Apple Developer Program แต่ละแบบต่างกันยังไง!

Wasith T. (Bai-Phai)
odds.team
Published in
2 min readMar 6, 2019

ถ้าเราจะเอาแอปขึ้น Store ของ iOS ได้นี่ เราต้องรู้จักเรื่อง Apple Developer Program ก่อน

Programs มีทั้งหมด 4 ประเภท

  • ประเภทแรก individual คือบุคคลธรรมดาทั่วไป แบบไม่เสียเงิน
  • ประเภท 2 คือ individual แบบเสียเงิน
  • ประเภทที่ 3 คือ Organization ต้องเสียเงิน
  • ประเภทที่ 4 คือ Enterprise ต้องเสียเงินเช่นกัน

ความต่างของแต่ละประเภทมีดังนี้

ตามตางข้างบนจะเป็นแค่บางส่วนที่เรายกมาให้ดูแค่บางส่วนเท่านั้น

สรุปเป็นภาษาไทยอีกครั้งสำหรับแบบ Free Individual

  • ไม่ต้องจ่ายตังเราก็พัฒนาแอปได้
  • สามารถ build ลงเครื่องได้ แบบต่อสาย หรือผ่าน Wi-Fi แต่จะทำงานได้แค่ 7 วันเท่านั้น และได้ไม่เกิน 4–5 app id ต่อโทรศัพท์ 1 เครื่อง (จำเลขแน่นอนไม่ได้)
  • ไม่สามารถ distribute แอปได้ ไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ตาม แต่สามารถต่อสายและ build app ลงเครื่องได้แบบจำกัดจำนวนแอป จำนวนเครื่อง และอาจติดตั้งได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็จะไม่สามารถเรียกใช้งานแอปได้อีก
  • ไม่สามารถใช้งาน Advanced App Capabilities ได้เช่น HomeKit, Remote Push Notification, Bluetooth, ApplePay
  • นำแอปขึ้น Store ไม่ได้

Distribute: คือการแจกจ่ายแอปไปในช่องทางต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ AppStore

สำหรับแบบเสียเงินนั้นจะมี 3 แบบ

โดยจะไล่ไปทีละแบบนะครับ

แบบจ่ายตังนั้นในบางประเทศจะคิดเป็นค่าเงินประเทศนั้น ๆ เลยถ้ามี ค่าเงิน USD เป็นแบบประมาณการเท่านั้น

แบบ Paid Individual

  • จ่ายปีละ 99USD
  • ไม่สามารถเพิ่มสมาชิกในทีมได้
  • ไม่ต้องการ D-U-N-S number
  • Distribute ลงเครื่องที่ลงทะเบียนได้ประเภทละ 100 เครื่อง (iPhone, iPod, iPad touch, Apple TV, Apple Watch)
  • นำแอปขึ้น Store ได้

D-U-N-S®

ย่อมาจาก data universal numbering system คือการลงทะเบียนบริษัทว่าบริษัทมีตัวตนอยู่จริง

โดยจะใช้ในการลงทะเบียนแบบ organization และ enterprise โดยในขั้นตอนการสมัครจะต้องใช้ DUNS Number และอาจจะต้องส่งใบเสร็จค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์ ที่มีที่อยู่ในไทย และอาจมีการโทรหาตามเบอร์ที่ไดระบุไว้ในขั้นตอนการสมัครว่าบริษัทมีอยู่จริงหรือไม่ และได้ทำการสมัคร developer account จริง ๆ หรือไม่ ถ้างั้นตอนไม่ผ่านก็จะไปขั้นตอนการจ่ายตังไม่ได้ พอจ่ายตังไม่ได้ก็จะไม่ได้ Developer Account แบบลงทะเบียนแล้วนั่นเอง

แบบ Organization

  • จ่ายปีละ 99USD
  • เพิ่มสมาชิกในทีมได้
  • ต้องการ D-U-N-S number
  • Distribute ลงเครื่องที่ลงทะเบียนได้ประเภทละ 100 เครื่อง
  • นำแอปขึ้น Store ได้

แบบ Enterprise

  • จ่ายปีละ 299USD
  • เพิ่มสมาชิกในทีมได้
  • ต้องการ D-U-N-S number
  • Distribute ไปหาเครื่องใดก็ได้ แต่เครื่องนั้นต้องกดยอมรับ Enterprise นั้น ๆ ไม่งั้นจะเปิดแอปไม่ได้
  • นำแอปขึ้น Store ไม่ได้

อ้าวแล้ว Enterprise ราคาตั้ง 299USD ทำไมเราต้องสมัครด้วย เอาขึ้น Store ก็ไม่ได้

นั่นก็เพราะว่าแบบ Organization นั้นห้ามเอาแอปที่ใช้ภายในองค์กร หรือแอปที่มีเฉพาะพนักงานขององค์กรนั้น ๆ ขึ้น Store เด็ดขาด ถ้าอยากจะ distribute ให้ไปใช้ Enterprise แทน นั่นแหละครับคือที่มา

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มี แอป, นักพัฒนา (Developer), ผู้ทดสอบ (Tester, QA), ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแอป (Stakeholder), คนเข้าออก จำนวนมาก ๆ การเอา iPhone มาลงทะเบียนเต็ม 100 เครื่องเป็นเรื่องที่เกิดได้ง่ายมาก และรวดเร็วมาก

แต่เครื่องที่ลงทะเบียนนั้นสามารถลบออกจากการลงทะเบียนของแค่ละ developer account ได้แค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เพราะฉะนั้นการซื้อ Enterprise เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ใช้สำหรับการทดสอบหรือพัฒนาแอป ได้ไม่ผิดกฎของแอปเปิล

สำหรับบางที่ใช้การแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการใช้ช่องทาง Test Flight ของ App Store Connect ซึ่ง เครื่องที่อยู่ในขอบเขตของ Test Flight ไม่ต้องลงทะเบียน 100 เครื่องก็ได้

Test Flight แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ

  1. Internal Test Flight ซึ่งจะมีสมาชิกได้แค่ 15 คนเท่านั้น
  2. External Test Flight มีสมาชิกได้ 10,000 คน

แต่ความลำบากกว่านั้นคือ การที่เราส่งแอปขึ้น Test Flight เราต้องใช้เวลาประมาณ ครึ่ง — 2 ชั่วโมงในการรอให้ App Store Connect ประมวลผลก่อนที่จะส่งให้ Internal Tester ทำการโหลดแอปได้

ส่วร External Tester แอปนั้น ๆ ต้องรอให้แอปเปิลรีวิวผ่านก่อนถึงจะปล่อยผ่านช่องทางนี้ได้ ซึ่งอาจใช้เวลา 4 ชั่วโมง — 14 วัน

แปลว่าเราสามารถเก็บ Feedback ได้ช้า ซึ่งอาจส่งให้กระบวลการพัฒนาล่าช้าได้ ทำให้ช่องทาง Enterprise อาจเป็นช่องทางที่นำมาใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้

และนี่คือความแตกต่างของบัญชีแต่ละประเภท ถ้าใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาใน comment ได้เลยนะครับ

อ่านต่อ

--

--

Wasith T. (Bai-Phai)
odds.team

ตบมือเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 😘