1. ค้นหางานที่ใช่กับตัวเอง
    ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานทำครั้งแรก หรือแม้แต่คนที่ทำงานไปแล้วก็อาจจะมีช่วงเวลาที่รู้สึกที่สับสนและไม่แน่ใจว่าตนจะสมัครงานในบริษัทใด? บางคนอาจให้ความสำคัญกับเงินเดือนหรือสวัสดิการที่ได้รับ บางคนอาจมองว่าประสบการณ์ที่ได้รับมีค่ามากกว่า การค้นหาตัวเองว่าต้องการงานในรูปแบบใด รวมไปถึงเข้าใจตนเองว่ามีความสนใจ ความถนัดในด้านใดบ้างนั้น จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกงานต่อไปของเราได้ดีขึ้น

2. เรื่องในที่ทำงาน
การไปทำงานในแต่ละวันอาจทำให้เราต้องเจอเรื่องปวดหัวจากงานที่ได้รับ เพื่อนร่วมงาน หรืออะไรต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้มากมายในที่ทำงาน จนบางครั้งมากเกินรับไหวก็นำมาสู่ความเครียดตามมาได้ การปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เรามีเทคนิควิธีใหม่ๆใช้รับมือกับความเครียดอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการจัดการตนเองเมื่อมีเรื่องเข้ามารบกวนใจได้

3.แบ่งเวลาชีวิตกับการทำงาน
แม้ว่าชีวิตการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคน แต่แน่นอนว่าเราต่างมีสิ่งอื่นๆในชีวิตที่มีความหมายไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อน ครอบครัว คนสำคัญ หรือแม้แต่ตัวเราเอง การที่ต้องเลือกแบ่งเวลาที่มีอยู่จำกัดให้เกิดความสมดุลก็สร้าง
ความปวดหัวให้เราได้ เพราะบางครั้งเราอาจให้ความสำคัญกับการทำงานมากเกินไปจนละเลยคนรอบข้าง หรือลืมใส่ใจที่จะดูแลสุขภาพใจของตัวเองก็เป็นได้

4.วางแผนสำหรับการเกษียณ
เมื่อใกล้ถึงช่วงปลายของชีวิตการทำงานนั้น อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกกังวลกับหลายๆอย่างหลังจากที่จะต้องออกจากงานที่เคยทำเป็นประจำ บางคนอาจมองหา
กิจกรรมใหม่ ๆ ในชีวิต ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรืออาจจะยังอยากหางานอิสระทำต่อไปอีกก็ได้ การปรับตัวกับรูปแบบชีวิตใหม่นี้อาจต้องมีการคิดวางแผนทั้งเวลาและการเงินล่วงหน้าด้วย

--

--