รีวิว Maker Space คานาซาวะ, ญี่ปุ่น (ตอนที่ 4)

Apirak Sang-ngenchai
oirrmutl
Published in
3 min readJan 25, 2018

ชั้นนั่งทำงานพิเศษ และสนามทดลอง

ฮาโหลววววว ยังรอชมกันอยู่ไหม ตอนนี้เรามาถึงชั้นสุดท้ายของการรีวิว Maker Space ที่มีชื่อว่า ยุเมะ โคโบะ (Yume kobo) กันแล้วนะจ๊ะ

โดยรวมแล้วชั้น 2 กับชั้น 3 ก็ไม่แตกต่างอะไรกันมาก เพียงแต่ว่าชั้น 3 นี้ ที่สนามทดลองมีกิจกรรมลับซ่อนอยู่ ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยที่ใดมาก่อน ฉนั้นแล้ว ในบทความของผมนี้ถือเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงที่ไม่สามารถเปิดเผยได้เช่นกัน 555

แต่ชั่งเหอะ เอาเป็นว่าจะพาทัวร์เท่าที่สามารถพาไปชมได้นะจ๊ะ และจะพาไปดูร้านขายอุปกรณ์ที่ตั้งอยู่ภายในยุเมะ โคโบะอีกด้วย ไปชมกันโล้ยยยย

เลานจ์ (Lounge)
สำหรับชั้นนี้ ไม่มีตู้ขายเครื่องดื่มครับ หากต้องการซื้อต้องเดินลงไปชั้น 2 ในส่วนของเลานจ์นั้น เป็นโต๊ะยาว ๆ กว้าง ๆ เอาไว้ทำกิจกรรมกัน และแอบมีมุมนั่งชิวสำหรับนั่งดูวิวโดยรอบของยุเมะ โคโบะอีกด้วย

วิวข้างนอกสวยมว๊ากกก

ห้องประชุม (Meeting Room)
ห้องประชุมในชั้น 3 นี้ลักษณะจะคล้ายกับว่าเป็นห้องเรียนซะมากกว่า ภายในมีกระดานไวท์บอร์ด และโต๊ะทำมาจากไม้ ทนไม้ทนมือดีจริง ๆ ส่วนหลังห้องมีเครื่องมือสำหรับงานตะไบ และเจาะอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าห้องนี้น่าจะมีสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องใช้คนกลุ่มใหญ่ หรืองานชิ้นใหญ่ซ่อนอยู่เป็นแน่

จะตัด จะลับ จะตะไบก็สามารถทำได้ในห้องนี้

พื้นที่นั่งทำงาน (Project Booth)
ด้านหน้าห้องประชุมชั้น 3 นั้น จะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานไม่มากนัก เมื่อเทียบกับชั้น 2 เพราะพื้นที่อยู่แบ่งไว้สำหรับสนามทดสอบขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านในนั่นเอง

เด็กปี 1 กำลังทำแลบควบคุมมอเตอร์กันอยู่
ห้องเก็บวัสดุประจำชั้น 3 ของยุเมะ โคโบะ

สนามทดสอบ (Running Test)
จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่าด้านหลังมีห้องขนาดใหญ่ ซึ่งภายในมีสนามซ้อมหุ่นยนต์อยู่ ซึ่งภายในสนามนั้นเต็มไปด้วยจานร่อน ลูกบอล และห่วงไซต์ต่าง ๆ มากมาย โดยมีหุ่นยนต์กำลังทำภารกิจโยนจานร่อนลอดห่วง จากที่กล่าวมาหลายคนที่อยู่ในวงการคงจะทราบแล้วว่ามันก็คือการแข่งขัน ABU robocon 2018 นั่นเอง
หากใครยังไม่รู้จัก ลงชมคลิปนี้ครับ คลิ๊กเลย

ผลงานหุ่นยนต์ที่ส่งเข้าแข่งขัน ABU Robocon
ซากอารยธรรม

ซึ่งแน่นอนว่า ผมไม่สามารถถ่ายภาพหุ่นยนต์เพื่อเขียนบทความได้ เนื่องจากเป็นความลับเฉพาะของผู้เข้าแข่งขันทีมนั้น ๆ ตัวผมเองได้แต่แอบมองหุ่นยนต์อยู่ห่าง ๆ แม้จะอยากจะเข้าไปถามรายละเอียดแต่ก็ทำไม่ได้ (T^T)

พี่แกมองตาขวางแล้ว ผมรีบไปก่อนดีกว่า

ในส่วนของชั้น 3 ก็เป็นอันจบการนำเสนอแต่เพียงเท่านั้นครัช จากบทความหลาย ๆ ตอนที่พาไปทัวร์มา หลายท่านคงอิจฉานักเรียน นักศึกษาของมหาลัยนี้แล้วใช่ไหมละครับ (รวมผมด้วย) ก่อนจะจากกันไป เดี๋ยวจะพาไปชมร้านขายอุปกรณ์ที่ชั้น 1 กันครับ

ร้านขายอุปกรณ์ (Shop)
จะเรียกว่าร้านก็ไม่ใช่ สหกรณ์ก็ไม่เชิง เหมือนเป็นคลังสต๊อกสินค้าขนาดใหญ่ ที่สามารถหยิบวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ออกไปใช้ได้ หรือวัสดุที่สิ้นเปลือง ก็จะต้องจ่ายตัง เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปซื้อของใหม่เข้ามาครับ

เครื่องมือต่าง ๆ ก็มีให้เลือกใช้งานอย่างหลอกหลาย สามารถเขียนชื่อ และบันทึกการยืมได้เล้ยยย สะดวก สบายผุด ๆ

ก่อนจากกันไป ขอรีวิวอีกอย่างนึงคือ ห้องน้ำ ครับ ญี่ปุ่นนี่มัน ญี้ปู้น ญี่ปุ่น ทุกอย่างล้วนอัตโนมัติไปซะหมด แถมยังสะอาดขนาดเอาหมอนไปนอนได้สบาย ๆ เลย 555

เย้…..เสร็จซักทีสำหรับการรีวิวยุเมะ โคโบะ (Yume kobo) เมกเกอร์สเปซ (Maker Space) ของมหาวิทยาลัย KIT ณ คานาซาวะ ประเทศเจแปนนนน ขอขอบพระคุณท่านที่ทนอ่านตั้งแต่ตอนแรก มาจนถึงตอนสุดท้ายนี้ หากเขียนข้อมูลผิดพลาดตรงไหน สามารถชี้แนะมาเพื่อปรับปรุงได้เลยครับผม หวังว่าบทความนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ เมกเกอร์ทุกคนนะครับ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ (^/\^)

--

--

Apirak Sang-ngenchai
oirrmutl

Sometime, We need to take a step away from certain things to reclaim your own self .