“Sense of belonging คืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อจิตใจ”

Chuenchon
odds.team
Published in
5 min readApr 11, 2024

--

ตัวเอียง : แปลมา
ตัวปกติ: เขียนเอง

คำว่า ‘belonging’ หากแปลเป็นไทย อาจจะได้คำว่า ‘การเป็นส่วนหนึ่ง’
‘Sense of belonging’ ก็คือ ‘การรับรู้ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง’ แบบ นี่แหละคือที่ของฉัน คนของฉัน ความรู้สึกนี้มีรากฐานมาจาก acceptance หรือการเป็นที่ยอมรับ แบบไม่มีเงื่อนไข unconditional

หากยังนึกไม่ออก ลองทำความเข้าใจคำนี้ผ่านประสบการณ์กัน ให้นึกถึงวันที่เรารู้สึกเป็นตัวเองสุด ไม่ต้องกังวลว่าใครจะมองเราแบบไหน ได้พูด ได้แสดงออก ได้ทำ ในสิ่งที่คิด แต่งตัวแบบที่อยาก ไม่กลัวว่าใครจะมาตำหนิ อาจได้รับการชื่นชมด้วย รู้สึกภาคภูมิใจ ที่เราเป็นเราแบบนี้ รู้สึกมีคนที่เก็ทคุณ พูดภาษาเดียวกับคุณ มีที่ยืน โดยไม่ต้องฝืนทำอะไร ณ ช่วงเวลาแบบนั้นแหละ ที่คุณรับรู้และสัมผัสได้ ว่าคุณ belong

ในทางกลับกัน เคยไหม ที่คุณกำลังอินกับเพลงโปรดเลยเปิดให้เพื่อนฟัง แล้วโดนตอบกลับว่า “เพลงเ_ี้ยไรเนี่ย ไม่เห็นจะเพราะเลย รสนิยมประหลาด” หรือเวลาเลือกชุดที่มั่นใจสุด ๆ แล้ว มันเก๋มันเท่ แต่กลับโดนหัวเราะใส่ หรือกระทั่งการไปเลือกซื้อเสื้อผ้าทั้งตลาดแล้วไม่มีไซส์คุณเลย แม่ค้าตอกใส่หน้าว่า “ไซส์นี้ไม่มีหรอก” และไม่ยอมให้คุณลอง การถูกทำให้เชื่อว่าการเป็นคุณมันไม่ถูก การถูกตัดสิน การถูกเปรียบเทียบกับคนอื่นไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความรู้สึกว่าคุณไม่ belong เพราะคุณไม่รู้สึกเป็นที่ยอมรับ คุณจะเริ่มกลัวที่จะเป็นตัวเอง เริ่มคิดว่าเราไม่ดีพอ ไม่มีใครเข้าใจ เราต้องเป็นแบบนี้ แบบนั้นสิ ถึงจะดี ต้องฟังเพลงเหมือนคนอื่น แต่งตัวเหมือนคนอื่น ต้องผอม ต้องขาว เป็นต้น

มาลองสำรวจตัวเองว่าเรารู้สึกสบายใจที่จะเป็นตัวของตัวเองในชุมชนใดชุมชนหนึ่งไหม เช่น ในครอบครัว ในกลุ่มเพื่อน ในที่ทำงาน ในละแวกบ้าน ในสังคม ถ้าคุณรู้สึก นั่นเป็นเรื่องดี แต่ถ้ารู้สึกบ้าง ไม่รู้สึกบ้าง ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคน you’re not the only one

ความต้องการที่จะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งนั้นเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

Part 1

เราทุกคน ต้องการเป็นที่ยอมรับ และมันเริ่มได้ที่ตัวเราเอง

Self-acceptance คือความสามารถในการยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสีย จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง โดยไม่ตัดสิน เข้าใจตัวเอง ทั้งหมดของตัวเรา

สิ่งนี้คือความสามารถ แปลว่า เราสามารถฝึกและเรียนรู้ได้ ชื่นขอแปลตัวอย่างการฝึกฝน ที่อ่านมาจากบทความนี้

  • Embrace your values: ระบุค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของเราออกมาให้ตัวเรามองเห็นได้ แล้วส่งเสริมคุณค่า ความเชื่อเหล่านั้น เมื่อการกระทำของเราไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่เราให้คุณค่า มันจะส่งเสริมการรับรู้ตัวตนของเรา พัฒนาความนับถือตนเอง และจะทำให้เรายอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น
  • Set healthy boundaries: คุณอาจจะต้องการขอบเขตในหลาย ๆ ด้านของชีวิต การงาน ความสัมพันธ์ ทั้งทางด้านเวลาและการเงิน กำหนดขอบเขต ขีดเส้นให้ชัดเสมอ อย่าปล่อยให้ผู้อื่นล่วงล้ำ สิ่งนี้จะช่วยป้องกันการปฏิบัติต่อคุณแบบผิด ๆ ซึ่งมันอาจจะยากที่จะยอมรับในระดับจิตใต้สำนึก
    Ex. คุณอาจจะต้องการเวลาส่วนตัว หรือทำกิจกรรมคนเดียว สื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจและอย่าปล่อยให้เส้นนั้นเลือนหายไป
  • Forgive yourself: ถ้าคุณทำผิดพลาด รับรู้ และเรียนรู้จากมัน แต่อย่าเฆี่ยนตัวเองซ้ำ ๆ เรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเองในความผิดพลาด
  • Avoid self-blame: ตระหนักไว้ว่าคุณไม่ใช่ต้นเหตุของเรื่องราวร้าย ๆ ทั้งหมดที่คุณพบเจอ มันไม่ใช่เพราะคุณมีเลือดกรุ๊ปบี พยายามใช้ตรรกะและประเมินปัจจัยอื่นที่อาจมีส่วนในสถานการณ์นี้ร่วมด้วย
    Ex. สถานการณ์อุบัติเหตุ “ไม่น่าเลย ฉันผิดเอง ที่ไม่ไปส่ง ถ้าฉันไปส่งก็คงไม่เกิดเรื่องแบบนี้” << นี่คือการโทษตัวเอง พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้
  • Don’t compare yourself to others: ลองเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีกว่าแต่ก่อน แทนที่จะเปรียบเทียบกับคนอื่น
    Ex. “เราก็ตั้งใจทำงาน ทำไมได้เงินเดือนน้อยกว่าคนอื่น” ในขณะที่ลืมมองไปว่าเราหารายได้ได้มากกว่าตัวเองเมื่อปีที่แล้วหลายเท่า
  • Focus on positivity: ใช้พลังงานในการมองหาด้านดีของทุก ๆ สถานการณ์ แทนที่จะพุ่งไปที่เราทำอะไรผิดไป พยายามระบุสัก 1 อย่างที่คิดว่าเราทำถูก
    Ex. ตรวจเจอว่าติดโควิด แทนที่จะไปหาว่าติดจากไหน เพราะไม่ใส่แมสก์หรือเปล่า อาจจะมองว่า ยังดีที่สังเกตตัวเอง เราทำถูกแล้วที่ไปซื้อที่ตรวจมาตรวจ จะได้จัดการตัวเองได้
  • Keep a journal: หมั่นเขียนบันทึก จดความเข้มแข็งและสิ่งที่คุณทำสำเร็จลงไป เช่นเดียวกับความอ่อนแอและความผิดหวัง หากคุณรู้สึกยากที่จะยอมรับอะไรสักอย่าง มันอาจจะช่วยได้ถ้าคุณจดความคิดต่อสถานการณ์นั้น และอะไรบ้างที่ถ้าคุณทำ มันอาจจะส่งผลต่างออกไป สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและกระทำสิ่งที่สอดคล้องกับค่านิยมของคุณมากขึ้นในอนาคต
  • Try loving-kindness meditation: Loving-kindness meditation หรือ LKM คือรูปแบบของการฝึกสมาธิ ที่จะช่วยสร้างพลังบวก การเห็นอดเห็นใจ และความสุขุม การฝึกมีทั้งความคิดบวกต่อตนเอง ขอบคุณและซาบซึ้งตัวเองในแบบที่เราเป็น เปล่งเสียงพูดให้เราเชื่อมั่น
  • Seek help: การพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอาจช่วยได้ หากคุณรู้สึกว่าการที่คุณไม่สามารถยอมรับตัวเองได้มันทำให้คุณว้าวุ่นใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า มีผลกระทบต่องานหรือความสัมพันธ์

List of values
Accountability
Achievement
Adaptability
Adventure
Altruism
Ambition
Authenticity
Balance
Beauty
Being the best
Belonging
Career
Caring
Collaboration
Commitment
Community
Compassion
Competence
Confidence
Connection
Contentment
Contribution
Cooperation
Courage
Creativity
Curiosity
Dignity
Diversity
Environment
Efficiency
Equality
Ethics
Excellence
Fairness
Faith
Family
Financial stability
Forgiveness
Freedom
Friendship
Fun
Future generations
Generosity
Giving back
Grace
Gratitude
Growth
Harmony
Health
Home
Honesty
Hope
Humility
Humor
Inclusion
Independence
Initiative
Integrity
Intuition
Job security
Joy
Justice
Kindness
Knowledge
Leadership
Learning
Legacy
Leisure
Love
Loyalty
Making a difference
Nature
Openness
Optimism
Order
Parenting
Patience
Patriotism
Peace
Perseverance
Personal fulfillment
Power
Pride
Recognition
Reliability
Resourcefulness
Respect
Responsibility
Risk-taking
Safety
Security
Self-discipline
Self-expression
Self-respect
Serenity
Service
Simplicity
Spirituality
Sportsmanship
Stewardship
Success
Teamwork
Thrift
Time
Tradition
Travel
Trust
Truth
Understanding
Uniqueness
Usefulness
Vision
Vulnerability
Wealth
Well-being
Wholeheartedness
Wisdom
Write your own: ………………..

Part 2

การยอมรับตัวเองนั้นเป็นรากฐานที่สำคัญมาก แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน ใน Part นี้จะพูดถึงบริบทของที่ทำงานกัน

ที่มาของความสนใจเรื่อง ‘sense of belonging’ ก็เพราะมันคือ 1 ใน top values ของชื่นเอง

Freedom, Creativity, Belonging, Learning, Environment

Values เหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการเลือกใช้ชีวิต ทั้งการทำงาน ความสัมพันธ์ เป้าหมาย การวางแผนอนาคต และนิยามความสุข

หากตัดเวลานอนออกไป เราใช้เวลาที่เหลือ 40–50% ในที่ทำงาน และที่ทำงานนี่แหละ ที่เราเอาพลังงานทั้งทางกายและทางใจไปใช้ แล้วก็เลยสงสัยว่าเราทำอะไรได้บ้างไหม ที่จะช่วยให้เราใช้พลังงานได้พอเหมาะและยั่งยืน จึงเริ่มจากการศึกษาเพื่อให้เข้าใจก่อน

ในส่วนต่อจากนี้ หลัก ๆ จะแปลมาจากบางส่วนที่คัดเลือกมาจากหนังสือ
You Can Be Yourself Here: Your Pocket Guide to Creating Inclusive Workplaces by Using the Psychology of Belonging by DDS Dobson-Smith

พอได้อ่านแล้วก็อยากบันทึกความเข้าใจไว้ แต่ก็อยากแบ่งปันหลาย ๆ ส่วนที่สามารถตกตะกอนได้ เนื้อหาอาจจะกระโดดไปมา ตามแต่ความสามารถในการย่อยของชื่น **disclaimer ก่อนว่า สำหรับชื่น ชื่นอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจ และการแปลเป็นไทยเพื่อเอามาเล่าต่อนั้นยากมาก ๆ โดยเฉพาะภาษาเขียน คำบางคำมันนึกไม่ออกจริง ๆ ว่าจะเทียบเคียงยังไงให้ตรง เอาเป็นว่าจะใส่ภาษาอังกฤษมาด้วย เผื่อใครสะดวกภาษาอังกฤษเหมือนกัน

“That effort to be something or someone you are not comes at a psychological cost.”
ความพยายามที่จะเป็นอะไรสักอย่างหรือใครสักคนที่ไม่ใช่คุณ แลกมาด้วยราคาทางจิตใจ

การข่ม เก็บกด ซ่อน ปิดบัง หยุด บางส่วนบางด้านของบุคลิก พฤติกรรม นิสัยใจคอ หรือตัวตนของเรา เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับ การได้รับความรัก การดูแลเอาใจใส่ หรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งนั้น ต้องใช้พลังงานทางจิตใจและอารมณ์อย่างมาก
โดยเฉพาะในโลกของการทำงาน หากใครสักคนรู้สึกถูกคุกคามว่าเค้าไม่สามารถเป็นตัวเองได้ เค้าจะต้องใช้พลังงานทางด้านจิตใจอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงหรือปกปิดตัวตน

ในทางกลับกัน หากเค้าเหล่านั้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานในการทำสิ่งเหล่านั้นและเป็นตัวของตัวเองได้ พลังงานที่มีก็จะถูกส่งไปใช้ในการทำงาน

เปรียบเทียบการใช้พลังงานทางจิตใจเป็นการใช้พลังงานทางกาย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น งานที่เราทำ จำเป็นจะต้องยกแขนตลอดเวลา แต่คุณต้องย่อตัวด้วย เพราะที่ทำงานบอกว่าคุณสูงเกินไป ต่างจากคนอื่น ๆ
สถานการณ์นี้ถ้าเทียบกับคนที่ไม่ต้องย่อตัว คุณอาจจะเหนื่อยล้ากว่า และทำงานได้ไม่ดีเท่า เพราะคุณต้องใช้พลังงานกับการทำตัวให้เป็นที่ยอมรับด้วย ในทางกลับกัน หากที่ทำงานบอกว่า คุณจะยืน จะนั่ง จะนอน จะสูงกว่าหรือเตี้ยกว่าคนอื่นก็ได้ คุณแค่ต้องยกแขนไว้ตลอด พอหมดวันคุณอาจจะไม่เหนื่อยมาก และยกแขนได้นิ่ง (มีประสิทธิภาพ) เพราะคุณมีโอกาสได้ทำงานให้บรรลุด้วยวิธีที่คุณเลือกแล้วว่าเหมาะกับคุณหรือถนัด และได้ทุ่มเทพลังงานให้กับการยกแขนเพียงอย่างเดียว

SELF PSYCHOLOGY

ผู้เขียนพาเราสำรวจจิตวิทยาของ ‘belonging’ ด้วยการกล่าวถึง ‘Self psychology’ โดยนักจิตวิเคราะห์ (psychoanalyst) Heinz Kohut

THE SELF
Kohut มองว่า Self หรือตัวตน มีเส้นทางการพัฒนาซึ่งควรจะพาไปสู่การเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ (creative) เป็นที่รัก (loving) และ มีความกลม (cohesive whole) < แปลยากมาก นึกคำไทยไม่ออก

การพัฒนา Self เกิดขึ้นมาจากความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเป็นการตอบสนองต่อประสบการณ์ selfobject

SELFOBJECTS
“We experience, learn from, and then internalize aspects of people and experiences around us and incorporate them into our own sense of Self as though they are part of ourselves.”
เราเรียนรู้จากผู้อื่นในแง่มุมต่าง ๆ และนำเข้ามาใส่ในตัวเรา กล่าวคือด้านต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา

  • Mirroring คือการให้ความมั่นใจ รับรู้ มองเห็นผลงาน (affirmation, reassuring and recognition) อาจจะมาในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่างเช่น การชมเชย ขอบคุณ หรือเลื่อนขั้น
  • Idealizing มีแบบอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้ได้ ในบริบทของการทำงาน ผู้นำหรือหัวหน้ามีบทบาทอย่างมาก
    “Leadership is a behavior, not a title” หากผู้นำแสดงให้เห็นว่ามันโอเคนะที่จะเป็นตัวของตัวเอง จะช่วยสร้างทีมหรือสถานที่ทำงานที่ยกความคิดนี้ขึ้นมาเป็นแบบอย่าง (role-model)
  • Twinship การมีเพื่อนร่วมงานที่เปิดใจแล้วเราพบว่ามีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันกับเรา ก็จะช่วยสร้างความรู้สึกที่ไม่โดดเดี่ยว และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

3 ข้อที่กล่าวมานั้นสำคัญต่อการรักษาระดับและเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem)
“To be yourself, you’ve got to know who you are and you need external affirmation from the people around you, letting you know that who you are is okay.”

EMPATHY
Self หรือตัวตน สามารถเข้าใจได้ผ่านการเข้าอกเข้าใจ (empathy) มากกว่าข้อมูลเชิงลึก (insight) ผู้เขียนได้อธิบายถึง empathy ไว้ว่า “I like to think of sympathy as “feeling for” and empathy as “feeling with” another person.” หากแปลไทยก็จะเป็น ความสงสารคือการรู้สึกให้กับใคร ในขณะที่ความเข้าอกเข้าใจคือการรู้สึกร่วมไปกับคน ๆ นั้น ในหัวข้อนี้มีรายละเอียดที่น่าสนใจ เดี๋ยวจะเขียนแยกเรื่องนี้โดยเฉพาะในอีก part หนึ่ง แต่อยากจะกล่าวถึงเรื่องที่สนใจ คือการสร้าง ‘ความเข้าอกเข้าใจ’ นี้ เรียนรู้หรือฝึกให้ทำได้ดีขึ้นได้อย่างไร

  1. The ability to assume positive intent ความสามารถในการคิดไว้ก่อนว่ามีเจตนาที่ดี เช่น ยามที่เกิดข้อผิดพลาด นึกไว้ก่อนว่ามันคงไม่มีใครหรอกที่ตั้งใจจะมาทำงานเพื่อทำให้งานเสีย แต่ไม่ได้แปลว่าให้ปล่อยไปโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ หากสามารถทำได้ วิธีการเข้าถึง (approach) สถานการณ์อาจจะต่างออกไป
  2. The ability to give people the benefit of the doubt ความสามารถในการยกผลประโยชน์ให้จำเลย การทำสิ่งนี้จะเปิดโอกาสให้เรามองข้อสงสัยนี้ด้วยมุมมองเป็นเหตุเป็นผลมากกว่ามุมมองแง่ลบไว้ก่อน ก่อนจะตราหน้าใครว่ามีความผิด ให้ถือว่าไม่ผิดไว้จนกว่าจะพิสูจน์ได้
  3. The ability to meet people where they are at ความสามารถในการไปยืนอยู่จุดที่เค้ายืนอยู่ เช่น การให้โอกาสคนอื่นทำในแบบของเค้า มากกว่าจะลากมาทำในแบบของเรา เช่น การโค้ชให้ทีมหาคำตอบเอง หรือปล่อยให้ทีมได้พูด แบ่งปันมุมมองก่อนที่โค้ชจะให้ความเห็นของตัวเอง
  4. Listen with the intent to understand ฟังด้วยความตั้งใจที่จะเข้าใจ
    Stephen R. Covey ผู้เขียนหนังสือ ‘The 7 Habits of Highly Effective People’ กล่าวว่า ‘คนส่วนมากไม่ได้ฟังด้วยเจตนาที่จะเข้าใจ แต่ฟังด้วยเจตนาที่จะตอบกลับ’ คนที่ฟังด้วยเจตนาที่จะตอบกลับนั้นไม่ได้ฟังจริง ๆ แต่พวกเขารอที่จะพูด อาจจะกำลังคิดหาคำตอบเพื่อตอบสนองเพียงบางส่วนของข้อความทั้งหมดที่อีกฝ่ายพูด ส่วนคนที่ฟังด้วยเจตนาที่จะเข้าใจนั้นจะรับทั้งหมดทุกสิ่งที่อีกฝ่ายได้กล่าวออกมา แล้วตอบสนองไปถึงสิ่งนั้นโดยตรง

ATTACHMENT THEORY

ทฤษฎีการผูกติด โดย John Bowlby ถูกนำมาเล่าในบริบทของที่ทำงานโดยผู้เขียนโดยกล่าวถึงแนวความคิดดังนี้

  • Attachment figure ทำหน้าที่เป็นร่มไม้ชายคา เป็นที่พักใจให้ได้ในยามที่ต้องการ เป็นรากฐานของความรู้สึกปลอดภัย (secure base) ในพื้นที่ปลอดภัย และเป็นผู้ที่จะสร้างความรู้สึกกังวลต่อการแยกจาก (separation distress) ถ้าเรารู้ว่าเค้าจะไม่อยู่
    ในโลกการทำงาน คน ๆ นี้ อาจจะอยู่ในร่างของหัวหน้าที่เราสามารถเข้าถึงได้, เพื่อนร่วมงานที่สนิท, พี่เลี้ยง (mentor) หรือ เพื่อนร่วมงานที่เราไว้วางใจ
  • Secure base คือสิ่งแวดล้อมที่โอบอุ้ม เป็นสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน เลี้ยงดู (nurturing) จนเกิดเป็นความรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย
    ในที่ทำงาน secure base อาจมาในรูปแบบของทีมที่คุณรู้สึกว่า คุณได้รับการเห็นคุณค่า (appreciated) ถูกเข้าใจ ใส่ใจ และ ให้สิทธิ์ในการทำสิ่งต่าง ๆ (enabled)

    “When we don’t have a secure base, we will go to extraordinary lengths to find one, and yes, sometimes that means leaving a salaried job without another one to go to.”
    เมื่อเราไม่มีฐานที่มั่นที่ปลอดภัย เราจะไปได้สุดทางเพื่อหามัน และบางครั้งมันหมายถึงการออกจากงานที่ได้เงินโดยที่ยังไม่มีที่ใหม่ให้ไป
  • Separation anxiety ความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อมีโอกาสที่จะถูกแยกจาก attachment figure เช่น เพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจลาออก, หัวหน้าใหม่, ย้ายทีม, จัดผังที่นั่งใหม่ และ การปรับโครงสร้าง (restructures)

PSYCHOLOGICAL SAFETY

“Psychological safety is a condition in which you feel included, safe to learn, safe to contribute, and safe to challenge the status quo–all without fear of being embarrassed, marginalized, or punished in some way.” TIMOTHY R. CLARK จากบทความ The Four Stages of Psychological Safety

ความปลอดภัยทางจิตใจ คือ สถานะที่คุณรู้สึกถูกรวมเข้าไป ปลอดภัยที่จะเรียนรู้ ปลอดภัยที่จะแบ่งปัน และปลอดภัยที่จะท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ โดยไม่กลัวว่าจะถูกทำให้ขายหน้า ถูกเบียดบังออกไป หรือถูกลงโทษในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ระดับตามนี้

  • Inclusion safety เกิดขึ้นเมื่อ ‘คนนอก’ รู้สึกว่าเป็น ‘คนใน’ ได้รับการต้อนรับให้เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • Learner safety เกิดขึ้นเมื่อเราสามารถถามคำถาม ทดลอง ทำพลาดและเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ โดยไม่ถูกทำให้รู้สึกด้อยค่า เย้ยหยัน หรือดุด่า จากหัวหน้า รองหัวหน้า หรือคนในทีม
  • Contributor safety เกิดขึ้นเมื่อเราทำได้ดีในการแสดงออกความสามารถ ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมทีม ได้ใบเขียวในการตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเอง (autonomy) และได้เห็นท่าทีของผู้นำทีมว่าไว้วางใจและเชื่อมั่นในตัวเรา
  • Challenger safety เกิดขึ้นเมื่อเราได้รับระดับความให้เกียรติซึ่งกันและกัน (respect) และการได้รับอนุญาต (permission) ในระดับสูงจากสมาชิกในทีมและผู้นำของทีม ซึ่งทำให้เรากล้าที่จะท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ อยากจะสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยไม่กลัวว่าจะกระทบตำแหน่งหรือชื่อเสียงของตน

เมื่อเรารู้สึกปลอดภัยในที่ทำงาน เราจะกล้าพูดสิ่งเหล่านี้

  • “ไม่รู้”
  • “ผมทำพลาด”
  • “ไม่เห็นด้วย”
  • “ฉันอาจจะผิด”
  • “เราขอโทษ”
  • “ผมมีข้อ concern”
  • “คุณพูดถูก”
  • “เรามีไอเดียมานำเสนอ”

การที่เราสามารถพูดสิ่งเหล่านี้ได้นั้นมีความสำคัญอย่างไร

  • ถ้าคุณไม่สามารถแสดงความคิดหรือไอเดียได้ ก็จะไม่เกิดสิ่งใหม่ (innovation)
  • ถ้าคุณไม่สามารถพูดว่า “ไม่รู้” ได้ ก็จะนำมาซึ่งข้อผิดพลาดราคาแพง
  • ถ้าคุณไม่สามารถพูดว่า “ฉันอาจจะผิด” ได้ ก็จะไม่สามารถเชิญคนอื่นมาร่วมบทสนทนาได้
  • ถ้าคุณไม่สามารถพูดว่า “ผมมีข้อ concern” ได้ ก็จะนำมาซึ่งการทำไปแบบผิด ๆ ซึ่งก็จะส่งผลกลับมาที่ความรู้สึกปลอดภัยของทีม

ในทางกลับกัน ถ้าคุณพูดสิ่งเหล่านั้นได้

  • ถ้าคุณสามารถแสดงความคิดหรือไอเดียได้ และสิ่งนั้นได้รับการรับฟัง คุณจะเปิดตัวเองสู่การสร้างสิ่งใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และการเปลี่ยนแปลง
  • ถ้าคุณสามารถพูดว่า “ไม่รู้” ได้ คุณกำลังทำให้ตัวเองเปิดรับการเรียนรู้และความช่วยเหลือ
  • ถ้าคุณสามารถพูดว่า “ฉันอาจจะผิด” ได้ คุณกำลังเปิดตัวเองสู่การรู้จักผิดพลาด ความเป็นมนุษย์ และช่วยหยุดการที่คุณอาจจะทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ (underperforming) ในอนาคต
  • ถ้าคุณสามารถพูดว่า “ไม่เห็นด้วย” ได้ คุณกำลังเปิดตัวเองสู่ความเป็นไปได้ที่สิ่งที่คุณกำลังจะทำมันอาจจะดีขึ้นไปอีก

TEAM COHESION

ความรู้สึกผูกพัน ต่อกันติด เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีม มักจะเป็นผลของการที่ทีมมี ความชัดเจนในเป้าหมาย ความชัดเจนในบทบาท และความชัดเจนในการตัดสินใจ

  • Goal clarity helps to establish the why, what, and how of the team
    ความชัดเจนในเป้าหมายช่วยให้ทีมรับรู้ว่า ทำไม ทีมถึงมีอยู่, ความสำเร็จของทีมวัดผลอย่างไร และ เราจะทำงานร่วมกันเพื่อไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร ซึ่งก็ย้อนกลับไปที่ why we exist as a team
  • Role clarity: collective awareness to enable resposibility หมายถึงการตระหนักรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง role ตามใบสมัครงาน แต่คือการเข้าใจว่าสมาชิกของทีมแต่ละคนมีบทบาทในการพาด้านต่าง ๆ มาสู่ทีม หรือทำไมพวกเขาถึงจำเป็นสำหรับทีม << หลาย ๆ ครั้งจะเป็นในรูปแบบของมุมมอง ทักษะ หรือการเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
  • Decision-making clarity คือความชัดเจนในการตัดสินใจว่าการตัดสินใจไหนที่สามารถทำได้เองด้วยคนคนเดียว และการตัดสินใจไหนที่ต้องทำร่วมกัน as a team

“When people belong, they feel at ease. People do their best work when they feel at ease.”
เวลาที่คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง พวกเขารู้สึกสบายใจ และคนทำงานได้ดีที่สุดเมื่อเขาสบายใจ

“When people feel like they have a place; when they feel valued for who they are and what they bring–without this, you can never have a high-performance environment.”
เมื่อคนรู้สึกว่าเขามีที่ยืน เมื่อเขารู้สึกว่าการเป็นตัวเองและสิ่งที่เขานำมาสู่ทีมนั้นถูกให้ค่า ถ้าไม่มีสิ่งนี้คุณจะไม่สามารถมีสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานได้มีประสิทธิภาพสูง

“I would define ‘belonging in the workplace’ as fitting into the team and getting a sense that I’m accepted and included in the team’s identity. I’m comfortable with the people around me and I can be myself without fear of being judged.”
ตัวอย่างการให้คำจำกัดความของ ‘การเป็นส่วนหนึ่งในที่ทำงาน’ คือ การเข้ากับทีม รับรู้ได้ว่าเป็นที่ยอมรับและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอัตลักษณ์ของทีม การรู้สึกสบายใจกับผู้คนรอบตัวและสามารถเป็นตัวเองได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน

ชื่นอ่านถึงแค่นี้ ในบทต่อไปในหนังสือจะพูดถึง diversity และ inclusion ถ้าได้อ่านเพิ่มทั้งจากหนังสือและแหล่งอื่น จะมาแชร์เพิ่มนะ

ใครได้อ่านแล้วมีความคิดเห็นยังไง ลองคุยกัน มาแชร์เพิ่มเติมได้นะ

มาช่วยกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงานกันเถอะ ที่ ๆ เรารู้สึก belong 🙂

--

--

Chuenchon
odds.team

Artist, Designer, Tester, Learner, Story teller & Global citizen