How to use our Brain

Naravit bunthap
odds.team
Published in
2 min readApr 14, 2024

สวัสดีครับ กลับมาเจอกันอีกแล้ว 🤩 เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานพบเจอกันของคนธรรมดาชื่อว่า ODDS Fest ครับ ซึ่งในงานจะจัดเป็น open session โดยเปิดรับหัวข้อที่จะมาพูดผ่านการโหวตเรื่องที่คนในงานอยากฟังผ่านบอร์ดส่วนกลาง

ซึ่งตัวผมเองก็ได้มีโอกาสไปแชร์ในหัวข้อนี้เช่นกัน จึงอยากนำมาบันทึก และแชร์ต่อให้ผู้อื่นได้อ่านกันด้วย งั้นอย่ารอช้าไปดูกันเลยว่าเจ้าอวัยวะที่หนักเป็นอันดับ 2 ของร่างกายอย่างสมองนี่ ทำงานยังไงกันนะ

หากเราทำสิ่งไหนด้วยความตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เราทำ เราจะทำมันออกมาได้ดี และยังสามารถพัฒนาต่อยอดมันได้ เฉกเช่นเดียวกับการหายใจ

จากข้อความด้านบน หากเราเข้าใจวิธีการทำงานของสมองของเรา ก็ย่อมทำให้เราใช้มันเพื่อเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นภาพนี้กันมาก่อน

ซึ่งเป็นภาพที่จะสื่อความหมายว่า

  • สมองซีกซ้ายของเราจะทำหน้าที่คิดเกี่ยวกับอะไรที่เป็นเหตุเป็นผล เช่นการคำนวณ การทำความเข้าใจอะไรบางอย่าง
  • สมองซีกขวาของเราจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ และการจินตนาการ เช่นงานศิลป์ การมีความคิดสร้างสรรค์

โดยส่วนตัวแล้วภาพนี้ก็ไม่ได้ผิดเสียทีเดียว เพราะเป็นภาพอย่างง่ายที่สามารถสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายเช่นกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองได้เช่นกัน

ตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น จากภาพด้านบนผมซึ่งถนัดมือซ้ายมักจะถูกบอกอยู่เสมอว่าแบบนี้ก็เก่งงานศิลป์สิ (เพราะร่างกายซีกซ้ายสว่นใหญ่จะถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา) เพราะเราใช้มือซ้ายได้คล่องกว่าคนก็เลยเข้าใจว่าสมองซีกขวาน่าจะโตกว่านะ 🧐

แต่ผมก็ต้องบอกตามตรงเลยว่าตัวผมเองเป็นคนที่ไม่ถูกกันเลยกับศิลปะ เรียกว่าทำไงก็ไม่สวย 🥹 เรียกว่าเป็นวิชาฉุดเกรดผมเลยทีเดียว 😂

หรือแม้แต่คนที่เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ต้องเสียสมองส่วนข้างใดไป เขาเหล่านั้นก็จะทำสิ่งที่สมองส่วนที่เค้าเสียไปทำไม่ได้เลยหรือ ก็ต้องตอบเลยว่าไม่ แต่มันอาจจะช้าลงบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

งั้นโมเดลของการทำงานของสมองควรเป็นแบบไหนล่ะ?

ผมได้มีโอกาสได้เข้าเรียน class Math for working programmer ของอาจารย์เดฟมา ซึ่งในคลาสมีทั้งความรู้มากมาย และเรื่องเล่า side story ของอาจารย์ หนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง model ของการทำงานของสมองนี่แหละ

ส่วนหนึ่งจะรับหน้าที่ประมวผลเรื่อง Logic, Language, Linear (3L)

ซึ่งก็ตามภาพเลย สมองส่วนนี้จะรับหน้าที่ในการคิกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Logic), เรื่องภาษาการพูดหรือการทำความเข้าใจประโยค (Language) และ การเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน (Linear) ซึ่งในสมองส่วนนี้จะมีความเข้าใจภาษาได้ และสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยความคิดของเราเอง

อีกส่วนนึงจะเป็น Rich (R)

ซึ่ง Rich ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่ำรวยนะ แต่หมายถึงอะไรที่มันมีจำนวนมาก หรือ ความอุดมสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งในสมองส่วนนี้จะไม่สามารถควบคุมได้ด้วยความคิดของเรา แต่ก็มีหน้าที่สำคัญในการช่วยจัดเก็บข้อมูล และค้นหาข้อมูลในความทรงจำส่วนลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำออกมาเก็บอยู่ในความทรงจำระยะสั้นได้ดี

ตอนนี้เราเห็นภาพรวมของส่วนที่ทำงานในส่วนของการประมวลผลในสมองไปแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ ส่วนนี้ก็เป็นเหมือน CPU ที่เป้นส่วนของการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ในการทำงานประมวลผลของ CPU นั้นจะทำงานไม่ได้เลยหากปราศจากหน่วยความจำ และเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างหน่วยความจำกับ CPU

ซึ่งหน่วยความจำในสมองของเรามีชื่อว่า Hipocampus ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Lymbic system ที่คอยช่วยในการเก็บความทรงจำแบบระยะยาวในสมองของเรา

แต่ปัญหามันเกิดขึ้นเพราะว่า สมองส่วนประมวลผลของเราทั้งสองส่วนดันมีเส้นทางเชื่อมเข้าสู่หน่วยความจำแค่เส้นเดียว และต้องใช้ร่วมกัน

หมายความว่าไง? มันก็หมายความว่าหากสมองส่วนใดกำลังทำงานอยู่ และต้องการเข้าถึงความทรงจำ เส้นทางเข้าสู่หน่วยความจำก็จะถูกใช้โดยส่วนนั้น และสมองอีกส่วนนึงก็จะไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง

อย่างที่บอกในข้างต้นว่าสมองทั้งสองส่วนมีความถนัดในการประมวลผลแตกต่างกันไปเพราะงั้น เราอาจเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆ เช่น เวลาที่เราคิดอะไรอยู่ซักอย่าง แล้วเราคิดไม่ออกยิ่งบอกกับตัวเองเท่าไรก็ยิ่งคิดไม่ออก แต่พอเราแบบ เอ้อ ช่างมันละไม่คิดละ แล้วไปทำอย่างอื่นต่อ เมื่อเรากลับคิดถึงเรื่องที่เรายอมแพ้ไปแล้วเรากลับคิดออกซะอย่างนั้น

เป็นเพราะเวลาที่เราคิดหรือบอกกับตัวเองให้นึกนั้น เรากำลังสื่อสารกับสมองด้านที่รู้ภาษา (3L ) และบังคับให้มันเชื่อต่อเข้าถึงหน่วยความจำ แต่มันไม่ถนัดด้านการดึงข้อมูลเอาซะเลย แต่สมองที่สามารถดึงข้อมูลได้ก็ไม่สามารถทำได้เพราะเส้นทางเชื่อมไปหาความทรงจำโดนยึดอยู่

แต่พอเราผละออกไปทำอย่างอื่น ไม่ได้คิดเรื่องนี้ละ สมองอีกส่วน (R) ก็ได้เส้นทางเชื่อมต่อเข้ากับความทรงจำมาแล้วก็เข้าไปค้นหาสิ่งที่เราคิดได้ พอกลับมาคิดอีกทีก็เลยคิดออก

จากด้านบนเราก็จะเห็นไปแล้วว่าการทำงานของสมองภาพรวมเป็นอย่างไร งั้นในส่วนนี้คือส่วนของการแนะนำวิธีการใช้งานสมองของเราในการคิด และเรียนรู้สิ่งต่างๆ

เมื่อเรารู้ว่าสมองสองส่วนถนัดกันคนละแบบ และแต่ละส่วนทำงานพร้อมกันไม่ได้ เพราะงั้นเวลาที่เราต้องการจะคิด หรือระลึกถึงความทรงจำอะไรซักอย่าง ก็แนะนำให้เราทำอะไรก็ได้ที่เราสามารถทำได้โดยไม่ต้องคิดมันเพื่อให้สมองส่วนที่ต้องคิดวิเคราะห์ยังคงทำงานอยู่ แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงหน่วยความจำ เพื่อให้สมองอีกส่วนเข้าถึงหน่วยความจำได้ เช่น การอาบน้ำ, การขับรถ, การเดิน หรือวิ่ง เป็นต้น จะเห็นว่าสถานการณ์ข้างต้นมักเป็นช่วงที่เรามักคิดอะไรออกได้บ่อยใช่มั้ยล่ะ 😉

ส่วนในเรื่องของการเรียนรู้ เราก็มี tools ที่ช่วยให้เราสามารถจัดการการทำงานของสมองเราได้ตามหลักการข้างบนเลย ชื่อว่า Pomodoro

Pomodoro

คือ การแบ่งเวลาเพื่อช่วย focus ในการอ่านหนังสือ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยการทำสิ่งนี้ก็ง่ายมาก เราสามารถแบ่งเวลาหนึ่งชั่วโมงของเราได้หลากหลายรูปแบบ เช่น

  • เรียนรู้ 25 นาที พัก 5นาที
  • เรียนรู้ 50 นาที พัก 10 นาที

ซึ่งการทำแบบนี้มีข้อดีหลายอย่างมาก

  • ทำให้เรา focus ง่ายขึ้นเพราะมีช่วงเวลา focus สั้น และมีการตอบแทนตัวเองโดยการพักตามเวลาที่กำหนด
  • ช่วยให้เราต้องแตกปัญหาใหญ่ๆออกมาเป็นปัญหาเล็กๆ เพื่อให้พอดีกับช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีสำหรับการแก้ปัญหา คือการแตกปัญหาใหญ่ๆลงมาเป็นปัญหาเล็กๆก่อน
  • ช่วยให้รู้สึกถึงความกดดันในกรอบเวลาได้ดี ทุกคนคงเคยสัมผัสมาก่อนกับเหตุการณ์ที่หากไม่มีเวลากำหนด หรือยังไม่ใกล้เส้นตายเราก็จะทำตัวเอ้อระเหอ และทุกอย่างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (แต่ไม่รับประกันคุณภาพอ่ะนะ) ในคืนก่อนส่งงานนั้น เพราะงั้นการกำหนดกรอบเวลาที่มีช่วงเวลาน้อย จะทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นขึ้นได้
  • และที่สำคัญที่สุดเลยคือ มันสัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่เราเพิ่งคุยกันไปด้านบนเลย คือช่วงเวลา focus คือช่วงการทำงานของส่วน 3L ในการโหลดของเรา short term memory (การเรียนรู้), และในช่วงเวลาที่เราพัก ก็คือช่วงในการให้สมองส่วน R ทำหน้าที่ในการจัดเก็บของเข้า long term memory (การจดจำ), และยังทำให้สมองส่วน R ทำหน้าที่ในการดึงของที่จำเป็นที่เราต้องใช้ ที่เราอาจนึกไม่ออกเมื่อกี้มาเก็บไว้ใน short term memory ด้วย (การนึกออก)

และนี้ก็คือเรื่องของการทำงานของสมอง และการใช้งานมันให้มีประสิทธิภาพที่ผมอยากแชร์

ขอขอบคุณ
อาจารย์เดฟ (Rawitat Pulam) สำหรับเรื่อง How Brain Work และ
พี่จั้ว (Chokchai Phatharamalai) สำหรับเรื่องการทำ Pomodoro ด้วยครับ

สำหรับบทความนี้ หากมีข้อคิดเห็น หรืออยากแชร์วิธีการในการฝึกฝนเรียนรู้อื่นๆ สามารถพิมพ์คอมเมนท์กันเข้ามาได้เลยนะครับ เรามาแชร์กันนนน
ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้าครับผม 😆

--

--