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

  1. Text -> Text
    คือการใช้ข้อความในการพูดคุยกับ AI แล้ว AI ก็ประมวลผลออกมาเป็น ข้อความที่ตอบโต้กับเรา เช่น Chat GPT เพื่อเป็นการถามตอบหรือต่อบทสนทนา
  2. Text -> Image
    คือการใช้ข้อความหรือที่เรียกว่าคำสั่งที่ต้องการสั่งให้ AI ประมวลผลออกมาเป็นภาพตามที่เราต้องการนั่นเอง เช่น Midjourney
  3. Text -> Audio
    คือการใช้ข้อความหรือที่เรียกว่าคำสั่งที่ต้องการสั่งให้ AI ประมวลผลออกมาเป็นเสียง เพื่อสร้างทำนอง หรือ เพลง ขึ้นมา
  4. Text-> Video
    คือการใช้ข้อความหรือที่เรียกว่าคำสั่งที่ต้องการสั่งให้ AI ประมวลผลออกมาเป็นวิดีโอ เพื่อทำเป็น Teaser ภาพยนต์ หรือทำวิดีโอสั้นๆตามที่เราต้องการแบบพร้อมใช้งานก็มี
  5. Speech -> Text
    คือการบันทึกเสียง จากนั้นประมวลผลออกมาเป็นข้อความตามเนื้อหาในคลิปเสียง หรือที่เจ๋งๆในปัจจุบันก็เป็นแนวสรุปการประชุมให้หลังสิ้นสุดการประชุม
  6. Image -> Text
    คือการนำรูปที่เราต้องการ มาแปลงเป็น คำสั่ง (Command) เพื่อเอาไปต่อยอดการใช้ promt นั่นเอง
  7. Image -> Image
    คือการนำรูปมารวมกัน เพื่อสร้างภาพใหม่ที่มีองค์ประกอบของรูปเหล่านั้นออกมา

แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่นี้หรอกมันเก่งได้มากกว่านี้ ก็คือการนำหลายๆ Model มารวมกันเพื่อออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานที่มากขึ้น หรือเรียกว่า Multi model นั่นเอง ซึ่งก็มีหลายเจ้าที่ทำแบบนี้ เช่น การสร้างคลิปด้วยการเอา คลิปที่เราพูดอะไรไม่รู้มาเรียนรู้ท่าทางของเราตอนพูดลักษณะหน้าการขยับปากตา แต่พอเราเอาสคริปไป generate คลิปใหม่ ปรากฏว่าได้คลิปใหม่โดยที่เราไม่ต้องเสียงแรงอัดวิดีโอเลย มาหมดทั้งภาพเสียงและข้อความ แถมโทนเสียงเรามันก็ก็อปได้ 🤩 รู้สึกอยู่ยากขึ้นรึยัง🥶

ยุคสมัยของ AI เมื่อเทียบกับวิวัฒนาการสมัยก่อน ที่ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ยุคสมัยเป็น 100 ปี แต่พอมามองยุคนี้เรียกได้ว่าใช้เวลาต่างกันลิบลับ
ดังนั้นยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นของยุค AI คนที่เอาไปใช้เป็นกลุ่มแรกๆก็จะได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เลือกใช้อยู่แล้ว โอกาสในการเติบโตมีอีกมากและเพื่อให้เราทันโลกเราจึงไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ลองใช้ตัวที่เราคิดว่าง่ายๆก่อน เพื่อให้เราได้ทำความรู้จักเครื่องมือใหม่แล้วค่อยอัพเลเวลเมื่อเราเริ่มชำนาญ

เราลองมาดูเพิ่มอีกหน่อยดีกว่าว่า Mindset ของคนที่มีต่อ AI นั้นมีอะไรบ้าง

กลุ่มแรกคือ Denial การหวาดกลัว AI จนเกินไป เช่น กลัวว่า AI จะมาแย่งงานเรา หรือ เราไม่มีเวลาเรียนรู้ AI เลยทำให้เรากลัวการเข้ามาของ
กลุ่มที่สองคือ Panic คิดไปเอง เช่น AI กำลังจะมาแย่งงานเรา เราก็ยื่นขอล้มละลายไปก่อนเลยละกัน แน่นอนว่ามันไม่ถูกต้องเราก็จะกลายเป็นคนว่างงานซะเองทั้งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงด้วยซ้ำ
กลุ่มที่สาม คือ Positive พยายามเรียนรู้เพื่อต่อยอดงาน เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมองว่ามันคือโอกาสของการเติบโตในสายอาชีพ

ตัวอย่าง การใช้ AI

Perplexity คือ AI ที่มีแนวโน้วว่าอาจจะมาล้ม Search ของ Google ในอนาคต เพราะบางครั้งคนเราก็คิดไม่ออกว่าจะถามอะไร เราก็จะใช้คำพูดที่แตกต่างจากการsearch ด้วย key word ปกติ แต่เราดันใช้ประโยคที่เป็นภาษามนุษย์มากขึ้น

มีบทสัมภาษณ์นึงของ Head design ของ Perplexity เขาได้พูดว่า

สิ่งนี้จะเชื่อมข้อมูลทั้งโลกมาอยู่ในมือคุณ และยังเป็นข้อมูลที่ถูกต้องด้วย

โดยข้อมูลที่ Perplexity ตอบมานั้น จะมีแหล่งอ้างอิงว่าเอามาจากที่ไหนพร้อมระบุตัวเลขอ้างอิงในเนื้อหาเพื่อจับคู่เนื้อหาหรือข้อมูลกับแหล่งอ้างอิง พร้อมทั้งมีการนำเสนอคำถามเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวการถามคำถามเพื่อให้เราได้ข้อมูลที่ลึกมากขึ้น

Sleep cycle คือ แอปแทร็คการนอนที่มีการนำ AI เข้ามาเพื่อช่วยในการประมวลผลเพื่อนำข้อมูล การนอน การใช้ชีวิต จากการเก็บข้อมูลหลายๆสรุปออกมาให้เข้าใจง่าย และ แนวคิดนี้ทำให้เกิดมุมมองที่ว่ายอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ง่ายกว่า สะดวกกว่า

เรื่องถัดมาคือ Design Guideline ของการใช้งาน AI ตอนนี้มีใครทำออกมาให้ชาวเราได้เรียนรู้บ้าง แน่นอนว่าพี่ใหญ่อย่าง Google ก็ต้องมีสิ โดยเนื้อหานั้นก็ได้บอกเล่าว่า การนำ AI ไปใช้งานของทาง Google มีวิธีการใช้งานอย่างไร เพื่อออกแบบประสบการณ์การใช้งานหรือรูปแบบการนำไปใช้งานในแบบของ Google
กดดูได้ที่นี่เลยจ้า

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ทาง Beacon ก็มีการนำ AI ไปใช้งานด้วย
สำหรับงาน Research ก็จะมี AI ที่ชื่อ Copilot
ทีม Communication design ก็จะเป็น Midjourney เพื่อทำการสร้างภาพในงาน Visual
ทีม UX/UI design นั้นก็ยังไม่มีตัวไหนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ตอนนี้ก็รอ Figma ออก Official อีกที

การคาดการณ์เกี่ยวกับ AI แบบกรุบๆ จากพี่นนท์

  • การแข่งขันของ Generative AI on cloud จะเปลี่ยนเป็น Generative AI on device เพิ่มมากขึ้นแน่นอนในอนาคต เพราะตลาดนี้ยังมีอะไรให้เล่นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น Apple หรือ Google เองที่มีแบรนด์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของตัวเองอาจจะลงมาเล่นในตลาดนี้
  • การ Search ที่เปลี่ยนไป จะเริ่มมีการใช้ AI ที่มากขึ้นเพราะประหยัดเวลากว่า แถมได้ข้อมูลที่มากกว่า พร้อมสรุปมาให้เข้าใจง่ายด้วย
  • คนที่ไม่สามารถส่งมอบงานที่เหนือกว่า AI มีโอกาส ตกงาน แน่นอน
  • คนจะโหยหา ผลงานที่เป็นงานฝีมือของมนุษย์มากขึ้น

แน่นอนว่าอย่าชะล่าใจปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป เราจงเรียนรู้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองในอนาคต และทิ้งท้ายไว้ว่า AI ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนอกจากเราทำตัวเอง

และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ ODDS ที่ได้สร้างโอกาสดีๆให้ได้เข้าร่วมงาน UXTH ในครั้งนี้ด้วยค่ะ 🫶🏻

--

--