เอา Data ไปเล่าเรื่องแบบไหนให้คนจดจำ

Pierceeee
odds.team

--

เนื่องจาก เนื้อหาที่เพียสจะแชร์ต่อไปเป็นการเรียนรู้ และสรุปสิ่งที่ได้จาก Private Class ใน ODDS เนื้อหาที่ได้เรียน สอนโดย ฟ้า และ น้องพิมมี่ที่ได้ไปเรียนรู้เอาวิชามาแบ่งปันเพื่อน กราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ 😻💞

เริ่มยังไงดี

เอาตรงนี้ละกัน หัวข้อที่เราเข้าไปร่วม มีชื่อว่า DATA Storytelling ฟังจากชื่อแล้วเดาน่าจะไม่ยาก แต่บางคนอาจจะคิดภาพไม่ออก งั้นลองมาทำความรู้จักสิ่งนี้กัน

หัวข้อที่เราได้เรียนแบ่งออกเป็น 4 ข้อ

  1. Communication
  2. Analytic
  3. Visualization
  4. Data storytelling

Communication

  • การจะส่งสารไปหาผู้รับสาร เราจะต้องดูด้วยว่า สิ่งที่เราพยายามสื่อสารนั้นมันชัดเจนและเข้าใจง่ายเพียงพอสำหรับผู้รับแล้วหรือไม่ เนื่องจากคนเราต่างคนต่างถูกเลี้ยงดูมาแตกต่างกันการใช้ชีวิตแตกต่างกัน สิ่งเดียวกันอาจจะตีความคนละอย่างก็ได้
  • การสื่อสารที่ดีต้องทำการตัดสิ่งรบกวนออกให้ได้มากที่สุดและระบุสิ่งที่อยากให้ผู้ฟังทราบให้ชัดเจน
  • ทำความรู้จักและ ทำความเข้าใจผู้ฟัง ก่อนจะเลือกนำเสนอในมุมของคนที่เขาอาจไม่คุ้นเคย

“ทำกราฟไม่ได้ แต่ต้องอ่านกราฟเป็น ”

เรียกได้ว่าเป็น Quote ที่เรารู้สึกว่า กราฟหลายๆแบบที่เราเห็นหลายๆอันเรายังอ่านไม่เป็นเลย แล้วยิ่งฝั่งคนที่ทำงานที่อ่านกราฟโดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่คนที่ทำกราฟขึ้นมาเองต้องเป็นเรื่องยากมากแน่ๆ

Analytic

พาร์ทของการ Analytic มีอยู่ด้วยกัน 2 กระบวนการคือ Analytic process และ Creative process

  • Analytic process ทำเพื่อพิสูจน์ว่าจุดๆนั้นมันมีความหมายนะ
  • Creative process ทำเพื่อนำเสนอให้เกิด action บางอย่างจากสิ่งที่เราพิสูจน์มา

Analytic process

WHY เราต้องตั้งคำถามทุกครั้งว่าเรามีจุดประสงค์ของการทำสิ่งนี้คืออะไร เช่น เราต้องการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

WHO เราต้องการนำเสนอเรื่องนี้ให้ใคร

  1. Listener : เขาอยากฟังอะไร เขาต้องการเห็นอะไร เขาต้องการอะไรจากสิ่งนี้
  2. Me : เราเป็นใครสำหรับเขา เป็นครั้งแรกที่เจอกันหรือเปล่า เรามีเครดิตสำหรับเขามากแค่ไหน เราต้องวางตัวให้เหมาะสม

WHAT จากความต้องการที่เขาอยากรู้แล้วเนี่ย เราต้องการให้เขาทำอะไรต่อ อยากให้เขารับรู้เรื่องอะไร ซึ่งการที่เราบอกเขาไปแล้วเนี่ยคนที่ตัดสินใจคือเขา เขาอาจจะทำหรือไม่ทำตามสิ่งที่เราบอกก็ได้

HOW

  1. เราจะหาดาต้าเหล่านั้นได้จากที่ไหน อย่างไร
  2. ดาต้าที่ได้มาช่วยสนับสนุนเป้าหมายที่เราวางไว้ไหม
  3. เราต้องวิเคราะห์ดาต้าอย่างไร
  4. แล้วการวัดผลจากผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นต้องทำอย่างไร

ในส่วนเนื้อหาของตรงนี้ ฟ้าต้องการให้เราปรับความคิดมุมมองให้เข้าใจมากขึ้นเลยให้เราได้ทำกิจกรรมลองวิเคราะห์ว่าจากข้อมูลที่มีให้เราอยากจะนำเสนออะไรให้ใครดู เป็นกิจกรรมที่ทำเป็นคู่ก็ได้เดี่ยวก็ได้ แต่เพียสเลือกทำร่วมกันกับเพื่อน ชื่อเฟรม

ตัวอย่างของทีมเรา สมมติว่าเราเป็นเจ้าของร้านที่ขายของทั่วไป เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรามีข้อมูล ประวัติการซื้อของๆลูกค้าทุกคนโดยเราจะเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอด

WHY — อยากเพิ่มยอดขายให้แบรนด์โดยกลุ่มที่เราต้องการเจาะตลาดเพิ่มขึ้นคือผู้ชาย

WHO — คนที่เราต้องการนำเสนอคือเราเอง เราเป็นเจ้าของแบรนด์

WHAT — เพื่อทำความเข้าใจคู่แข่ง และ หา Product ใหม่ๆที่เหมาะสมกับผู้ชาย

HOW — วัดผลจากสัดส่วนกำไรที่ได้ และ จำนวนยอดขายของ Product ที่ผู้ชายซื้อ

Visualization

เป็นเรื่องของการทำ Creative process ซึ่งตรงส่วนนี้คือการนำเสนอเฉพาะข้อมูลที่เราเห็นว่ามันสำคัญที่จะทำให้เกิด Impact ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องเล่ามาทั้งหมดว่าเราทำอะไรบ้างให้สิ่งเหล่านั้นมีไว้ช่วยสนับสนุนตอนที่เขาต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกก็พอ

ตรงส่วนนี้มีคำพูดที่ว่า

The one-size fits all dashboard is the most common design dashboard mistake

เป็นสิ่งที่ฟ้าเอามาอีกที แต่จำแหล่งที่มาไม่ได้ละ จากประโยคนี้ที่อยากจะสื่อคือ Dashboard รูปแบบเดียวที่สามารถตอบโจทย์ทุกคนได้บนโลกนี้ ไม่มีอยู่จริง เพราะถ้าจากที่เราเรียนมาเมื่อกี้เลยที่ว่า ใครต้องการเห็นอะไรมันก็ตอบได้แล้วว่าแต่ละคนไม่ได้ต้องการเห็นเหมือนกันแน่นอนแล้ว Dashboard รูปแบบเดียวจะไปเพียงพอได้ไง

เนื้อหาส่วนนี้ฟ้าได้แนะนำวิธีการใช้กราฟที่แตกต่างกันหลายๆรูปแบบทั้งหมดที่ได้เรียนมีประมาณ 4 ประเภท

  1. Comparison — เปรียบเทียบ
    กราฟที่ใช้ คือ Bar chart, Stack Bar Chart, Group Bar chart, Line chart
  2. Relationship — แสดงความสัมพันธ์
    กราฟที่ใช้ คือ Scatter plot, Bubble chart
  3. Distribution — การกระจายตัว
    กราฟที่ใช้ คือ Histogram, Boxplot
  4. Composition — การแบ่งสัดส่วน
    กราฟที่ใช้ คือ Treemap, Stacked 100% Bar chart , Pie chart, Donut chart

โดยรูปแบบกราฟที่เอาไปใช้งานแต่ละแบบต้องทำการฝึกฝนและตีความให้เป็นซึ่งแน่นอนว่าเรียนครั้งเดียวก็ยังใช้ไม่เป็นแน่นอน ต้องใช้บ่อยๆนะ แต่เพียสเองก็ยังไม่ค่อยถนัดเหมือนกัน

Data storytelling

ตัวแรกที้ได้ทำความรู้จักคือ Top-T Framework เป็นการนำเสนอกราฟที่เราได้จากการทำ Visualize ให้ผู้ฟังรู้สึกอินกับสิ่งที่เรากำลังสื่อสาร การใช้งาน Top-T ประกอบด้วย

Top-T Framework

  1. Topic กราฟที่เรากำลังจะอธิบายคือกราฟอะไร (วัตถุประสงค์ที่กราฟต้องการนำเสนอไม่ใช่ประเภทกราฟนะคะ)
  2. Orient องค์ประกอบของกราฟ เช่น แกน X แกน Y แท่งสีแดงนำเสนอข้อมูลอะไร เป็นต้น
  3. Point สิ่งที่เราต้องการจะสื่อคืออะไร ข้อมูลที่นำเสนอควรจะช่วยให้ผู้ฟังตะลึง สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมข้อมูลนี้เราถึงควรให้ความสนใจมันต่อ
  4. Transition การโปรยหัวข้อถัดไปเพื่อให้เกิดการติดตามข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่าง

  1. Topic วันนี้เพียสจะมานำเสนอยอดค่าใช้จ่ายของลูกค้าที่เป็น Top spender ของบริษัทเราค่ะ
  2. Orient องค์ประกอบของกราฟ ก็จะมีในส่วน แกน X ที่เป็น Customer ID ค่ะ ส่วนแกน Y คือยอดการใช้จ่ายของลูกค้า
  3. Point จากกราฟเราจะเห็นว่าลูกค้า ID 0001 มียอดการใช้จ่ายของเดือน พ.ค. มากกว่ารายอื่นๆถึง 100,000 ฿
  4. Transition จากยอดค่าใช้จ่ายนั้นเราไปดูกันค่ะว่าเป็นสินเค้าประเภทไหน แล้วลูกค้าเป็นใครทำอาชีพอะไร…

Character arc

เป็นการเล่าเรื่องที่มีจังหวะของการทำให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้น การเล่าเรื่องของสิ่งนี้จะเป็นเหมือนการติดตามภาพยนต์ หนัง หรือ นิทานซึ่งในเรื่องราวต้องมีการทำให้เนื้อเรื่องชวนน่าติดตาม เพื่อให้ผู้ฟังอินกับเนื้อหา

Graph for Character arc description about Emotional intensity and Time/Direction of travel if Love story starter will be positive emotion when the middle will negative emotion of character until to the end emotion will back to positive again
Credit by Quora website

จากกราฟก็จะเป็นตัวอย่างของเรื่องราวที่เป็น เรื่องราวของความรัก ช่วงต้นๆเรื่องนั้นค่อนข้างที่จะมีอารมณ์ที่เป็นบวก การอินเลิฟของพระเอกและนางเอกทำให้เราอินมากๆ ต่อมากลางเรื่องเริ่มมีอุปสรรคมาขัดขวาง จนในตอนท้ายถึงจะกลับมาดีขึ้น
หรือแม้แต่เรื่องแนวการผจญภัย แรกๆก็มีอุปสรรคให้ผ่านเยอะขึ้นเรื่อยๆค่อยๆไต่ขึ้น แล้วจุดนึงก็จะดิ่งลง แล้วพอผ่านสิ่งนั้นมาได้ก็จะดีดขึ้นไปอีกจนในตอนท้ายก็จบด้วยความเรียบง่ายที่มีความสุข

The pyramid principle

จากยอดพิระมิดถึงฐานจะประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนของยอดคือ การเล่าเรื่องด้วย Main idea เราต้องการสื่อสารกับผู้ฟัง ว่าสิ่งที่เราอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องอะไร ส่วนถัดมาคือ การหาข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนหัวข้อหลักของเรา ในแต่ละหัวข้อที่เราเอามาสนับสนุนนั้นเราก็ต้องมีข้อมูลจริงมาสนับสนุนด้วยเช่นกัน

Start with your recommendation supporting argument should have more than one because if It have choice It mean not 1 data source you using and each supporting argument must have Supporting fact too
Image credit : The Minto Pyramid Principle and the SCR Framework

ตัวอย่าง ที่เพียสลองมะโนฝึกใช้ในคลาส
Main idea : อยากให้ทุกคนร่วมแยกขยะ
Why : เพื่อให้การ Recycle มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างมูลค่าให้ขยะ
How : วัสดุที่ใช้ Recycle จะได้หมุนเวียน , ไม่เป็นภาระให้คนเก็บขยะ

ข้อควรระวัง คือ Support fact ควรที่จะมีมากกว่า 1 เพื่อให้ Why ของเรามีน้ำหนักเพียงพอต่อการตัดสินใจ

เนื้อหาที่เอามาแบ่งปันก็มีประมาณนี้นะค้าบ แน่นอนว่าเป็นการเอาสิ่งที่เพียสทำความเข้าใจมาแบ่งปัน ถ้ามีตรงไหนที่ผิดพลาดไปต้องขออภัยด้วยนะคะ หวังว่าสิ่งนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ

--

--