Start with Why

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
Nov 15, 2021
Photo by Nathan Jennings on Unsplash

ทำไมต้องไปโรงเรียน? ทำไมต้องไปทำงาน? เราเกิดมาทำไม? เป็นคำถามที่ผมถามตัวเองอยู่เรื่อย ๆ

คุณเคยสงสัยเหมือนผมไหมในยุคของอินเตอร์เน็ตที่ข้อมูลทุกอย่างมันเชื่อมโยงถึงกันหมดหลายหลายคนเริ่มทำของเหมือน ๆ กันทำไมแต่ละคนประสบความสำเร็จไม่เท่ากัน?

Start with why

Simon Sinek เป็นคนหนึ่งที่ช่วยให้ผมเข้าใจว่ากลไกของสมองทำงานยังไง เค้าพูดถึงเรื่อง Golden circle ซึ่งอธิบายว่าผู้นำที่คนอยากจะตาม เขาสื่อสารโดยเรียงลำดับอย่างไร

คนส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาสื่อสารว่าตัวเองทำอะไรและทำมันอย่างไร น้อยครั้งที่เราจะเจียดเวลามาอธิบายว่าทำไมเราถึงจะเลือกทำสิ่งเหล่านี้

ซึ่งการอธิบายว่าทำทำไม เป็นการสื่อสารโดยตรงกับสมองส่วนลึก ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม ส่วนที่ผลักดันให้เกิดการกระทำ ไม่ใช่ส่วนที่ใช้คิด วิเคราะห์เหตุผลเหมือนตอนสื่อสารว่าทำอะไร ทำยังไง

สิ่งนี้ถูกย้ำเตือนอีกครั้งตอนได้รู้จักกับ Scrum ที่ product owner จะมาเล่าว่าในอนาคตอันใกล้จะให้ทีมทำงานอะไร แล้วทำไมถึงให้ทำสิ่งเหล่านั้นใน sprint pallning part 1 ก่อน หลังจากนั้นทีมค่อยมาหาวิธีว่าจะทำงานอย่างไรใน Sprint planning part 2

สิ่งหนึ่งที่ผมใช้แบ่งแยกระหว่าง product owner ทั่ว ๆ ไป กับ product owner ที่ยอดเยี่ยมคือ การไม่ลืมเล่าว่าทำทำไมนี่แหละ

เพราะผมคิดว่า product owner ที่ไม่ลืมเล่าว่าทำทำไม เค้ารู้ว่าทำไมต้องเล่าว่าทำทำไม 5555

เพราะเค้ารู้ว่าทีมที่หยิบของไปเต็มสปรินท์ มีโอกาสสูงมากที่พอเจอจังหวะที่ท้อ จังหวะที่เหนื่อยมาก ๆ แล้วก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่าทนทำไปทำไมนะ?

และทีมที่ตอบได้เพราะสาเหตุที่เค้าต้องทุ่มเทมันชัด มีโอกาสสูงกว่าที่จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน sprint goal ตั้งแต่ต้นสปรินท์

ซึ่งการลงทุนจ่ายแรงอีกนิด จ่ายเวลาอีกหน่อยเล่าว่าทำทำไม เพื่อให้โอกาสที่ สปรินท์นั้นจะสำเร็จนั้นสูงขึ้นอีกนิด เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

และผมคิดว่า product owner ที่มองเห็นความคุ้มค่านั้นคือ product owner ที่เข้าสกรัมลึกซึ้ง เป็น product owner ที่ยอดเยี่ยม

References

--

--