Japanese Web Design ทำไมชั่งดูแตกต่าง

Kitphon Poonyapalang
odds.team
Published in
5 min readJul 1, 2024

หลายคนถ้าได้ยินคนพูดถึงคำว่า ญี่ปุ่น หรือ ดีไซน์แบบญี่ปุ่น ก็จะต้องคิดถึงอะไรที่มินิมอล เรียบหรู และ เรียบง่ายกันอย่างแน่นอน เพราะเรามักจะเห็นแนวคิดการออกแบบพวกนี้ผ่านทางสิ่งของ, แพคเกจจิ้ง, ร้านค้า, งานศิลปะ และที่อยู่อาศัย จนเกิดเป็นกระแสสังคมที่หลายคนพูดถึง และ รับเข้ามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ

https://en.idei.club/8162-japanese-homestay.html, https://shop.konmari.com/collections/serene-closet-collection-container-store-konmari, https://shop.konmari.com/collections/serene-closet-collection-container-store-konmar และ ihttps://mgronline.com/business/detail/9640000064517,

แต่ ๆ ๆ ๆ

พอเรามาดูฝั่งที่เป็น Web Design บ้างล่ะเป็นยังไง ?

https://www.yahoo.co.jp

เริ่มต้นจากเว็บไซต์ที่หลายคนมันจะเคยได้ยินชื่อกันมาอยู่แล้วอย่าง Yahoo ที่หลังจากเปิดเว็บขึ้นมาก็ทำเรามึนงงไปด้วยตัวหนังสือ และ ข้อมูลมากมายเต็มไปหมดจนไม่รู้ว่าจะต้องไปโฟกัสอันไหนก่อน

ลองมาดูอีกเว็บนึงนั่นคือ kakaku ซึ่งก็ดูคล้าย ๆ กันเลย

https://kakaku.com

เราลองเข้าไปดู Top Rank เว็บญี่ปุ่นที่คนเข้าชมบ่อยที่สุดโดยดูจากเว็บ https://www.similarweb.com/top-websites/japan แล้วลองสุ่มเข้าไปดูว่าปกติแล้วเว็บระดับ top 10–30 จะมีลักษณะเป็นยังไง

ลองเข้ามาดู nicovideo ที่เป็นเว็บไซต์สำหรับรับชมและแชร์วิดีโอของญี่ปุ่น ก็รู้สึกว่าค่อนข้างโอเคนะ เว็บเรียบหรู ดูสบายตา แต่เว็บดันไม่ Responsive (เพราะทางเว็บเชามีทำ mobile app แยกต่างหากเลยไม่ได้มาสนใจตรงนี้ล่ะมั้ง)

ถัดมา ลองมาดูเว็บโดโคโมที่เป็นค่ายมือถือของญี่ปุ่น ก็ดูโอเคไม่ได้ดูลายตา แถมยังเป็น Responsive ด้วย

ด้วยความที่เป็นแบบนี้ยิ่งทำให้ผมสงสัยเข้าไปใหญ่เลย ว่าเพราะอะไรบางเว็บไซต์ก็ดูดี ไม่ได้ดูยุ่งเหยิงเหมือนอย่างเว็บแรก ๆ

เลยลองหยิบมาดูอีกเว็บนึง ซึ่งก็คือ rakuten

อืมก็ดูไม่ได้ลายตามากเท่ากับเว็บแรก ๆ นะ

แต่ว่าเพราะอะไรกันล่ะ เพราะอะไรมันถึงมี topic ที่บ่นเกี่ยวกับเรื่อง Web Design ของญี่ปุ่นในอินเตอร์เน็ตกันเยอะมากเลย ผมเจอความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของชาวต่างชาติ เขาพูดถึงเรื่องเว็บญี่ปุ่นกันประมาณนี้

  • เว็บดีไซน์ดูล้าสมัย เหมือนเว็บไซต์ยุค 90
  • ลายตามาก แทบจะไม่มีพื้นที่ว่างในหน้า
  • เต็มไปด้วยตัวอักษร
  • แสงฉูดฉาด สว่างปวดตา

หลังจากที่อ่านความคิดเห็นของชาวต่างชาติ ผมก็รู้สึกเห็นด้วยนะ เพราะมันก็มีบางเว็บที่ผมเข้าไปดูแล้วให้ความรู้สึกแบบนั้นจริง ๆ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะเหมารวมไปทั้งหมด

ตัวผมที่บังเอิญไปเจอบทความ ๆ หนึ่งมาก่อนหน้านี้ หลังจากที่อ่านจบผมก็ยังคงค้างคาใจมาก ผมเลยไปเสิร์ชกูเกิ้ลหาข้อมูลอ่านมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อที่จะรู้ให้ได้ว่า เป็นเพราะอะไรกัน เว็บที่คนเขาบ่น ๆ กัน ถึงได้เป็นแบบนั้น แล้วปัญหามาจากอะไรนะ ??

หลังจากที่ได้ไปอ่านข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น ผมจึงได้ข้อมูลหลาย ๆ อย่าง พอที่จะมาสรุป และสามารถแยกออกมาเป็นปัญหาได้ประมาณนี้

1. เว็บสมัยก่อนมีการอ้างอิงการดีไซน์ มาจากเอกสาร นิตยสาร หรือแคตตาล็อก

ในสมัยก่อนช่วงยุคเริ่มของเว็บไซต์ ที่เว็บยังเป็นเพียงแค่เว็บเพจธรรมดา ๆ ไม่มีคำว่า UX/UI เว็บไซต์ที่เกิดในยุดขึ้นในยุคนั้นมักจะถูกออกแบบมาจากสิ่งรอบ ๆ ตัว

ซึ่งถ้าเราสงสัยว่า ทำไมผ่านมาตั้งหลาย 10 ปีแล้วดีไซน์ถึงยังไม่เปลี่ยนไปล่ะ? ลองดูข้อถัด ๆ ไปต่อก็ได้ครับ เผื่อจะได้คำตอบครับ

2. เรื่องของภาษา และ ฟอนต์

เราลองเปรียบเทียบตัวอักษรของร้านฟาสต์ฟู้ดยอดฮิตอย่าง mcdonald’s ระหว่างเป็นภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นดูครับ ว่าฝั่งไหนดูลายตากว่ากัน

เอาตามตรงคือมองด้วยตาเปล่าก็น่าจะเห็นอยู่แล้วว่าฝั่งไหน ซึ่งผมคิดว่าฝั่งภาษาอังกฤษมันดูสบายตากว่า แล้วยิ่งถ้าเราอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก เราจะรู้สึกว่าป้ายฝั่งภาษาญี่ปุ่นดูลายตาขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัวเพราะเป็นเส้น ๆ อะไรก็ไม่รู้ขีดไปขีดมาเต็มไปหมดเลย

แต่ถ้าหากเราอ่านภาษาญี่ปุ่นออก ให้ลองดูฉบับภาษาอาหรับครับ

https://soundcloud.com/o-ter/arabic-mcdonalds

อีกหนึ่งความท้าทายของภาษาญี่ปุ่นคือเรื่องของฟอนต์ โดยก่อนจะไปพูดถึงเรื่องฟอนต์สิ่งที่เราต้องรู้จักก่อนนั่นคือ Glyph

Glyph คือ สัญลักษณ์หรืออักขระที่ใช้แสดงผลเพื่อให้เราสามารถแยกแยะ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้

https://fonts.google.com/knowledge/glossary/glyph

และเมื่อเราเอาหลาย ๆ Glyph มารวมกันก็จะได้เป็นฟอนต์ 1 แบบนั่นเอง

ซึ่งเมื่อเรามาดูฟอนต์ Noto Sans ที่เป็นฟอนต์ภาษาอังกฤษนั้นมี Glyph ทั้งหมด 3,741 glyphs แต่ถ้าหากเราลองมาดูที่ฟอนต์ Noto Sans CJK TC ที่เป็นฟอนต์สำหรับภาษา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นั้นจะมี Glyph อยู่ทั้งหมด 65,535 glyphs เลยทีเดียว

เนื่องจากมีจำนวนเยอะและต้องใช้เวลาในการออกแบบมาก จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับคนทำฟอนต์สักเท่าไหร่ ซึ่งจุดนี้เองจึงทำให้ฟอนต์สำหรับภาษาญี่ปุ่นมีไม่หลากหลาย ทำให้เป็นอีกความท้าทายสำหรับคนทำสื่อ และ เว็บไซต์ ที่ไม่ค่อยจะมีฟอนต์ให้เลือกใช้งานมากเท่าไหร่นัก หลายเว็บจึงนิยมเลือกใช้ฟอนต์พื้นฐานไปเลยเพื่อความง่าย ประหยัดเวลา และงบประมาณในการลงทุนตรงส่วนนี้ด้วย

3. การเข้าถึงของสมาร์ทโฟน

ในช่วงก่อนที่ยุคสมาร์ทโฟนจะบูม เราจะเห็นว่าโทรศัพท์ที่คนญี่ปุ่นนิยมส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์แบบจอพับ (flip phone) ซึ่งในช่วงนั้นเรื่องของความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่ค่อยเร็วมาก และ รูปแบบการใช้งานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เน้นไปเล่นพวกแอพต่าง ๆ หรือโซเชี่ยล มีเดีย กันสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็มีพวกเข้าเว็บสำคัญ ๆ กับส่งข้อความหรืออีเมลหากันเท่านั้น

https://gizmodo.com/i-miss-my-japanese-flip-phone-1843733494

คนที่จะใช้งานเว็บไซต์ส่วนมากเลยมักจะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้ผู้สร้างเว็บส่วนใหญ่ในช่วงนั้นจึงโฟกัสไปที่ผู้ใช้กลุ่มเดียวเท่านั้น

https://workinjapan.today/work/improving-japanese-working-conditions/

ถ้ามาดูข้อมูลการเจาะตลาดของสมาร์ทโฟนในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2018 จะเห็นว่า ถึงแม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มักจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี แต่อัตราส่วนประชากรที่มี สมาร์ทโฟนนั้นจะมีเพียงแค่ 55.3% เท่านั้น เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยังคงติดการใช้โทรศัพท์แบบจอพับกันอยู่ จึงทำให้หลายเว็บไซต์อาจจะยังไม่ได้โฟกัสที่จะปรับปรุงตรงส่วนนี้กันมากนัก

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_smartphone_penetration

แต่หลังจากที่จำนวนประชากรที่เข้าถึง/ครอบครองสมาร์ทโฟนมีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้หลาย ๆ เว็บไซต์ และ แอพพลิเคชั่น ต่างก็ต้องพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อที่จะเข้ามาจับผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มคนวัยรุ่นและคนทั่วไปมากขึ้น

4. วัฒนธรรม และ พฤติกรรม

ก่อนที่เราจะสงสัยและหาเหตุผลไปมากกว่านี้ เราคงต้องมองย้อนกลับไปที่สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนเลย นั่นคือเรื่องของวัฒนธรรม

รู้ไหมครับว่าวัฒนธรรมในการรับข่าวสารของคนญี่ปุ่นนั้นเป็นแบบใด?

https://duncansensei.com/2015/04/television-advertising-japan/

เคยสังเกตกันไหมครับ เวลาเราเห็นสื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เราจะเห็นเป็นรูปแบบคล้าย ๆ กันเต็มไปหมด และก็ค่อนข้างเหมือนกับสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดถึงในเรื่องของเว็บไซต์นั่นก็คือ ตัวหนังสือเยอะแยะเต็มไปหมด

สิ่งนี้คนต่างชาติเรียกกันว่า Information Overload นั่นก็คือ การได้รับข้อมูลมากจนเกินไป

อ้าว แล้วทำไมคนญี่ปุ่นเขาถึงไม่คิดแบบนั้นล่ะ?

อันนี้เป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนญี่ปุ่นครับ เพราะวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นตั้งแต่ดั้งเดิมนั้นเป็นคนที่ชอบความชัดเจน และชอบตัดสินใจจากข้อมูล เช่นเวลาที่จะซื้อสินค้าแต่ละอย่างคนญี่ปุ่นมักจะต้องการข้อมูลของสินค้านั้นอย่างละเอียดเพื่อที่ใช้ตัดสินใจซื้อ และตัดสินใจซื้อจากข้อมูลไม่ใช่ซื้อจากอารมณ์ และถ้าหากสินค้าหรือบริการที่เราขายนั้นมีการหมกเม็ดข้อมูลหรือมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ซื้อทราบตั้งแต่แรก นั่นจะทำให้ผู้ซื้อไม่พอใจอย่างมาก

ใครทำธุรกิจหรือทำผลิตภัณฑ์ที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นคนญี่ปุ่นอาจจะต้องระวังเรื่องนี้ไว้ด้วย

เราจึงมักจะเห็นว่าสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นมักจะมี story มีข้อมูลอธิบายที่ครบถ้วน และมีที่มาที่ไปเสมอ

https://www.graphicdesignforum.com/t/styles-common-in-japan/21683
https://www.tokyoreporter.com/crime/report-dispute-over-woman-spurred-yakuza-killing-in-karaoke-parlor/

นอกจากเรื่องของวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นแล้วก็ยังคงมีงานวิจัยอย่างอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีก ซึ่งอันนี้มีคำตอบในมุมมองของนักจิตวิทยาสังคม (Social Psychologist) ด้วย

Dr. Richard Nisbett นักจิตวิทยาสังคม (Social Psychologist) ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับเรื่องจิตวิทยาทางวัฒนธรรมของชาวตะวันออก และ ชาวตะวันตก

https://www.apa.org/education-career/guide/paths/richard-nisbett

โดยผมจะเอาเนื้อหาในเรื่อง “How do Easterners and Westerners think differently?” ของ Dr. Richard มาเล่าให้ฟังว่าเกี่ยวข้องกันยังไงบ้าง

How do Easterners and Westerners think differently? หรือแปลเป็นไทยก็คือ “ชาวตะวันออก และ ชาวตะวันตก คิดต่างกันอย่างไร?”

โดยในงานวิจัยของด็อกเตอร์นั้นจะแบ่งแนวการคิดของ 2 เชื้อชาติออกเป็น 2 ฝั่ง โดยชาวตะวันออก (เอเชีย) นั้นจะเป็นประเภท Holistic Thinker ส่วนชาวตะวันตกจะเป็น Analytic Thinker

Holistic Thinker นั้นจะเป็นการคิดแบบมองภาพรวม และโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน

Analytic Thinker นั่นจะเป็นการคิดแบบโฟกัสไปเป็นอย่าง ๆ โดยจะไม่ค่อยสนใจกับบริบทและสิ่งรอบ ๆ

เรามาลองเล่นกันดูหน่อยดีกว่าครับ ว่าเรามีหลักการคิดแบบไหน Holistic Thinker หรือ Analytic Thinker?

จากภาพด้านล่างที่มี วัว, แมว และหญ้า ถ้าให้เลือก 2 อย่างที่เราคิดว่ามันเข้ากัน หรือเหมาะสมต่อกันและกัน เราจะเลือกอะไรบ้าง?

https://www.youtube.com/watch?v=h-oBaSSBjRc

มาดูผลลัพธ์กันว่าเป็นยังไงบ้าง

https://www.youtube.com/watch?v=h-oBaSSBjRc

ถ้าเราเลือก วัว และ แมว แปลว่าเราคิดแบบชาวตะวันตก เพราะชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะเป็น Analytic Thinker และเลือกแบบนี้เพราะคิดว่าวัวกับแมวเป็นสัตว์เหมือนกัน

https://www.youtube.com/watch?v=h-oBaSSBjRc

ถ้าเราเลือก วัว กับ หญ้า แปลว่าเรานั้นคิดแบบชาวตะวันออก (เอเชีย) เพราะชาวตะวันออกนั้นจะเป็น Holistic Thinker และเลือกแบบนี้เพราะคิดว่าวัวต้องกินหญ้านั่นเอง

มาลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง จากภาพด้านล่างนี้ในมุมมองของแต่ละเชื้อชาติ

https://www.walmart.com/ip/Kiven-Plug-in-Pendant-Light-E26-Socket-Tiffany-Style-Hanging-Light-Fixture-with-13ft-Iron-Chain-Dimmable-1-light/1459276167

ถ้านำภาพโต๊ะนี้ไปให้ชาวตะวันตกอธิบาย ก็จะได้คำตอบประมาณว่าโต๊ะนี้เป็นโต๊ะที่มีวัสดุทำมาจากไม้และมีเก้าอี้ด้วย

แต่ถ้าหากไปให้ชาวตะวันตกดู พวกเขาจะอธิบายประมาณว่าโต๊ะนี้มีไว้สำหรับให้คนในครอบครัวได้มากินข้าวและใช้เวลาร่วมกัน

เรื่องความแตกต่างของแนวทางและวิธีการคิดนั้น ไม่เพียงแต่มีให้เห็นแค่ในปัจจุบันเท่านั้น เพราะหากเราลองมองย้อนไปที่งานศิลปะตั้งแต่ในอดีต เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเรื่องนี้มันได้ถูกจารึกไว้ผ่านทางงานศิลปะมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว อย่างในงานวิจัยเรื่อง Comparing the Attention to Context of East Asians and Western ที่ได้อธิบายถึงความต่างระหว่างงานศิลปะของชาวตะวันตกและชาวตะวันออกไว้ดังนี้

ถ้าเราดูที่งานศิลปะของชาวตะวันตกส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะเห็นงานศิลปะเป็น pattern ประมาณนี้ ด้วยแนวคิดแบบ Analytic Thinker เรามักจะเห็นได้ว่า งานศิลปะส่วนใหญ่นั้นมักจะมี subject หลักเป็นของตัวเองเสมอ

ศิลปะแนวคิดแบบชาวตะวันตก https://www.youtube.com/watch?v=Opy-SjDU0UY

กลับกัน ด้วยแนวคิดแบบชาวตะวันออก (เอเชีย) ที่เป็น Holistic Thinker ที่เราบอกว่าจะเป็นการคิดแบบมองภาพรวม ทุกอย่างในภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น และไม่สามารถตัดส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากภาพไปได้ และทุกสิ่งต้องนำมาประกอบกันทั้งหมด จึงจะสามารถเล่าเรื่องราวในภาพได้

โดยเราก็จะเห็นงานศิลปะเป็นประมาณนี้

ศิลปะแนวคิดแบบชาวตะวันออก (เอเชีย) https://www.youtube.com/watch?v=Opy-SjDU0UY

จากรูปถ่าย 2 รูปด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างผลงานของคน 2 คนที่เป็นชาวตะวันตกและตะวันออก ที่ได้ร่วมในงานวิจัยนี้

จากรูปนี้แล้วเราเดาได้ไหมครับว่ารูปซ้ายและรูปขวาถูกถ่ายโดยคนชาติอะไร ?

สุดท้ายนี้ บทความนี้เป็นข้อมูลที่ผมอ่านและฟังมาจากอินเตอร์เน็ตโดยนำมาสรุปใหม่ตามความคิดและการตีความของตัวผมเอง อาจจะไม่ได้เป็นตามนี้ 100% ครับ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้มันอาจจะมีหลากหลายประเด็นมากกว่าที่จะสรุปมา 4 ข้อนี้ก็ได้ครับ

ใครมีความคิดเห็นอื่นก็สามารถแสดงความคิดเห็นพูดคุยกันได้ครับ

--

--