UX ที่ต้องเข้าใจเรื่อง Muscle memory

Sd Milky
odds.team
Published in
2 min readMay 14, 2024

จากบทความ UX IN GAME (Part 1): UX TH Conference 2024 | Go global with the flow (Online) ที่เคยได้เขียนไป โดยเจ้าของ Session UX IN GAME ได้พูดถึงคำว่า Muscle memory ทำให้เกิดความสนใจ และอยากรู้ความหมายของคำๆนี้ขึ้นมา

เนื่องจากในงานของ UX บางครั้งก็ต้องพึ่งพาความรู้ด้านนี้ เพื่อทำให้เข้าใจผู้ใช้ และออกแบบระบบ หรือ Application ได้ดีขึ้น จากข้อมูลที่ไปศึกษามาพอที่จะนำมาสรุปเป็นบทความสั้นๆ ตามความเข้าใจของตัวเองดังนี้ค่ะ

สมองคนเราไม่สามารถจดจำข้อมูลบางอย่างได้ตลอด เช่น หมายเลขสมาชิกต่างๆ หรือหามือถือไม่เจอทั้งๆที่ถือไว้ในมือ แต่เราอาจจะจำวิธีการโยนโบว์ลิ่งได้อยู่ถึงจะไม่ได้เล่นมาเป็นเวลานาน

น้องบุญยิ่ง

ความสามารถของร่างกายจดจำสิ่งที่เคยทำได้ซึ่งเรียกว่า ความจำของกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อคนเราไม่ได้จดจำ แต่ทำหน้าที่หดตัวและคลายตัวออก เท่านั้น สมองของคนเราต่างหากที่เก็บทักษะของการใช้กล้ามเนื้อเอาไว้ โดยกล้ามเนื้อจะรับคำสั่ง และถูกควบคุมจากสมองส่วนหน้า (cerebral cortex) บริเวณ Motor area และจากสมองส่วนอื่นๆ อีกหลายส่วนเพื่อให้กล้ามเนื้อของคนเราสามารถทำงานได้อย่างปราณีต และอัตโนมัติ

ส่วนประกอบของสมองมนุษย์

Epigenetic Memory คือ ความจำลักษณะนี้จะเก็บอยู่ในกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ต้องผ่านการฝึกความแข็งแรง หรือการทำซ้ำๆมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ดีเอ็นเอของกล้ามเนื้อสร้างกล้ามเนื้อเส้นใหม่ขึ้นมาตอบสนองกับสิ่งที่คนเราทำ โดยจะพัฒนาให้พร้อมสำหรับสิ่งที่ร่างกายจะเจอในอนาคต

Heather A. Milton, MS, RCEP, CSCS (นักสรีรวิทยาการออกกำลังกายทางคลินิกวิชาชีพและหัวหน้างานที่ศูนย์ NYU Langone Health Sports Performance Center)

นักวิจัย Heather Milton, CSCS ค้นพบว่ามีความจำของกล้ามเนื้อบางอย่าง ที่เก็บอยู่ในกล้ามเนื้อของคนเราโดยตรง เรียกว่าความจำแบบอีพิเจเนติกส์ (Epigenetic Memory)

Muscle memory มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อนำมาปรับใช้กับงาน UX ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าเราออกแบบระบบ หรือ Application โดยคำนึงถึงการสร้าง Experience ที่ดี เช่น สามารถใช้ง่ายจนอยากกลับมาใช้บ่อยๆ หรือ ทำยังไงให้ผู้ใช้จดจำวิธีการใช้งานได้อยู่ถึงแม้จะไม่ได้ใช้มานาน

ขอบคุณสำหรับการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคะ

--

--