หลังเวที International Friend of Peace Day

Poom Dantas Rattanasuwannakul
GLOBISH WORKSPACE
Published in
3 min readOct 18, 2022

“เรามานั่งคุยกันว่าตอนเราเป็นนักเรียนเราเจออะไรกันบ้าง ประเทศไทยมีความรุนแรงหลายแบบที่โรงเรียน เช่น เด็กพกปืนไปโรงเรียน ครูทําร้ายนักเรียน นักเรียนทำร้ายกันเอง ครูไม่เข้าใจนักเรียน การ Bully ที่แรงไปจนถึงการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ หรือปัญหานักเรียนกับครอบครัว แล้วเมื่อไรปัญหาเหล่านี้จะจบ เราทำอะไรไม่ได้เลยจริง ๆ หรอ”

กวาง (ถิรพุทธิ์ ทิพยรัตน์) เพื่อนฝ่าย Business to School ของ Globish เล่าถึงที่มาของงาน International Friend of Peace Day ที่ได้รับความสนใจจากเยาวชน โรงเรียน และสื่อมวลชนมากมาย ได้มีการ Final Pitch ไปเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 โดยงานนี้ได้รับความสนใจจาก 81 โรงเรียนทั่วประเทศไทย และผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1600 คนทั่วประเทศ วันนี้เราจะมาฟังในมุมมองของพนักงานคนหนึ่งที่มีความฝันอยากเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดงาน และเขาได้อะไรจากการจัดงานในครั้งนี้บ้าง

International Friend of Peace Day คืออะไร?

“คืองานที่เราจัดขึ้นมาเพื่ออยาก Raise Awareness ด้านการหยุดความรุนแรงในโรงเรียน โดยผ่านการ Take Action ของ Leader รุ่นใหม่จริง ๆ ผ่านแค่น้อง ๆ นักเรียน โดยการคัดเลือกรอบแรกจะมี 2 ส่วน ส่วนแรกก็คือเป็น Assessment ของเรา คือน้องจะต้องเขียน Essay มาว่ามีประสบการณ์เกี่ยวกับการ Bully หรือถูก Bully ยังไงบ้าง จากทั้งในโรงเรียน หรือ ครอบครัว

จากนั้นเราจะคัดเลือกเหลือนักเรียน 300 คน ซึ่ง 300 คนนี้ก็จะมีการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์มี Workshop 4 weeks โดยเอา Case study ต่าง ๆ จากหลากหลายประเทศรวมถึงในประเทศไทยด้วยคนที่มีประสบการณ์ในการสอน เราจะคัดเลือกโดยให้น้องอัด Video เข้ามาว่าทำไมน้องถึงเหมาะแก่การเป็น “Peace Leader” รุ่นแรก

สาเหตุที่เราเรียกว่าเป็น “Peace Leader” เพราะว่าเราต้องการให้เด็ก ม.ต้น เขาเป็นตัวแทนนักเรียนจริง ๆ ที่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการลดความรุนแรงในโรงเรียนได้ เช่น ทำโปรเจคอะไรขึ้นมา เพื่อสร้าง Awareness ให้คนเลิก Bully กัน หรือว่าแม้กระทั่งสมมุติว่าเพื่อนของเขาเจอปัญหาความรุนแรงจากครู นักเรียน จากเพื่อน จากที่บ้านมา เขาจะช่วยเหลือเพื่อนเขายังไงได้บ้าง เราเรียกเค้าเหล่านี้ว่า Peace Leader รุ่นแรกในประเทศไทย นักเรียน 30 คนจาก 17 โรงเรียน ที่ผ่านเข้ามานี้ก็จะมาเข้าค่าย โดยเราต้องการให้เด็กเอาความรู้ที่ได้จาก Case study รอบโลกนำมาปรับใช้กับระดับ Local เราจะแก้ไขปัญหาใกล้ตัว เอามา Pitch แข่งกันในวันที่ 21 ซึ่งตรงกับวัน International Peace Day ”

ผลตอบรับหลังการจัดงานเป็นยังไงบ้าง?

“ต้องพูดว่าดีมาก ๆ เลย ขอแบ่งเป็น 2 ด้าน คือด้าน Impact ที่เราให้ต่อประเทศ และด้านความเปลี่ยนแปลงของทีมงาน

ด้าน Impact ต่อประเทศ คือด้วยตัวงานถ้ามองแบบผ่าน ๆ อาจจะคิดว่ามีแค่เด็กที่เข้าร่วม แต่ในความเป็นจริงคือเรามีครู ผู้ปกครอง และสื่อมวลชนอีกจำนวนหนึ่งที่พวกเขาเข้ามาอยู่กับเราตั้งแต่วันแรก ๆ ได้เข้ามาฟังน้อง ๆ Pitch Idea เพราะฉะนั้นถึงจะเป็นครั้งแรก ปีแรกที่พวกเราจัดแต่เราเชื่อว่า ต่อให้มีแค่คนเดียวที่เข้าใจสิ่งที่เรากำลังจะสื่อ และเขาออกไปสร้าง Awareness และส่งต่อ Message นี้ให้คนอื่น ๆ ต่อไปได้ เราว่ามันก็ดีมาก ๆ แล้วอย่างที่บอกไปงานนี้ไม่ใช่มีแค่คนเดียว เรามี Stakeholders มากมาย เราเลยมั่นใจว่า Message ของเราถูกสื่อออกไปไม่มากก็น้อยแน่นอน การ Bully หรือการถูกลิดรอนสิทธิไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย และวันนี้เราเชื่อว่ามีคนเข้าใจ Message นี้มากขึ้น

ในแง่ความเปลี่ยนแปลงของทีม คือคนใน Globish เราค่อนข้างอิน และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยอยู่แล้ว พอเราได้พาทีมมาทำอะไรแบบนี้ มันทำให้พวกเขาเห็นและเชื่อมากขึ้นว่าพวกเราไม่ใช่แค่พูด เราลงมือทำจริง ๆ พวกเราไม่ใช่แค่เป็นคณะจัดงานที่เตรียมสถานที่ เราเตรียมทุกอย่าง นั่งคุยกันจนดึกว่าอยากให้น้อง ๆ ได้อะไร สิ่งที่เราเตรียมมา มันดีพอไหม คุณภาพหรือยัง พอจบงานพวกเราน้ำตาคลอกัน ที่ดีใจที่สุดคือมีคนหนึ่งในทีมมาบอกเราว่า เขาไม่เคยตอบได้เลยว่าเค้าทำงานเพราะอะไร เขาทำงานเพราะต้องทำงาน แต่วันนี้เขามีความสุขมาก เขาตอบได้แล้วว่าเขาทำงานทำไม เขาทำเพื่อใคร เราดีใจมาก ๆ ที่ไม่ใช่แค่สังคมภายนอกที่ได้รับ Message เรา แต่ภายในทีมเราเองก็เปลี่ยนไปเพราะงานนี้เหมือนกัน นอกจากทีม Globish ที่สนับสนุนพวกเราตลอดแล้ว เราอยากขอบคุณ AIESEC in Thailand ที่เป็น Partner ที่น่ารักและสนับสนุนกันเป็นอย่างดี ถ้าไม่มี AIESEC พวกเราคงทำไม่ได้เหมือนกัน ขอบคุณมากเลย”

มีอะไรอยากฝากทิ้งท้ายไหม

“ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร แต่เรามีความสุขมากนะตอนเห็นเด็กยิ้ม เห็นเด็กออกมาแล้วมีความสุข เพื่อนภูมิใจในตัวเพื่อน ผู้ปกครองเดินไปกอดลูกของเขาด้วยความภูมิใจ ครูบอกนักเรียนว่าครูภูมิใจในตัวเธอนะ ซึ่งโดยปกติความภูมิใจมันอาจจะเกิดจากการแข่งขันวิชาการ ตอบปัญหาระดับประเทศ ต้องติดหมอ ติดวิศวะ แต่รอบนี้คือเราเห็นน้องมาแข่งไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อไปทำอะไรสักอย่างให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจริง ๆ นี่คือพลังของ Peace Leader จริง ๆ

Project นี้ส่วนตัวเราไม่ได้คิดตั้งแต่ต้น แล้ก็กลัวมากที่ต้องทำ Project ใหญ่ขนาดนี้ ไม่มีตัวอย่างให้เราศึกษา ต้องลองผิดลองถูกไป อยากขอบคุณพี่แทน (CTO Globish) ที่ไว้ใจให้เราทำ เพราะงานมันใหญ่มาก ๆ ถ้าใครรู้จักเราก็คงรู้ว่าเราไม่มาทำอะไรอย่างนี้แน่ ๆ แต่เขาก็ไว้ใจให้เรามาทำ มา Support แล้วยังมีผู้ใหญ่อีกหลายคนที่คอย Support โดยเฉพาะเหล่า Co-Founders พี่แทน พี่ทอย พี่จุ๊ย ยังมีฝั่ง AIESEC น้องยูกิ ที่คิด ที่ช่วยขัดเกลา น้อง ๆ จาก AIESEC ที่มาเติมเต็มในหลาย ๆ ด้านจนงานออกมาดีขนาดนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงทีมงานจะจัดงานมาดีแค่ไหน ออกแบบ วางแผนกิจกรรมดีแค่ไหน แต่ถ้าเด็กไม่ตอบรับ โรงเรียนไม่สนับสนุน โรงเรียนไม่เห็นด้วย Project มันจะไม่ออกมาดีขนาดนี้ ขอบคุณจริง ๆ”

คณะกรรมการในงาน International Friend of Peace Day

Globish Workspace ขอขอบคุณ Chulalongkorn University AIESEC in Thailand Imagine Thailand โรงเรียน เยาวชน สื่อ คณะกรรมการ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจกับ International Friend of Peace Day และร่วมมาเปลี่ยนแปลงสังคมไปกับพวกเรา ขอบคุณทีม Business to School ที่นำไอเดียนี้มาทำให้เป็นความจริง หากใครสนใจอยากมาร่วมเปลี่ยนแปลงการศึกษาและสังคมไทยไปกับพวกเรา สามารถติดต่อมาได้เลยนะครับ

--

--