ในวันที่เราแบ่งความรับผิดชอบออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

Chonlasith Jucksriporn
odds.team
Published in
1 min readMar 28, 2024

เป็นอีกเรื่องที่ได้มาจากที่ไปเรียนกับ Tong Yee ที่สิงคโปร์ ชื่อเรื่องอาจจะดูเหมือนละครดราม่า แต่ความจริงที่เกิด ก็ดราม่าไม่แพ้กัน และไม่ได้ไกลตัวเราเลย

เนื้อหาหลัก ๆ ตอนที่ไปเรียนกับ Tong Yee จะเน้นไปเรื่อง Polarity Management โดยที่ polarity นี้หมายถึงสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันสองอย่าง และเราไม่สามารถเลือกได้ การเลือกอย่างหนึ่ง จะส่งผลให้อีกอย่างลดลง หรือไม่ได้รับเลย ยกตัวอย่างเช่น การมี polarity ในมุมของชีวิตครอบครัว และชีวิตการงาน ถ้าเราเลือกที่จะให้เวลากับครอบครัวมาก ๆ จนไม่ได้มีเวลาทำงาน ไม่ได้มีเวลาพัฒนาทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน อาจจะส่งผลถึงหน้าที่การงาน ความก้าวหน้าต่าง ๆ ก็อาจจะหยุดนิ่ง แต่ถ้าเราให้เวลากับงานมาก ๆ ก็อาจจะส่งผลถึงความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ดังนั้นการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะดูเหมือนเป็นคำตอบที่ไม่ดีนัก การบริหาร polarity ตรงนี้ให้สมดุลจึงกลายเป็นสิ่งที่เราควรจะให้ความสำคัญกับมัน

เรื่องหนึ่งที่ Tong Yee เล่า คือ ในจุดที่เราจำเป็นต้องเลือกฝั่งใดฝั่งหนึ่งของ polarity (ฝั่งที่เราสนใจ เราเรียกว่า preferred pole) หลาย ๆ ครั้งเราเลือกไม่ได้ หรือตัดสินใจได้ยาก เรามักจะตัดสินใจที่จะหาใครอีกคนที่มาช่วยแบกรับ polarity ของเรา อีกด้านหนึ่ง ใครอีกคนในที่นี้ หมายถึงใครก็ได้ แล้วแต่บริบท ยกตัวอย่างเช่น ชีวิตครอบครัวที่เป็นคู่สามี-ภรรยา สามีอาจจะทำหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัว และทำงานหารายได้เข้าบ้านเป็นหลัก (polarity ฝั่งที่ 1)​ ส่วนภรรยาทำหน้าที่ดูแลครอบครัว ดูแลบ้าน ทำส่วนที่เหลือที่สามีไม่อยากทำ (polarity ฝั่งที่ 2) เหตุการณ์แบบนี้เราเรียกว่า Splitting the Ambivalence (Ambivalence หมายถึงความสับสน ไม่รู้ว่าควรจะให้ความสำคัญกับอะไร ไม่รู้ว่าควรจะรู้สึกยังไง ดังนั้น Splitting the Ambivalence จึงเป็นการแยกความรู้สึกแต่ละอย่างออกไป) ใครอีกคน อาจจะหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเป็นเพียงความสัมพันธ์แบบผิวเผินก็ได้

เรื่องมันเกิดตรงที่ว่าแต่ละด้านของ polarity มันเป็น shadow ของกันละกัน การที่เป็น shadow ของกันและกัน ไม่ได้หมายถึงอันหนึ่งเป็น positive และอีกอันเป็น negative แต่หมายถึงเมื่อมีฝั่งหนึ่งของ polarity เกิดขึ้น อีกฝั่งของ polarity ก็จะเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติเช่นกัน เมื่อเรา split ambivalence ออกจากกัน เราจะเลิกสนใจอีกฝั่งหนึ่งของ polarity ที่เราเลือก ส่งผลทำให้เรามองไม่เห็น shadow ของสิ่งที่เราตัดสินใจเลือกไป ทั้ง ๆ ที่ shadow มันก็อยู่ตรงนั้นเสมอมา และวันหนึ่งที่ shadow เติบโตมาพอจนทำให้เกิด conflict กับ preferred pole มันจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน จนอาจจะทำให้ความสัมพันธ์นั้นแตกหักลงได้ พอลองย้อนกลับไปที่ตัวอย่างก่อนหน้า ในวันที่สามีเลิกงานกลับบ้านมา แล้วรู้สึกเหนื่อยล้า อยากพักผ่อน แล้วเห็นว่าบ้านอาจจะดูไม่เรียบร้อย (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม) สามีอาจจะโมโหแล้วต่อว่าภรรยาที่ดูแลบ้านได้ไม่ดี หรือตอนที่สามีนั่งดูทีวีหลังจากเลิกงาน ภรรยาอาจจะโมโหว่าทำไมสามีไม่ช่วยเก็บของ ไม่ว่าจะกระทบกระทั่งกันด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ท้ายที่สุดอาจจะลามไปถึงประโยคที่ว่า ฉันเหนื่อย ฉันออกไปทำงานทุกวัน เธออยู่บ้านเฉย ๆ หรือ ฉันไม่ใช่คนรับใช้ ฉันก็อยากมีสังคมเหมือนกัน และสุดท้ายก็ทะเลาะกัน จนอาจจะถึงขั้นเลิกรากันไป

วิธีในการป้องกันปัญหาจากการ split ambivalence ก็ตรงไปตรงมา คือ อย่าไป split มัน ให้ช่วยกัน ช่วยกันทำ ช่วยกัน balance ทั้งสองฝั่ง

มองย้อนกลับมาในองค์กรที่เราอยู่ เราเห็น splitting ambivalence เกิดขึ้นทั่วองค์กรลองนึกกันดูว่าเราเห็น splitting the ambivalence เกิดขึ้นตรงไหนบ้าง แล้วจะพบว่า มันกระจายอยู่ทั่วองค์กร … น่าสนใจไม่น้อยเลย

--

--