Loop ที่น่ากลัวของ Time line

Amorndej <Ko-Dookie>
odds.team
Published in
2 min readDec 23, 2019

ในสถานการณ์ ของการทำงานในบางที ที่ผมได้เข้าไปเป็น coach มักจะเกิด ความพยายามเร่งทำงานตาม Time line ที่กำหนดไว้ (ซึ่งไม่รู้ใครกำหนดนะ และ บางทีมันดูบีบหัวใจอยู่) มักจะเกิด loop การทำงานที่น่ากลัวมากๆ ขึ้น สิ่งที่ผมเจอคือ

โดยปกติ loop การทำงาน หรือ วงจร มักจะเป็นประมาณนี้

รอบที่ 1:
งานเร่ง => รีบปั่น =>ไม่ทำ TDD =>ไม่เขียน Test => ละเลย Automated Test=>ส่งให้ Tester =>เจอ Bug !
ใช้เวลา 1 ชม

รอบที่ 2:
(แก้ bug! รอบที่ 1 + งานเร่ง ) => รีบปั่น =>ไม่ทำ TDD =>ไม่เขียน Test => ละเลย Automated test => ส่งให้ Tester =>เจอ Bug!! ใช้เวลา 1 ชม 30 นาที

รอบที่ 3:
(แก้ bug !! รอบที่ 2 + งานเร่ง) => รีบปั่น => ไม่ทำ TDD => ไม่เขียน Test => ละเลย Automated Test => ส่งให้ Tester =>เจอ Bug!!! ใช้เวลา 2 ชม

วนกันไปไม่รู้จบ โดยในแต่ละรอบเวลาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเสมอ สุดท้ายแล้วงานก็เสร็จไม่ทันตาม timline ผมลองนั่งมองและเฝ้าสังเกตุ รวมถึง review code ดู รู้สึกไม่ประหลาดใจเลย ที่งานมันจะไม่เสร็จ สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ เราควรให้ความสำคัญ ของความเร็วในการทำงาน และ คุณภาพ ของสิ่งที่เราทำเท่าๆกัน เมื่อใดก็ตามถ้าสองสิ่งนี้ มันไม่ Balance กันแล้ว loop ที่น่ากลัวข้างต้น ก็จะเกิดขึ้น

สุดท้ายแล้วเท่าที่ผมเห็นมา ความเสียหายจะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เช่น ในระยะสั้น งานมันก็ยังต้องแก้อยู่เรี่อยๆ เนื่องจาก เกิด bug ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนในระยะยาว จะเกิด เฟส ของการ Maintenance ที่ต้องใช้เงินมูลค่ามหาศาลโดยใช่เหตุ

สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือ ถ้างานเร่ง!! วางแผนก่อน ซอยย่อยมันออกมา ให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายในเวลาที่จำกัด จากนั้น Estimate ของทั้งหมด โดย บวก quality เข้าไปด้วย เช่น เขียน test หรือ เขียน Robot กำหนดเป้าหมายของแต่ละวัน และ เอาทุกอย่างมารวมกันดู สุดท้ายจะได้กำหนดการแบบหลวมๆในแบบที่มันควรจะเป็น ซึ่งในตอนแรกอาจจะเห็นว่าเยอะ อย่า เพิ่งตกใจ ถ้า เทียบ กับ loop ที่น่ากลัวข้างต้นแล้วมันคุ้มค่ากว่ากันแน่นอนครับ

ไม่ต้องเชื่อผมทั้งหมดก็ได้นะครับ แค่อยากให้ลองคิดดู 😉

ขอบคุณที่อ่านจบครับ

--

--

Amorndej <Ko-Dookie>
odds.team

เป็นเพียงผู้ชายธรรมดาๆ ที่ไม่ World Class แค่ทำทุกวันให้มีความหมายก็พอ 😉