Performance evaluation 3.0

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
2 min readJul 25, 2019

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โลกบอบช้ำจากภัยสงคราม ทุกอย่างราบเป็นหน้ากลอง ไม่เพียงแต่สิ่งปลูกสร้าง แต่ยังหมายรวมถึงสภาพสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย

สมัยนั้น ทุกคนเหมือนต้องเริ่มต้นใหม่ ทุกคนสต๊าร์ทจากพื้นที่โล่ง ๆ ใครเร็วก็ได้เปรียบ เป็นยุคแห่งการทำงานหนักและความขยันอย่างแท้จริง

“Greening” by Jerzy Durczak is licensed under CC BY-NC 2.0

Performance evaluation 2.0

Motivation 2.0 เชื่อว่า คนเราวิ่งเข้าหารางวัล เราตั้งเป้าหมาย มี KPI แล้วก็วิ่งไล่ตาม เพราะเป้าหมายมันช่วยให้เราเพิ่งสมาธิอยู่กับมัน ทำให้เราวิ่งเร็วขึ้นอีกนิด ขยันทำขึ้นอีกชิ้นแล้วค่อยพัก น้ำพักน้ำแรงของคนรุ่นปู่นี่แหละที่รดบนรากของเศรษฐกิจยุคนั้นจนมันงอกงามเติบโตมาจนทุกวันนี้ แล้วเราก็นัดวัดผลเป็นระยะ ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนขยันอย่างต่อเนื่อง กลายเป็น performance evaluation 2.0

แล้วยุคสมัยก็เปลี่ยนแปลงไป มาถึงยุคแห่งความสร้างสรรค์ งานใดที่ไม่อาศัยความสร้างสรรค์หรือความรับผิดชอบของมนุษย์ หุ่นยนต์แย่งทำหมด ธุรกิจที่ขาดความสร้างสรรค์ค่อย ๆ เฉาตายไปทีละนิด ทุกธุรกิจรู้ตัวว่า ถ้าอยากอยู่รอด เราต้องปรับตัว

“Machinery Show” by five blondes is licensed under CC BY-NC-SA 2.0

มาถึงยุค motivation 3.0 ค้นพบความเชื่อใหม่เกี่ยวกับแรงจูงใจ คนเราไม่ได้วิ่งเข้าหารางวัลหรือแรงจูงใจภายนอกอีกต่อไปแล้ว แต่เราหาแรงจูงใจภายใน เราหาคุณค่า หาความหมายในแรงที่เราออกไป motivation 3.0 เชื่อว่า เราออกแรง เพื่อของ 3 อย่าง คือ 1. รอยยิ้มที่มากขึ้นบนโลกใบนี้ 2. ความชำนาญหรือความเก่งในทักษะนั้น ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นทักษะที่เรารักด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ 3. ความไว้วางใจจากหัวหน้าที่จะมอบอิสระในการเลือกวิธีการไปถึงเป้าหมายที่กำหนดด้วยตัวเราเอง

กลไลความสร้างสรรค์ของสมอง

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างสรรค์อยู่แล้วตามธรรมชาติถ้าได้ผ่อนคลาย เพราะสมองที่อยู่หลังตาที่มีชื่อว่า hippocampus มีมือมากมาย ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราหยุดคิด (prefrontal cortex หยุดทำงาน) สมองส่วนนี้ก็จะลุกขึ้นมาแล้วหยิบไอเดียต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ในสมองมา link กันโดยอัตโนมัติ ซึ่งภาษาชาวบ้านเราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ‘สร้างสรรค์’

นี่คือเหตุผลที่เรามักจะนึกอะไรดี ๆ ออกตอนผ่อนคลาย เช่น อาบน้ำ เข้าส้วม นอนมองทะเล

Performance evaluation 2.0 มันตกรุ่นแล้ว

ตอน performance evaluation 2.0 เราขีดเส้นให้คนวิ่งตาม เหมาะมากถ้าต้องการให้คนทำงานหนัก แต่ถ้าเราต้องการให้คนสร้างสรรค์หล่ะ เราจะขีดเส้นยังไง? เพราะการขีดเส้นก็ทำให้คน focus ซึ่งเวลาเรา focus เราก็จะไม่ผ่อนคลาย ถ้าเราไม่ผ่อนคลาย เราก็สร้างสรรค์ยากขึ้น การขีดเส้นให้เค้าวิ่งตามเป้าในธุรกิจที่ต้องการสร้างสรรค์ ก็เหมือนบอกพนักงานว่า ช่วยผ่อนคลายเร็ว ๆ หน่อยได้ไหม? มันช่างขัดแย้งจนน่าขำจริง ๆ

Ikigai

“Ikigai” by brf is licensed under CC BY-NC 2.0

Ikigai คือความหมายของการมีชีวิตอยู่ คนเราจะมีความสุข ได้จากการทำให้โลกดีขึ้น มีเงินใช้ไม่อดอยาก ได้ใช้พรสวรรค์ที่เรามี และ ได้ทำสิ่งที่รัก เวลาที่ผมทำงานที่ตอบโจทย์ผมทั้ง 4 อย่าง ความสร้างสรรค์ไม่ขาดมือเลย

Performance evaluation 2.5

OKR ที่ focus ที่ impact เริ่มมาถูกทางละ เริ่มให้พนักงานได้ใส่พรสวรรค์ตัวเองเข้าไปแล้วเติบโตขึ้น เหลือแค่ให้เค้าได้ทำสิ่งที่เค้ารัก กับทำให้เรื่องเงินมันออกไปจากโต๊ะทำงานเค้า

Performance evaluation 3.0

Performance evaluation 3.0 เป็นยังไงก็ไม่รู้ ผมไม่มีคำตอบ มีแต่คำขอร้อง ขอร้องว่าเลิกได้ไหม? พิธีกรรมที่เอาการให้ feedback มาผูกกับเงิน ถ้าที่ไหนได้เริ่มทำ OKR ก็น่าจะเริ่มเห็นแล้วว่า การจะทำ OKR ได้จริง ๆ นั้น มันต้องปรับสิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานในองค์กรไปด้วย ผมเชื่อว่าอีกหน่อย พอเราปรับบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรให้มีความหมายแล้ว ความสำคัญของพิธีกรรมเดิมก็จะลดลงไป เงินจะสำคัญน้อยลง แล้ว feedback ที่เราให้กันก็จะมีความหมายขึ้น วันนึงเราจะเลิกมาตัดกำลังใจกันทุก ๆ ปี เวลาเราเห็นพนักงานไม่ perform เราจะเลิกสงสัยว่าพนักงานคนนี้อู้ไหม แต่จะหันมาถามตัวเองว่าอะไรที่มันขาดไปจากสิ่งแวดล้อมการทำงานที่เค้าอยู่ เค้าถึงไม่สามารถสร้างสรรค์จนประสบความสำเร็จได้ เราจะไว้ใจคนทำงานหมดใจ ให้อิสระที่เค้าคู่ควรจะได้รับ เพื่อช่วยให้เค้าสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้นให้มันสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบัน

Reference

--

--