Scrum Refreshment (3 Day) — เพราะ Scrum เราต้องเท่ากัน

Thanabat B.
odds.team
Published in
3 min readMar 31, 2024

ขึ้นชื่อว่าชาว ODDS แล้วพวกเราได้รับความเชื่อถือและเชื่อมั่นในการทำงานในรูปแบบ scrum หลายคนเองก็มีประสบการณ์การกับการทำงานในรูปแบบนี้มาหลายปี เก็บเกี่ยวจากการทำงานจริงบ้าง, ปรับเปลี่ยนตามหน้างานให้เหมาะสมกับลูกค้าบ้าง , หาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือหรือบทความต่างๆบ้าง จนบางทีพวกเราเองก็ลืมกลับมานั่งคุยกันว่า scrum ของเรายังเท่ากันอยู่ไหมนะ? กับการตอบคำถามง่ายๆของพี่ๆ Coach ของ ODDS ที่ว่า

“พวกเรารู้หรือเปล่าว่า Scrum ที่เราใช้ทำงานและช่วยเหลือลูกค้านั้นคือ version ไหน?”

จากสิ่งนี้เองจึงทำให้พวกเราต้องกลับมาเช็คสิ่งนี้กันอีกครั้งด้วยการจัด workshop 3 วัน แบบเดียวกับที่เราสอนลูกค้าโดยเริ่มกับกลุ่มสมาชิกในไซต์ลูกค้ากลุ่มย่อยๆเป็นกลุ่มแรก โดยทุกคนมาร่วมเข้ากันอย่างพร้อมหน้าครบถ้วน

ถ่ายรูป way ใหม่ของชาว ODDS (credit Twin Panitsombat)
สนุกสุดๆ

ภาพรวมใน Workshop

Day 1 ปรับความคิด ปรับความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในหลักการของ Scrum และ LeSS

คีย์หลักในวันแรกคือการปรับ mindset ของการทำงานรูปแบบ agile ย้ำเตือนเรื่อง Agile Manisfesto และตอบคำถามเรื่อง Scrum ที่พวกเราใช้ทำงานและช่วยเหลือลูกค้าคือเวอร์ชั่น 2017 โดย Ken Schwaber และ Jeff Sutherland (เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ, เวอร์ชั่นภาษาไทย)

ทำไมต้องเวอร์ชั่นนี้?
ปัจจุบันนี้ scrum ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่นปี 2020 และปรับเปลี่ยน guidline เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจในแง่ต่างๆ แต่ที่เหมาะสมกับ Sofware Development มากที่สุดยังคงเป็นเวอร์ชั่น 2017

องค์ประกอบต่างๆของ Scrum ทั้ง Team, Events, Artifacts และ Activity รวมถึงบทบาทหน้าที่ของ PO, Srum Master และ Team

รูปภาพประกอบจาก Odd-E Japan
Large Scale Scrum

จบวันแรกเราได้แบ่งทีม scrum ได้เป็นหลายๆทีมและเริ่มเข้าสู่กระบวนการการทำงานเสมือนจริงของ LeSS โดยที่ทุกทีมได้ร่วมกันตั้งต้นสิ่งที่เข้าใจคลาดเคลื่อนที่สุดและเป็นอีกสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือ DoD (Definition of Done)

อีกคีย์หนึ่งที่เคยเข้าใจผิดพลาดและได้ทำความเข้าใจคือคำว่า Cross-Functional team ไม่เท่ากับ multi skill ขยายความก็ในหนึ่งทีมเราต้องมีคนที่มีความสามารถและรับผิดชอบตาม DoD ให้ได้ ถ้าในทีมขาด skill UX ก็นำ UX เข้ามาในทีม และเมื่อผ่านไปเรื่อยๆ UX สามารถถ่ายทอด skill ให้สมาชิกคนอื่นๆสามารถทำ UX ได้ มี multi skill ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี

Day 2 ปรับความเข้าใจเกี่ยวกับ Product Backlog และบทบาทของสมาชิกต่างๆ

คีย์หลักในวันนี้คือการทำความเข้าใจอีกหนึ่งส่วนสำคัญใน Scrum คือเรื่องของ Product Backlog ที่ well shape และต้องมีความ

  • O(rder) มีการจัดเรียงความตามลำดับความสำคัญ หรือตามตำราคือต้องผ่านการ Prioritize จากทาง PO
  • D(ymamic) มีความคล่องตัวในสลับสับเปลี่ยนได้
  • D(etail Appropiation) มีรายละเอียดที่พอเหมาะสำหรับ 1–2 sprint ล่วงหน้า
  • S(izing) ต้องผ่านการ estimate และบอกถึงความยากง่ายได้ ตามการประเมินของทีม

*Note: จากข้างบนเป็นกิมมิคที่ทาง Jane.Makub ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้จำกันได้ง่ายมิได้อยู่ในตำราใดๆ

credit image Chonlasith Jucksriporn

Product Owner ที่ดีไม่ได้ Prioritize Features แต่ Prioritize Problems ที่อยากช่วยแก้ปัญหาให้ user หรือ ธรุกิจ
Jane.Makub

อีกหนึ่งสิ่งคือเรื่อง Producr Backlog Refinement กิจกรรมที่ถ้าอยู่ใน Scrum จะเป็นแค่ Activity (จะมีหรือไม่มีก็ได้) แต่พอมาอยู่ใน LeSS จะกลายเป็น Event (ที่จำเป็นต้องทำ) และได้ทำ multi-team product backlog refinement ที่ให้สมาชิกของแต่ละ scrum team แยกตัวออกมา mixed กลุ่มคละกัน เพื่อมี knowledge ที่ใกล้เคียงกันในการทำความเข้าใจรายละเอียดของ PBI

เป็นกิจกรรมที่ผมได้ทำครั้งแรก สนุกและมีประโยชน์มากๆ

credit image : https://less.works/less/less-huge/requirement-areas
credit image Kan Ouivirach
credit image Kan Ouivirach

แถมด้วยเทคนิคการทำ SBE (Specification by Example) ที่ช่วยให้ทุกคนได้มีความเข้าใจรายละเอียดต่างๆที่ตรงเป้าหมายเดียวกัน

จบวันด้วยการแยกย้ายกลับเข้าทีมตัวเพื่อไปทำ Sprint Planning Part I และ Part II

Day 3 ลงมือทำจริง

ตามหลักการที่พวกเรายึดถือเสมอไม่ว่าจะไปแบ่งปันความรู้ที่ไหนก็ตามคือการ “Learning by Doing” วันสุดท้ายพวกเราได้ทำการจำลอง Sprint จริงโดยย่นเวลาให้สั้นลงตามระยะใน workshop

ทีมได้เริ่มการทำงานจริงๆ ตามกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ Daily Scrum ไปจนถึง Sprint Retrospective โดยที่ปัญหาของ PO เราคือต้องการ save cost ของการจัด training ของ ODDS และต้องการเพิ่ม awareness ในสิ่งนี้ของชาวเรา จึงเป็นที่มาของ https://training.odds.team/

หลังจากการผ่านการเรียนรู้และลงมือทำจริง แม้จะไม่ได้ done ทั้งหมดและตรงตามเป้าหมายที่ PO วางไว้ (ทำ PO เสียเครดิตไป 1 sprint) แต่ในฐานะ 1 ในสมาชิกทีมที่ได้มีส่วนรวมในการพัฒนา product นี้ขึ้นมามีพลังและมีความกำลังใจมากๆ ยังคิดว่าอยากสานต่อจริงๆขึ้นมา เรียกได้ว่ามี ownership นิดๆและนี่คือผลงานของพวกเราใน 2 sprint (จำลอง 1วัน)

สรุปและปิดท้าย

ทั้งหมดทั้งมวลเป็นแค่รายละเอียดคร่าวๆ ซึ่งใน workshop จริงมีรายละเอียดอีกมากมายที่นำมาเล่าไม่หมด ในมุมของผมเองก่อนเริ่มคลาสในฐานะที่มีประสบการณ์กับการทำงานในรูปแบบ scrum มา 5 ปีกว่าๆ ผมต้อง unlearn และ relearn อยู่ในหลายๆเรื่อง แต่หลังจากจบคลาสในครั้งนี้แล้วรู้สึกอินและมีไฟมากๆ อยากถ่ายทอดและนำสิ่งนี้ไปใช้ช่วยเหลือลูกค้าในการทำงานจริง แม้ชีวิตจริงจะไม่ได้ไหลลื่นเหมือนที่ทำใน workshop และมักเจออุปสรรคและความท้าทายหลากหลายแง่มุมที่ให้เราเข้ามาแก้มากมาย แต่ผมเชื่อว่าหากเรามีความยืดหยุ่นและยึดมั่นอยู่บนองค์ความรู้และตำราเดียวกันได้แล้วนั้นเราก็จะสามารถเดินทางบนเส้นทางนี้ไปได้ในระยะยาว

อย่างน้อยในวันนี้พวกเราก็มีชาว ODDS อยู่จำนวนนึงที่พร้อมขับเคลื่อนสิ่งนี้ไปด้วยกันอย่างเต็มที่และถูกทาง

สุดท้ายขอขอบคุณพี่ๆ Coach ชาว ODDS,​ ผู้จัดงานและสมาชิกทุกๆคนที่สละเวลาและทำให้ workshop ดีๆและทรงคุณค่านี้เกิดขึ้นมาได้

--

--