Super Solar Enlightenment ของแอร์หมี

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
2 min readMar 4, 2020
photo from https://www.pxfuel.com/en/free-photo-qengh

วันนี้แอร์หมีโทรมาบอกว่ามีเรื่องจะปรึกษา แอร์ถามว่าในฐานะ Scrum master ที่ต้อง facilitate sprint retrospective ถ้าเราสังเกตเห็นว่าระหว่าง sprint สมาชิกในมีกระทบกระทั่งกัน เราควรควักแผลออกมาล้างน้ำเกลือไหม? ส่วนตัวแอร์เชื่อว่าการเยียวยาดีกว่าการปล่อยให้มันผ่านไปแล้วทีมก็ต้องอยู่กับความกลมเกลียวแบบปลอม ๆ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่สมาชิกทุกคนที่อยากจะเลือกที่จะเปิดตรงที่เปราะบางออกมา

Create connection

จั๊วะเปิดด้วยการบอกแอร์ว่า ฟังคำถามแล้ว ภาพโพสต์ Facebook ของแอร์ลอยขึ้นมาในหัวเลย

หลังจากนั้นผมก็แชร์สิ่งที่สั่นพ้อง ผมเล่าถึงจุดกำเนิดของการทำ family therapy ของ Virginia Satir มาจากการที่ Satir ทำจิตบำบัดให้คนหนึ่งซึ่งเค้าป่วยทางจิตเยอะมากจนกระทั่งถูกขับไล่ออกจากครอบครัว พอ Satir รักษาเค้าหาย แล้วเค้าย้ายกลับไปอยู่กับครอบครัวแล้ว เค้าก็กลับมาป่วยเหมือนเดิม พอเค้ากลับมารักษากับ Stair อีก Satir ก็เลยชวนทั้งครอบครัวมาทำงานร่วมกัน กลายเป็นกระบวนการชื่อ family therapy และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการทำ system thinking หรือ organizational coaching ในเวลาถัดมา

ถ้าปัญหาอยู่ที่ระบบ จะเปลี่ยนใครไปอยู่ตรงนั้นซักกี่คน เราก็จะมีปัญหาเดิม

Communicate difference

นอกจากจั๊วะจะแชร์ส่วนที่เห็นพ้องแล้ว จั๊วะก็เสนอมุมมองที่แตกต่างด้วย ถามแอร์ว่าแอร์อยากฟังไหม แอร์ตอบว่า

ยินดีเลยค่ะ

จั๊วะก็เล่าถึงตอนที่ไปกินข้าวกับทีม แล้วได้ยินเค้ากำลังนินทาอีกคนที่ไม่ได้มาอย่างออกรส ในบทบาท Scrum master ที่รับผิดชอบว่าทีมเค้าเข้ากันได้ดีไหม เห็นแบบนั้นก็อดกังวลไม่ได้ สิ่งที่จั๊วะทำในขณะนั้นก็คือ ถามคำถาม เพื่อจะเข้าใจทีมว่า ที่เค้ากำลังบ่น ๆ อยู่ด้วยกันนี่ ความต้องการอะไรที่มันไม่ได้รับการตอบสนอง ถ้าพวกเค้าหาเจอได้ ความปั่นป่วนมันก็จะจบกระบวนการไป แล้วไอเดียใหม่ ๆ ที่จะปรับปรุงสถานการณ์ในทีมให้ดียิ่งขึ้นมักจะผุดขึ้นมาแทน แต่ถ้าเค้าไปไม่ถึงตรงนั้น ทั้งบทสนทนานั้นจะกลายเป็นแค่การนินทา

ในฐานะ facilitator ของ retrospective ผมชั่งใจทุกครั้งที่ผมจะเลือก format ที่ทำให้ความขัดแย้งมันผุดขึ้นมา ว่าผมจะพาพวกเค้าไปถึงจุดที่ความขัดแย้งมันถูกคลี่คลายได้ไหม เพราะถ้าทำไม่ได้ ผมก็จะแค่เชื้อเชิญให้ทีมมานินทากัน กลายเป็นว่าผมอาจจะมีส่วนทำร้ายความสัมพันธ์ของทีมก็ได้

ถึงตรงนี้แอร์ก็เสริมว่า ถ้าเราไม่มั่นใจว่าเราจะเอาอยู่ เราก็อาจจะเลือกคุยกับกลุ่มเล็ก หรืออาจจะคุย one-on-one นอก retrospective ใช่ไหมคะ?

มิติที่ 3

หลังจากที่เล่าทั้งด้านเห็นด้วยและเห็นต่างแล้ว ผมก็เสริมอีกมิติของเครื่องมือต่าง ๆ เช่นถ้าผมจะเลือกคุยเป็นกลุ่มเล็ก หรือ one-on-one ผมมักใช้โอกาสนั้นในการแบ่งปันเรื่องการสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์ หรือเรื่องการจัดการความขัดแย้ง เพื่อให้เค้ามีทักษะเพื่อใช้ในการดูแลความสัมพันธ์ภายในทีมด้วย ซึ่งผมพบว่าพอสมาชิกในทีมมีทักษะเหล่านี้ติดตัว มันก็เพิ่มความมั่นใจที่ผมจะเผยความขัดแย้งใน retrospective ได้มากขึ้นมาก เมื่อเทียบกับทีมที่สมาชิกยังไม่รู้จักทักษะเหล่านี้

เก็บเกี่ยวการเรียนรู้

ถึงตรงนี้ผมถามแอร์ว่าที่คุยกันมาได้อะไรบ้าง แอร์สรุปว่าได้ตอบของคำถามที่ค้างคาใจมานาน และแอร์ก็ตั้งชื่อบทสนทนานี้ว่า Super solar enlightenment

ของแถม

จริง ๆ พอฟังคำถามเสร็จ ผมมีคำทั้งส่วนเห็นด้วย ส่วนที่เห็นต่าง ทั้งภาพ post ของแอร์ใน Facebook ผุดขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ลำดับของคำตอบผมนั้น ได้แรงบันดาลใจมาจาก Tribeless Empathy box เค้าบอกให้ใช้การ์ดทางซ้าย (show some Love) ก่อนการ์ดทางขวา (offer alternate Perspective)

photo by: Chokchai Phatharamalai

Credits

  • Chanita Air Anuwong ที่ทำให้เกิดบทสนทนาจนกลายเป็นบทความนี้
  • Esther Derby ที่เล่าจุดกำเนิดของ family therapy ให้ฟัง

--

--