Organizational debt

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
1 min readFeb 12, 2020

ตอนไปเรียน LeSS กับ Jurgen De Smet Jurgen เล่าว่า organizational grow ได้ 2 ทาง คือ

  1. โตขึ้นโดยที่มีจำนวนคนเยอะขึ้น
  2. โตขึ้นโดยมีผลกำไรมากขึ้น
Photo from https://www.pxfuel.com/en/free-photo-xzxkl

เรามักจะคุ้นเคยกับโตแบบแรก เพราะตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทุก ๆ ร่ำรวยจาก economy of scale ใครทำ mass production ได้ก่อน ก็โกยเงินเข้ากระเป๋าไปก่อน

ยุคที่ตลาดงวดแล้ว

พอมายุคที่ตลาดงวดขึ้นแล้ว แบบแรกอาจจะไม่เป็นผลดีกับองค์กรเสมอไป เพราะคนเยอะทำให้เราการตัดสินใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรับตัวตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดซับซ้อนขึ้นมาก ที่สำคัญ มันทำให้การเติบโตแบบที่สองลดลง

กำไรคือราคาขายลบต้นทุน และทุก ๆ คนในองค์การเป็นต้นทุน ถ้าทุกครั้งที่เรามีปัญหา เราจ้างคนมาดูแลเรื่องนั้น ๆ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ส่งผลเสียในระยะยาว เพราะทุก ๆ คนที่เข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนแน่นอน และถ้าเค้าไม่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างผลกำไร ความรำ่รวยขององค์กรก็จะลดลง นั่นหมายถึงงบประมาณที่องค์กรมีเพื่อดูแลให้พนักงานมีความสุขก็จะลดลงตาม

ถ้าผลกำไรโดนตอดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมันไม่เหลือผลกำไร บอร์ดบริหารก็จะเริ่มเข้ามาจับตาดูใกล้ชิด ความไม่ไว้วางใจก็จะแผ่ลงมาจนถึงพนักงานที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และลูกค้าก็จะรู้สึกได้ว่าชีวิตชีวามันหายไปจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งทำให้จุดเด่นในตลาดของ brand หายไป และทำให้ผลกำไรยิ่งน้อยลงไปอีก และบอร์ดบริหารก็ยิ่งรัดเข็มขัด สุดท้ายก็ต้องลดคน และความปลอดภัยก็หายไป “ถ้าไม่สร้างผลงาน ฉันก็จะถูกเขี่ยทิ้ง” เป็นข้อความที่แพร่กระจายไปทั่วองค์กร

“เมื่อไหร่จะมีหาคนเพิ่ม” เป็นคำถามที่เราถูกถามบ่อย ๆ บางทีผมก็ตอบด้วยการแชร์ Odd-e never does ข้อนึงคือ

Never hires people just because we have work

บางทีผมก็ทำได้เพียงแค่ยิ้มเพราะไม่รู้จะตอบอย่างไร งานเยอะเกินก็เป็นปัญหาจริง ๆ แหละ แต่เป็นปัญหาที่เราอยากแก้มากกว่า organizational debt

References

ผมเคยเขียนบทความเรื่องอย่าจ้างคนเพียงเพราะมีงานเพื่อขยายความ Never does ข้อนี้ไว้

ออด-อี มี Odd-e never does อีก 2 ข้อที่เกี่ยวกับเรื่องแถว ๆ นี้คือ

  • Never has support departments
  • Never has a pyramid organizational chart

--

--