Intersectionality

Chonlasith Jucksriporn
odds.team
Published in
2 min readMar 29, 2024

หัวข้อนี้ค่อนข้าง sensitive ในสังคมอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในบางสังคม บางบริบท Tong Yee เล่าเรื่องของ diversity ในมุมมองของ intersectionality

เราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของ diversity มาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในมุมของความแตกต่างทางการศึกษา เพศสภาพ ฐานะทางสังคม อายุ หน้าที่การงาน หรืออะไรก็ตาม (ต่อไปเราจะเรียกตัวชี้วัดพวกนี้ว่า marker) เมื่อเราใช้ marker แบ่งกลุ่มคนในสังคม มันจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่เป็น dominant หรือกลุ่มใหญ่ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และกลุ่มที่เป็น subordinate หรือกลุ่มน้อย ที่มักจะถูกมองข้าม หรือไม่ให้ความสำคัญ

มันมีกรณีที่บางคนที่มี marker ที่ทำให้พวกเขากลายเป็น subordinate มากกว่า 1 อย่าง Tong Yee ยกตัวอย่างว่า ในประเทศสิงคโปร์ ชาวมาเลย์ นับเป็น subordinate ในสังคม เพศหญิงก็เช่นกัน รวมถึงการศึกษาที่ต่ำ หน้าตาไม่ดีก็ด้วย ดังนั้น ผู้หญิงชาวมาเลย์ที่มีฐานะไม่ดี และมีการศึกษาที่ต่ำ และหน้าตาไม่ดี จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มี marker ที่เป็น subordinate มากกว่า 1 อย่าง สถานการณ์ของการที่มี marker ที่เป็น subordinate มากกว่า 1 อย่างนี่แหละ ที่ Tong Yee เรียกว่า Intersectionality (เป็นการ intersect ของ subordinate ในหลาย ๆ marker)

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Diversity

จาก diagram ข้างบน จะประกอบด้วย 5 เรื่องที่เกี่ยวพันกับ diversity คือ

  • Scarcity หรือ ความขาดแคลน ความไม่มี ในที่นี้ความขาดแคลนหมายถึงขาดแคลนจริง ๆ ไม่มีของสิ่งนั้นจริง ๆ หรือมีแต่ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน
  • Adversity หรือ มุมมองหรือ mindset ที่มองว่าตัวเองมีเคราะห์ ตัวเองโชคร้าย โลกนี้อยู่ยากเหลือเกิน (Paranoid) มีความขัดสน ความรู้สึกไม่พอเพียง จริง ๆ อาจจะมี แต่รู้สึกว่าไม่พอใจ
  • Diversity อธิบายไปแล้วด้านก่อนหน้านี้
  • Complexity ในมุมมองของ Polarity คือ ปัญหาหรือสถานการณ์ที่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือก pole ใด pole หนึ่งจาก polarity
  • Priority คือการให้ความสำคัญต่อปัญหาที่จะต้องแก้ไขให้ลุล่วง ปัญหาไหนจะต้องแก้ก่อนหลัง

Tong Yee อธิบายว่า สาเหตุที่ทำให้เกิด diversity เป็นเพราะว่ามันเกิดจากความขาดแคลน ยกตัวอย่างเช่น มีส้ม 6 ผล มีคน 6 คน อยากจะแบ่งส้มให้ทุกคน ทุกคนก็จะได้ส้ม แสดงว่าสถานการณ์นี้ไม่ขาดแคลน แต่ถ้ามีส้มแค่ 4 ผล และคน 6 คน อยากจะแบ่งส้มให้ทุกคน มันจะกลายเป็นว่า มีคนที่จะได้ และคนที่ไม่ได้ เกิดความขาดแคลน หรือไม่เพียงพอสำหรับทุกคน พอมีคนที่จะไม่ได้ ปัญหาคือ ใครที่จะไม่ได้ ใครที่จะได้ เราใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานในการคัดเลือกคนที่ได้ส้ม และใครจะไม่ได้ส้ม ตรงนี้ diversity จะโผล่เข้ามา คนที่เป็น subordinate ก็จะเริ่มเรียกร้องถึงสิทธิที่ควรจะได้ส้มเช่นกัน

เมื่อ diversity เกิดมากเกินไป ความซับซ้อนของระบบก็จะเยอะมากขึ้น เมื่อปัญหาจำเป็นต้องถูกแก้ไข ลำดับของปัญหาที่จะต้องถูกแก้ไขก็จะกลายเป็นปัญหาใหม่ ทำไมปัญหานี้ถึงถูกแก้ไขก่อน ทำไมไม่แก้ปัญหานั้น ปัญหา diversity ก็วนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

เราจะเห็นได้ว่า ปัญหาของ diversity นั้นใหญ่มาก เราไม่สามารถสร้าง culture ที่สามารถแบกรับ diversity ได้ทั้งหมด เพราะปัญหา diversity มันถูกกระตุ้นมาจากความต้องการที่จะถูก include เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง แต่เราจะทำยังไงได้เมื่อความต้องการของคนมันไม่มีที่สิ้นสุด

--

--