Self-organizing Team ไม่ใช่ง่าย

สิ่งหนึ่งที่ผู้คนได้ยินมาเกี่ยวกับ Agile ก็คือเรื่อง self-organizing team หรือ บางทีก็ self-directing team และ self-managing team

ทีมนี้กำลังทำงานกันจนเข้าข้อ เรียกได้ว่า เข้าใกล้ “ความ self-organizing team” เข้าไปทุกเมื่อเช่าวัน ❤ น่ารักจริง ๆ

สำหรับคนที่รู้ Scrum มาบาง ๆ แล้ว เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ชวนให้ผู้คนตีความไปผิดทิศผิดทางได้เหมือนกันนะ ⤳

เนื่องจาก Scrum ถูกทำให้เป็น Framework คือมันก็โดน generalize ลงมาระดับนึง ทำให้หลาย ๆ ส่วนเค้าไม่ได้พูดถึงว่าวิธีการเป็นอย่างไร 1–2–3 ทำอย่างไร
สำหรับการทำ Self-organizing team ยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะคุยว่า “ทำอย่างไร” ไปอีก

ที่แน่ ๆ คือ Self-organizing team ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ 🧗‍♀️

เพราะอะไร?

เพราะด้วยโจทย์ที่มี level of complexity สูง มันก็ยิ่งยาก(เช่นการทำ software)

เพราะด้วยสภาพแวดล้อมในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยิ่งเพิ่มซับซ้อน ยังมี factors มากมาย มาจากหลายทิศทาง

การที่ทีมจะเป็น Self-organizing ได้ยิ่งต้องอาศัย “ความเก๋าเกม” อยู่มาก ♞

ไม่ว่าจะเป็นเชิง technical ที่เป็น hard skill ไปจนถึง…

management skill แล้วยังไม่พอ…

team member ต้องมี soft skills ในการทำงานกับทุก ๆ คน (นับรวมแม้กระทั่งตัวเองด้วย)

ดังนั้น ถ้ามี member สักคนที่พยายามทำตัวง่อกง่อย ไม่อยากเรียนรู้อะไรเพิ่ม ไม่อยากขวนขวายอะไรทั้งนั้น แค่นั้นก็ชักนำให้ทีมก้าวถอยหลัง ห่างไกลจากความเป็น self-organizing team ไปอีก

ว่ากันว่า… หนึ่งในหลักการ 12 ประการแห่งแอจไจล์ พูดถึงว่า การออกแบบ, รีไควเม้นท์ และดีไซน์ ควรจะเป็นของที่ผุดขึ้นมาจาก self-organizing ทีม

ถ้าจะเอาแบบนั้น เราจะเห็นว่า team member จากค่ายแอจไจล์ควรจะมือพระกาฬระดับเป็นอาคิเทคได้กันเลยทีเดียว ⛷

ซึ่งถ้าในทีม ไม่ได้มีเมมเบอร์ skill แรง ๆ เบอร์ architect ก็คงจะไม่สามารถผลิต architecture design ออกมาในระดับที่ส่งมอบให้ลูกค้าได้อย่างสบายใจกระมัง

อย่างไรก็ตาม Agile ปูพื้นแนวคิดเรื่องนี้ไว้ว่า…

เวลาหาคนมาใส่ทีมน่ะ จงหาคนที่มี passion/motivation ที่ใฝ่เรียนรู้ว่างั้นเหอะ

แล้วมาคาดหวังว่า ทีมเมมเบอร์ควรจะ aim เป้าไปว่า 🎯 จะพัฒนาตัวเองให้เก่งถึงเบอร์ architect ให้จงได้…. และแน่นอนมนุษย์ทีมเมมเบอร์ผู้นั้นควรจะหาสนามให้ตัวเองฝึกฝนด้วย…

ทีมเมมเบอร์นั้น อาจจะฝึก design แล้วให้รุ่นพี่ architect รีวิวให้ แน่นอนเราไม่ปล่อยให้ทีมเมมเบอร์ที่มือไม่ถึงทำอะไรเละตุ้มเปะส่งลูกค้าน่ะ 🧨

ดังนั้น เราจะสรุปว่า ความ Self-organizing ของ Scrum นั้นเกิดไม่ง่ายเลย

Self-organizing team เกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม ในบริบทที่เหมาะสม 🏰

ด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้ง่าย ว่า คนเราไม่สามารถจะ “เก่งเก๋าเกม” ได้กับทุกเรื่อง 🎠

ทันทีที่โจทย์เปลี่ยน สภาพแวดล้อมเปลี่ยน “ความ self-organizing” ของ team นั้นก็พร้อมจะพังทลาย หรือลดเพดานบินได้ในพริบตา ✈🛩

ฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจตรงกันอย่างนี้แล้ว

ก่อนที่จะไปคาดหวังอะไร ลม ๆ แล้ง ๆ กับคำว่า “Self-organizing team” ก็ควรจะดู สภาพแวดล้อม โจทย์ และบริบทในขณะนั้นด้วยยยยยยยข่าาา 👁 👁

บายค่ะ :)

--

--