เล่าสู่กันฟัง NVC (Nonviolence Communication) การสื่อสารเพื่อ(สันติ) สานสัมพันธ์ ตอนที่ 1: การสังเกต ไม่ใช่การตีความ (การสื่อสารแบบ Empathy)

Dark_Spirit (Warm)
odds.team
Published in
2 min readFeb 1, 2020
Photo by Etienne Boulanger on Unsplash

การสื่อสารมีองค์ประกอบอยู่ไม่กี่อย่างครับ

  1. ผู้ส่งสาร
  2. ผู้รับสาร
  3. สาร
  4. เจตนาที่ต้องการสื่อสาร

ซึ่งถ้าการส่งสารที่ต้องการสื่อสารเป็นไปอย่างภาพฝัน แปลว่าผู้ส่งสารจะสามารถส่งสารไปได้ครบถ้วนซึ่งรวมถึงส่งสารไปพร้อมเจตนาที่แท้จริงไปได้ถึงผู้รับสารแบบครบ 100%

แต่ในความเป็นจริงมันไม่มีทางเป็นเช่นนั้น เพราะเรามันมองเห็นกันที่พฤติกรรม โลกมโนที่เราเห็นด้วยตา ตัดสินจากมุมมองของเราเอง เห็นแค่โลกภายนอกแค่ภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น แต่จริงๆแล้วมันมีสิ่งที่อยู่ภายในภูเขาน้ำแข็ง ในโลกภายในอีกมากมาย

แนวคิด NVC มีรากฐานมาจากทฤษฎีจิตวิทยาของ มาร์แชล โรเซนเบิร์ก นักจิตวิทยาสายมนุษยนิยม เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน เราไม่ได้เป็นคนเลวร้ายหรืออยากจะทำความรุนแรงต่อคนอื่นมาตั้งแต่เกิด แต่ความรุนแรงที่เห็นกันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาภายหลัง เพราะมันแอบสั่งสมอยู่ในวัฒนธรรม และเราทุกคนก็ค่อยๆ ซึมซับเข้ามา จนกระทั่งนำมาสู่การกระทำรุนแรงใส่กัน จนบางทีอาจจะไม่เจตนา หรือไม่ทันฉุกคิดเลยด้วยซ้ำ

โดยพื้นฐานแล้ว

  • มนุษย์ทุกคนมีความกรุณาเป็นพื้นฐาน
  • เบื้องหลังการกระทำของมนุษย์เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง
  • ใส่ใจให้คุณค่ากับความต้องการของทุกฝ่าย
  • ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และความเข้าใจ…ก่อนการแก้ปัญหา

งั้นการสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์ก็อิงการ Empathy นั่นแหละ

เมื่อเราฝึกทักษะให้ดีแล้ว ใช้ประกอบกับฐานใจ เราก็จะสามารถ “สื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์” ได้

องค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์ (ทักษะ)

***โปรดคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา***

***สำหรับตอนนี้จะขอพูดถึง องค์ประกอบแรกก่อนนะครับ

การสังเกต ไม่ใช่การตีความ

ถ้าเราจะสื่อสารแบบสานสัมพันธ์ได้เราต้อง Empathy ให้ได้ การ Empathy คือการพยายามเข้าใจเค้าในมุมมองของเค้า ไม่ใช่การตัดสินด้วยมุมมองของเราและการแยกการสังเกตออกจากการตีความ เป็นขั้นแรกที่เราจะฝึก แยกความคิดเห็นของเรา ความมโน ความรู้สึกของเรา ออกมาจากสิ่งที่เราเห็นหรือสังเกต การพูดแบบใข้ข้อสังเกตจะทำให้ผู้รับสารเปิดประตูใจพร้อมรับฟังอย่างเข้าใจ

แล้วจะรู้ได้ไงว่าอันไหนคือ “สังเกต” อันไหนคือ “ตัดสิน”

สังเกตุ

  • การพูดถึงเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ตรงไปตรงมา
  • ไม่เพิ่มความคิดเห็นของเรา การตัดสินของเราใส่เข้าไป
  • ใช้ PLATO ช่วยเสริมการสังเกตของเรา คือการระบุ คน สถานที่ การกระทำ เวลา สิ่งของ เพื่อให้มีความชัดเจนเจาะจง

ถ้าเรามองแบบใช้มุมมองของเราตัดสิน หรือการตีความ เราอาจจะตีความผิดไปจากความเป็นจริงก็ได้ แล้วลองคิดดูว่าเรากำลังจะสื่อสารกับใครสักคนด้วยการตีความของเรา เราอาจจะส่งสารที่ผิดทาง ผิดความหมายไปก็ได้

ตัวอย่างการสื่อสาร

สรุปว่าการพูดแบบให้ข้อสังเกตุจะเป็นดังนี้

  • พูดให้เห็นภาพชัด ไม่โอเคตรงจุดไหน ไม่เรียบร้อยตรงไหน
  • คนฟัง ฟังแล้ว หัวใจ “เปิด” ไม่ใช่หัวใจ “ปิด”
  • เน้นใช้ “I” Message
  • ให้ข้อมูลในการตัดสินใจ
  • ไม่ตีความเอาเอง

นี่แค่เรื่องแรกนะ เดี๋ยวตอนต่อไปจะมาพูดในเรื่อง ความรู้สึก กับ ความคิด แล้วเราจะเห็นว่า เฮ้ยยยย มันต่างกันนะ แล้วเมื่อก่อนเราใช้สองสิ่งนี้ปนกันมาตลอด

ติดตามตอนต่อไปนะครับ ❤️

--

--

Dark_Spirit (Warm)
odds.team

From ITSupport to PM jump into Agile world as a SM. The Agile Coach who passionate on Product development, Agile , Transformation ,UX, Service design.