Retrospective เราเป็นเพื่อนร่วมงานแบบไหนนะ..
Retrospective คืออะไร?
อธิบายง่ายๆ “Retrospective” เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของการทำงานแบบ Scrum เมื่อสิ้นสุด Sprint หนึ่งๆ คนในทีมจะต้องทำเพื่อเก็บ Feedback กันเองว่า ใน Sprint ที่ผ่านมานั้นพวกเราทำงานกันเป็นอย่างไรบ้าง , ดี ไม่ดี ,ชอบอะไรไม่ชอบอะไร ,แล้วเราจะมีวิธีไหนที่จะพัฒนาการทำงานร่วมกันใน Sprint ถัดไปให้ดียิ่งขึ้นได้
การทำ Retrospective นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องงานทั้งหมดเสมอไป อาจเป็นเรื่องอื่นๆที่ส่งผลกระทบกับการทำงานในทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้เช่นกัน
เช่น ปัญหาการทำงานร่วมกัน , นิสัยของคนในทีม , สถานการณ์ส่วนตัวของเรา สภาพจิตใจ หรือ สถานการณ์ภายนอกอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้น แล้วอยากหยิบขึ้นมา Discuss กันก็ได้
ซึ่งในการทำ Retrospective แต่ละครั้งนั้นก็จะมี Theme หรือโจทย์แตกต่างกันไป เหมือนกับเป็นกุศโลบายหรือเครื่องมือที่นำพาพวกเรา (คนในทีม) ให้ได้พูดและสื่อสารความคิดในใจออกมาได้
ในบทความนี้ เราขอยก Theme หนึ่ง ที่น่าสนใจออกมาแชร์ให้ทุกคนได้ฟังกัน Theme ที่ว่าก็คือ
“4 Characteristics of Leadership styles เราเป็นเพื่อนร่วมงานแบบไหนนะ“
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานแต่ละประเภทก่อน
4 Characteristics of Leadership Styles มีอะไรบ้าง
ประเภทที่ 1 : 🐻 Bear (หมี) : Analytic , methodical , introspective , careful and base their decisions on data and logic.
แปลไทย = ช่างวิเคราะห์ มีความคิดเป็นกระบวนการ ระมัดระวัง และการตัดสินใจของเขาจะขึ้นอยู่กับข้อมูลและมีเหตุผลรองรับเสมอ
ประเภทที่ 2 : 🦅 Eagle (อินทรี) : Creative, innovative , expansive in their thinking and able to see the big picture.
แปลไทย = มีความคิดสร้างสรรค์ หัวนวัตกรรม สามารถต่อยอดความคิดออกไปได้เรื่อยๆ และสามารถมองในมุมกว้างหรือภาพไกลๆได้
ประเภทที่ 3 : 🦌 Deer (กวาง) : Collaborative , supportive , trusting , careful of others, feelings and concerned with creating a positive work environment
แปลไทย = ชอบความร่วมมือ สนับสนุนผู้อื่น ดูเป็นที่น่าไว้วางใจ ค่อนข้างห่วงความรู้สึกของผู้อื่น ให้ความสำคัญการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
ประเภทที่ 4 : 🐃 Buffalo (ควาย) : Like to take control of a task and towards the gold. Full of courage and endurance , “Buffalos” take risks and are good motivators of others.
แปลไทย = ชอบที่จะควบคุมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีความกล้าหาญและอดทน คนเหล่านี้มันจะกล้าเสี่ยงและสามารถกระตุ้นผู้อื่นเพื่อสร้างแรงจูงใจได้
เมื่อรู้จักทั้ง 4 ประเภทแล้ว ให้ทุกคนลองเลือกกันว่า
1.ตัวเองตรงกับสัตว์ตัวไหนมากที่สุด
2.คิดว่าเราจะร่วมงานกับใครได้ยากมากที่สุด”
Recap ความคิดเห็นบางส่วนจากเพื่อนร่วมงานของเราว่าแต่ละคนคิดว่าตัวเองทำงานกับใครยากที่สุด
🐻 กลุ่มคนที่เป็น “Bear” ตอบว่า
“เลือก “Eagle” เนื่องจากเขาเห็นภาพที่ไกลไปหน่อย ในขณะที่พวกเรากำลัง Focus สิ่งๆหนึ่งอยู่ ทำให้อาจจะจูนเข้าหากันได้ยาก”
🦅กลุ่มคนที่เป็น “Eagle” ตอบว่า
“คนที่ทำงานด้วยยากที่สุดคือ Buffalo เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมี Direction ที่ชัดเจนมากๆ ทำให้เกิดเป็นกรอบขึ้นมา และจะจำกัด crativity ของเรา”
🦌 กลุ่มคนที่เป็น “Deer” ตอบว่า
“คิดว่าไม่มีใครเลยที่ทำงานด้วยยาก เพราะอาจจะเข้ากับคนได้ทุกประเภท แต่ถ้าจะต้องเลือก จะเลือก Eagle เนื่องจาก คนกลุ่มนี้จะไม่มี Direction ที่ชัดเจน ทำให้เราไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรหรือ เดินไปทางไหน”
🐃ที่กลุ่มคนที่เป็น “Buffalo” ตอบว่า
“คนที่ทำงานด้วยยากที่สุดคือ Bear เพราะ คนเหล่านี้มักจะมีความคิด หรือหลักการของตัวเองที่อาจจะติดกับสิ่งๆหนึ่ง ทำให้เวลาที่เขาอยากจะนำ หรือชี้ Direction มักจะต้อง Discuss กับคนเหล่านี้ยากกว่าเสมอเมื่อความเห็นไม่ตรงกัน”
ในหลายๆครั้ง สถานการณ์ ก็เป็นตัวกำหนดว่าเราจะมี Characteristic แบบไหน
ในบทบาทการทำงานเราอาจะเป็น ‘Deer’ กวางน้อยคอยเข้าใจทุกคนและ collaborate กับผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งขัดกับเวลาที่เราอยู่กับเพื่อน เรากลายเป็น ‘ควาย’ ซะงั้น (ไม่ใช่ว่าโง่นะ 5555) หมายถึงเพื่อนๆชอบให้เราตัดสินใจอยู่เรื่อยๆอะไรแบบนี้น่ะ
บทบาทของคนที่เป็นหัวหน้า ส่วนมากก็ต้องรับบทเป็น ‘Buffalo’ ที่คอยตัดสินใจและนำให้น้องๆในทีมไปยังทิศทางต่างๆ อย่างที่ตัวเขาปฏิเสธไม่ได้ เขาจะต้องรับมือกับความเสี่ยง (take risk) พุ่งเข้าชนก่อน เป็นตัว Tank สำหรับน้องๆ ซึ่งบางครั้งมันก็เรียกว่าเป็นความจำเป็นอะนะ 🤣
Session นี้ต้องการจะบอกอะไรกับเรา?
การทำ Retrospective ครั้งนี้ นอกจากเราจะได้เข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้ว ต่อจากนี้ไป เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนใหม่ๆ ให้เราลองประเมิณลักษณะนิสัยของเพื่อนร่วมทีมของเราดู หากเรารู้ Characteristic ของเพื่อนเราแล้ว เมื่อมีอะไรที่มันขัดกับนิสัยของเรา หรือความเห็นไม่ตรงกัน จงอย่าเพิ่งรีบโกรธหรือด่วนตัดสิน และได้โปรดเข้าใจพวกเขาว่า ในสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นเพราะเค้าเป็นคนแบบนี้, เค้าเป็นคนประเภท … นะ และหาวิธีเข้าหาแบบอื่นๆแทน
การเข้าใจเพื่อนๆร่วมงานมากขึ้น รู้ว่าเขาต้องการอะไร ทีมก็จะมีช่องว่างที่น้อยลง และเป็น Team Work มากขึ้นนั่นเอง
สุดท้ายนี้ หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจเพื่อนร่วมทีมของคุณมากขึ้น รวมถึงเข้าใจตัวเอง และสนุกกับงานมากขึ้นนะคะ