[ODDS] เมื่อเหล่าคนธรรมดาไปหาประสบการณ์ที่งาน UXLx 2024 (2/2)

hua ホア
odds.team
Published in
4 min readJun 8, 2024

ภาคต่อจาก Blog ที่แล้ว Workshop ต่อมาก็มีเนื้อหาที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลยค่ะ

ใครที่เข้ามาเจอ Blog นี้ก่อน สามารถเข้าไปอ่านภาคแรก (1/2) ได้ตามลิงก์นี้ค่ะ ⬇️

ส่วนประวัติที่มาของงาน UXLx ว่าเกิดขึ้นมาได้ยังไง? ทำไมถึงต้องจัดที่เมืองลิสบอนด้วย? พี่เฟิร์ส Thanabat B. ได้เล่าไว้แล้วใน Blog นี้ได้อย่างน่าสนใจมากๆค่ะ ⬇️

ขออนุญาตใช้ภาพปกเดิม เพื่อความต่อเนื่องของเนื้อหา 🙏

Workshop ที่ฮั้วลงทะเบียนเข้าเรียนมีดังต่อไปนี้ค่ะ:

List Workshop ที่ลงเรียน

รีวิวต่อกันที่ Workshop ที่ 4: Designing Services with AI โดย Titta Jylkäs

ในคลาสจะแบ่งให้นั่งเป็นกลุ่มแบบนี้ค่ะ

เป็นคลาสที่ Speaker มาแนะนำให้รู้จัก Functionallities ของ AI ว่ามีอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรเพื่อช่วยพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการที่เรากำลังพัฒนาอยู่

แต่การที่เราจะเอา AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสินค้า/บริการของเรา ยังมีเงื่อนไข หรือข้อที่ควรระวังที่เราควรจะคำนึงถึงในการนำ AI เข้ามาใช้อยู่ดังต่อไปนี้:

Challenges in Applying AI

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในแต่ละข้อนั้นเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้เลย หากเราละเลยสิ่งเหล่านี้ นำ AI เข้ามาใช้โดยไม่ได้มองให้รอบด้าน อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้ค่ะ 😱

ขอเล่าเพิ่มอีกนิดว่า ผู้เข้าร่วมแต่ละคนที่มาในงาน UXLx เท่าที่ได้ร่วมกิจกรรมและพูดคุย จะมีแต่ระดับ Leader และ Senior กันทั้งนั้น จุดประสงค์ที่หลายคนมาก็เพื่อเอาเทคนิค ความรู้ และแนวคิดต่างๆที่ได้จากงานนี้ไปสอน/ถ่ายทอดให้สมาชิกในทีมหลังจากนี้ ดังนั้นทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่ซองการ์ดเหล่านั้นเอาไว้ใช้ทำกิจกรรมบนโต๊ะอย่างตาเป็นมัน 👀 ✨

Speaker จะให้ Topic มาให้ทุกคนในกลุ่มได้ออกความคิดเห็นพูดคุยกันเกี่ยวกับ AI และ UX Design ความคิดเห็นของเพื่อนแต่ละคนน่าสนใจมากๆ มีคนที่ทั้งมองว่า AI จะเข้ามาช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 👍 และมีทั้งคนที่กลัวว่า AI จะเข้ามาแทนที่ (Replace) UX Designer ที่เป็นคนจริงๆได้ 😨

หัวข้อ Discussion ที่ได้รับ

ซึ่งผู้ที่เข้ามาในงานนี้ ฮั้วคิดว่าผู้ที่มาร่วมงานส่วนใหญ่เป็นคนที่สนใจเรื่อง AI อยู่แล้ว (อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ) จึงทำให้เวลามีกิจกรรม Discussion กัน ทุกคนจึงมีไอเดียที่น่าสนใจมาก เพราะฮั้วคิดว่าแต่ละคนน่าจะมีข้อมูลแน่นพอสมควร 🔥

เมื่อจบกิจกรรม Discussion ลง คุณ Titta ก็จะให้สมาชิกคนหนึ่งในโต๊ะสรุปความคิดเห็นที่พวกเราได้คุยกันไปเมื่อสักครู่ให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆได้ฟัง เป็นการแชร์ความคิดเห็นที่ทั่วถึงมากๆค่ะ

ในกลุ่มฮั้วมีคำถามที่น่าสนใจมาก เพื่อนคนหนึ่งถามว่า

“คุณคิดว่าวันหนึ่ง AI จะสามารถมาแทนที่ Designer อย่างคุณ ใน version ที่ดีกว่าหรือไม่?”

คำตอบของเพื่อนในกลุ่มมีทั้งคนที่แอบเห็นด้วย และคนที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ คุณ Titta ได้ให้คำตอบไว้น่าสนใจมาก

คุณ Titta มองว่า จริงอยู่ที่ความสามารถของ AI นั้นมีอย่างล้นเหลือ สามารถ Generate หลายสิ่งออกมาได้ในเวลาอันสั้น แต่สิ่งที่ AI สร้างสรรค์ออกมาได้นั้นมีเพียงสิ่งที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่มนุษย์อย่างเรามีแต่เรื่องที่คาดไม่ถึง และการ Design คือการสร้างสรรค์สิ่งที่เราไม่เคยรู้หรือมีมาก่อนให้เกิดขึ้นมา ดังนั้น คุณ Titta จึงไม่เชื่อว่า AI จะมาแทนที่ Designer ได้ (ในตอนนี้ 🙊)

ที่ชอบมากอีกอันคือ กระดาษ “Feedback” ที่ทาง Speaker เตรียมไว้ให้เราเขียนหลังจากจบคลาสนี้ ตัวคำถามที่อยู่ใน Feedback Form นี้ช่วยให้เราได้ทบทวนสิ่งที่เราทำกิจกรรมมาเมื่อสักครู่ว่าเราได้ความรู้ หรือแนวคิดใหม่ๆอะไรบ้าง และคิดต่อยอดไปอีกว่าอนาคตเราจะใช้ AI ในงาน Design อย่างไร

ดูจากคำถามก็เป็นคำถามที่ทาง Speaker หรือ ผู้สอนไม่ว่าคนไหนก็อยากรู้อยู่แล้วว่า เมื่อเราสอนสิ่งหนึ่งให้กับคน ด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน คนๆนั้นรับของที่เราถ่ายทอดไปแบบไหน

แต่ในทางกลับกันฮั้วคิดว่า การให้ผู้เรียนถามตัวเองอีกครั้งว่า ได้อะไรจากคลาสเรียน ก็เหมือนเป็นการทบทวนก่อนจะออกจากห้องเรียนไปก็ดีเหมือนกันค่ะ 👍

ต่อกันที่ Workshop ที่ 5: Accessibility as a Design Tool โดย Charlie Triplett

คุณ Charlie เป็น Accessibility Manager ที่ Starbucks ค่ะ ส่วนตัวฮั้วได้อ่าน Title ของ Speaker คนนี้แล้วก็รู้สึกว้าว เพราะไม่เคยคิดว่าจะมีตำแหน่งที่เน้นเรื่อง Accessibility จนเอามาเป็นตำแหน่งได้ (ต้องขอโทษผู้อ่านทุกคนที่ค่อนข้าง Concern เรื่อง Accessibility ด้วยค่ะ 🙏)

แต่ตอนนี้ได้รู้แล้วว่าในบริษัทใหญ่อย่าง Starbucks เขาให้ความสำคัญกับ Accessibility เป็นอย่างมาก จากนี้ไปคงต้องสังเกตสิ่งต่างๆใน Starbucks มากขึ้นแล้ว 👀

US Adults with Functional Disabilities

เมื่อเราพูดถึงกลุ่มคนที่ Disabilities หรือ ผู้ที่มีข้อจำกัด เรามักจะนึกถึงกลุ่มคนพิการซะส่วนใหญ่ แต่คำว่า Disabilities นั้นไม่ได้มีแต่ผู้พิการ แต่รวมไปถึงผู้ที่บาดเจ็บชั่วคราว ทำให้การเคลื่อนไหว การใช้ชีวิตลำบากกว่าปกติ หรือแม้แต่การที่เราบริโภคสื่อในบริบทต่างๆ เช่น อ่าน/ฟัง Content ขณะเดินทาง หรืออยู่ในที่ที่มีเสียงดัง หลายคนคงจะเคยประสบกับสถานการณ์นี้มาก่อนใช่มั้ยคะ 🫨

Facebook ได้เก็บข้อมูลรูปแบบการรับชมสื่อของ Facebook User ว่า
‘กว่า 85% รับชม Video โดยที่ปิดเสียงไว้’

ดังนั้นไม่ใช่แค่ผู้พิการแล้วที่เป็นโจทย์สำหรับ Accessibility เมื่อรูปแบบการใช้งานของ User เปลี่ยนไปตามบริบทต่างๆ การ Design เพื่อรับรองว่า User ทุกคนจะสามารถเข้าถึง Content ได้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปเช่นกัน

จับกลุ่มทดลองใช้ Accessibility ที่อยู่ใน Mac

กิจกรรมแรกที่เขาพาทำคือให้พวกเราลองเล่น Accessibility Feature ที่อยู่ใน Macbook เริ่มจาก Feature ‘Zoom’ ที่เอาไว้ใช้ซูมดู Content ที่ตัวอักษรอาจจะมีขนาดเล็กเกินกว่าที่เราจะมองได้ชัด

อันต่อมาคือให้เราจำลองสถานการณ์ “ถ้าชีวิตเราไม่มี เมาส์ เราจะทำอย่างไร?” Speaker จะมีหน้า Web มาให้เราใช้คีย์บอร์ดพาเราไปยังหัวข้อต่างๆเพื่ออ่าน และตอบคำถามตามความเข้าใจ โดยทุกอย่างจะต้องทำด้วย “คีย์บอร์ด” เท่านั้น (Trackpad/Touchpad ก็ห้ามใช้ 😵) ซึ่งฟังดูเหมือนจะง่ายนะคะ แต่พอลองทำจริงแล้วมันไม่ได้ง่ายดังที่เราคิดไว้เลย เพราะในหน้า Web ที่ถูก Design ตามปกติก็จะมี Checkbox มี Dropdown โน่นนี่นั่นเต็มไปหมด การ Access เข้าไปใน Element ต่างๆจะต้องใช้การกดมากกว่า 1 Key เพื่อที่จะเข้าไปอ่าน หรือเข้าไปตอบคำถามนั้น

ตัวอย่างหน้า Web ให้ทดลองใช้แต่ “Keyboard”

แต่รู้หรือไม่ว่า.. แม้เราจะ Design ตามหลัก Accessibility ทุกอย่างตรงเป๊ะตามหลักของW3C 100% แล้ว ก็ใช่ว่าจะช่วยแก้ปัญหาซะทีเดียว 😦

ยกตัวอย่างเช่น ภาพนี้…

ทางเท้ามีทางลาดนะ แก้ปัญหา Accessibility แล้วหรือยัง? 🤔

ดังนั้นเราจึงควรทำ Accessibility Test ก่อนจะปล่อย Feature ไป Production ค่ะ 🚀

และแน่นอนว่า Accessibility ไม่ใช่แค่เรื่องการเข้าถึงเพื่ออรรถรสในการ Consume Content ของ User เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของ SEO ด้วยเช่นกัน 👩🏻‍💻

คงจะมี Frontend Developer ไม่น้อย ที่เวลาสร้างหน้าเว็บขึ้นมา ถนัดใช้แต่ <div>…</div> แทน Tag อื่นๆ เพราะคำนึงถึงแค่มีอะไรออกมาให้เห็นก็พอ 🤧

จริงๆแล้ว Tag แต่ละอันใน HTML มันมีหน้าที่ และวัตถุประสงค์ที่จะสื่อสาร Information นั้นๆออกไปแตกต่างกันไป

ลองจินตนาการเรารับบทเป็น Search Engine จะต้องเอาของไปโชว์หน้า Search ของเราเองเพียง 1 กล่อง แต่พอเปิดประตูห้องเข้ามาเพื่อจะเลือกของออกไป กลับเจอแต่กล่องหน้าตาเหมือนกันไปหมด ไม่รู้เลยว่าแต่ละกล่องคืออะไร มีความหมายยังไง คงจะเลือกยากใช่ไหมคะ? 😵

ดังนั้นทุกคนคงจะเห็นแล้วว่า เรื่อง Accessibility นั้นไม่ได้เป็นแค่โจทย์ของ UX Designer เพียงคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญค่ะ ✨

(Source: https://x.com/Steady5063/status/1460271045332582404/photo/1)

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ 🙏 💕

ยังมีเนื้อหาจากการไปเปิดโลกกว้างครั้งนี้ที่อยากแชร์อีกอยู่นะคะ สำหรับใครที่สนใจกดติดตามไว้ได้เลยค่ะ ✨

--

--

hua ホア
odds.team

A developer with proficiency in the Japanese language 🐸 ODDS | Cats, Games, Drawing, Sharing knowledge