LeSS ไม่เหมาะกับองค์กรคุณหรอกถ้า…

Optimization goals ของคุณไม่ตรงกับ LeSS

Chokchai Phatharamalai
odds.team
2 min readMay 13, 2020

--

Photo by form PxHere

ครั้งนึงตอนผมนั่ง observe class Certified LeSS Practitioner ที่ Viktor Grgić สอน เค้าเล่าเรื่อง optimization goals ของ Large Scale Scrum หรือ LeSS ไว้ดังภาพ

Written by Viktor Grgić, Photo by Chokchai Phatharamalai

ผมพบว่า optimization goals 3 ข้อนี้ช่วยให้ผมเข้าใจกลไลของ LeSS ในองค์กรขนาดใหญ่มากขึ้นเยอะเลย

พลวัตรในองค์กรขนาดใหญ่

บ่อยครั้งที่ผมนั่งทำงานอยู่กับทีม แล้วเกิดคำถามว่าทำไมทุกอย่างถึงเป็นแบบนี้นะ? ทำไมงานถึงมารีบ ๆ พอรีบทำเหนื่อยจะเป็นจะตาย แล้วก็มาบอกว่าไม่เอาแล้ว ให้ทำอย่างอื่น(ที่รีบกว่า) แทน เจอแบบนี้มันตัดกำลังใจมากเลย ;(

บ่อยครั้ง ที่ผมได้ทำงานกับผู้บริหาร แล้วเจอปัญหาว่าน้อง ๆ ทำงานหนักมากเลย แต่ของไม่ออก บางอย่างที่ดูง่าย ๆ ไม่กี่สัปดาห์ควรจะเสร็จได้ แต่รอเป็นเดือนจนตลาดวายแล้ว ของก็ยังไม่ออก เค้าพยายามมากเลยนะที่จะสนับสนุนน้อง ๆ ช่วยเคลียร์ทางให้ เพื่อให้ของออกเร็วที่สุด แต่ก็ไม่ได้ผล เป็นสถานการณ์ที่อึดอัด เหมือนกำลังว่ายน้ำแบบโดนมัดมือมัดเท้าเลย

ผมเห็นเป้าหมายหนึ่งเรื่อง ถูกแตกออกมาเป็นงานย่อย ๆ หลาย ๆ ชิ้น แล้วกระจายไปเข้าคิวในแผนกต่าง ๆ ในองค์กร แล้วไปติดแหง็กอยู่ตรงนั้นเพราะทุกคนงานเต็มมือแล้ว ด้วยความที่ไม่มีใครรู้ว่า ณ นาทีนี้ ของที่สำคัญที่สุดจริง ๆ ขององค์กรเราคืออะไร หัวหน้าแผนกก็จะเลือกสลับลำดับ อาจจะเอางานมาแทรก ยกเลิกงานเก่า เพื่อทำสิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุดสำหรับองค์กรในมุมมองแคบ ๆ เท่าที่ตัวเองเห็น

และเพราะจำนวนแผนกมันเยอะ การ synchronize ข้อมูลมันยาก ทันทีที่ผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจว่า ตอนนี้เปลี่ยนให้อันนี้สำคัญที่สุดแล้วนะ กว่าสิ่งนี้จะกระจายไปครบทุกแผนก ต้องประชุมกันกี่ครั้ง? ใช้เวลากี่ชั่วโมง? สถานการณ์เปลี่ยนไปถึงไหนแล้ว? ที่เจ็บปวดที่สุดคือ ไอ้สิ่งสำคัญที่สุดเปลี่ยนไปอีกกี่หนแล้ว!?

ทุกคนในองค์กรรู้ดีว่า 8 ใน 10 อย่างที่ทำอยู่คือทำแล้วทิ้ง รีบก็รีบ เหนื่อยก็เหนื่อย แต่ไม่รู้ว่าไอ้ 2 อย่างที่สำคัญที่สุดคืออะไรกันแน่? พอเลือกไม่ได้ก็ทำ ๆ มันทั้งหมดนี่แหละ อันไหนทำง่ายก็ทำก่อน งานมันจะได้ไหลออกไปจากตัวเราเร็ว ๆ

บางครั้งกำลังทำงานใหม่อยู่ ก็โดนขัดจังหวะด้วยงานเก่ามาขอแก้ หรือขอให้เราอธิบายเพิ่ม ซึ่งงานในมือคืองานที่หัวหน้าบอกว่าสำคัญและด่วนที่สุด บางทีผมก็ปล่อยให้งานเก่า (ซึ่ง ณ เวลานึงในอดีตเคยสำคัญที่สุด) รอไปก่อน บ่อยครั้งที่ผมเองไม่ได้ฉุกคิดเลยว่าถ้าไอ้งานเก่ายังสำคัญที่สุดอยู่หล่ะจะเป็นยังไง?

จากพลวัตรขององค์กรที่ผมเห็นมาข้างต้น พอได้เห็น optimizations goals 3 ข้อที่ Viktor แชร์แล้ว ผมก็เริ่มฝัน…

ความฝันของฉัน

ผมฝันว่าบอร์ดบริหารจะคอยตกลง 3 สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรตอนนี้ แล้วให้ฝ่ายไอทีอัพเดท wallpaper ของคอมฯพนักงานทุกคนเลยว่าตอนนี้ 3 สิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรคืออะไร ทุกคนจะได้ดึงองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน

แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าเราเอาสิ่งที่องค์กรกำลังทำมากางบน desktop ทุกคนแบบนี้แล้วมันหลุดไปถึงหูคู่แข่งหล่ะ?! คิดอีกที ช่างมันเถอะ เพราะผู้บริหารของคู่แข่งก็กำลังมัดมือมัดเท้าว่ายน้ำอยู่เหมือนกัน :D

ผมฝันว่าพอหัวหน้าแผนกที่จ้าง outsource มา เจอสถานการณ์ตอนที่ไม่มีงานให้ทำ แทนที่จะสร้างงานจิปาถะขึ้นมาให้ทำฆ่าเวลา หัวหน้างานก็เปลี่ยนเป็นขอบคุณพวกเค้าที่ก่อนหน้านี้เร่งงานสำคัญให้ บอกพวกเค้าว่าไม่ต้องกังวลเรื่องเลิกจ้าง เค้าไม่เคยคิดจะทำเลยเพราะเชื่อว่า long lasting team คุ้มค่าที่สุดสำหรับองค์กร แล้วบอกให้เค้าพักผ่อนตามอัธยาศัย ใครที่พักกายหายเหนื่อยแล้ว ให้ไปถามแผนกข้าง ๆ ว่ามีใครทำไอ้ top 3 บน wallpaper อยู่ไหม? มีอะไรให้ช่วยไหม?

ผมฝันว่าเวลาเรามีปัญหา X แทนที่จะจ้าง X manager เราจะให้คนที่ว่าง ๆ มารวมตัวกันระดมความคิดว่าจะ “แก้” ปัญหานี้อย่างไรอย่างยั่งยืน แทนที่จะ “ย้าย” ที่ปัญหาไปไว้ในบทบาทใหม่ในองค์กรเราแล้วสร้าง organizational debt ขึ้นมา

ผมฝันว่าที่ทำงานจะเป็นเหมือนที่ทำงานตามคำนิยามของคำว่า “งาน” ของ Taiichi Ohno คนที่สอนผมว่าทุกการเคลื่อนไหวที่ลูกค้ายินดีจ่ายเงินให้เป็น “งาน” ที่เหลือเป็น “waste”

ขอปิดท้ายด้วย quote นี้ละกัน

The only place that work and motion are the same thing is the zoo where people pay to see the animals move around. — Taiichi Ohno

สถานที่เดียวที่งานกับการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งเดียวกันคือสวนสัตว์ ที่ ๆ ผู้คนจ่ายเงินเพื่อมาดูสิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ไป ๆ มา ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

--

--