เส้นทางสู่การเป็น Full-Stack Developer

Phong 3DS
PAM Developer Expert
2 min readJun 17, 2019

ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ เส้นทางสู่การเป็น Full-Stack Developer ในงานแสดงผลงาน Project จบของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จัดขึ้นที่ Central World ในวันที่ 15–16 มิถุนายนที่ผ่านมา เห็นว่ามี Key Take-away ที่น่าบันทึกไว้ ก็เลยเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันใน blog นี้ครับ

ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งกำลังตั้งคำถาม แต่คนที่มี Full-Stack Mindset กำลังลงมือหาคำตอบ

Full-Stack Mindset

Full-Stack ไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่เป็น Mindset ของการดำรงชีวิต เป็น Mindset ที่ Focus ที่การหาคำตอบไปพร้อมๆกับการตั้งคำถามใหม่ๆในชีวิต

เวลาที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาสู่โลก ไม่ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะจริงบ้าง จะเฟคบ้าง เราจะได้ยินคนหลายๆคนมาโพสตั้งคำถามสงสัยในการมีอยู่ของเทคโนโลยีเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น “AI จะครองโลกไหม”, “Bitcoin จะเกิดไหม” ฯลฯ

ซึ่งในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งกำลังตั้งคำถาม จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ลงมือหาคำตอบของคำถามเหล่านั้น เพราะพวกเค้าคิดว่าการตอบคำถามที่ดีที่สุดคือการลงมือทำ ลงมือสร้าง prototype อะไรบางอย่างเพื่อไขข้อสงสัย เพราะพวกเขารู้ว่า คำถามแรกจะนำไปสู่อีกหลายๆคำถามที่จะตามมาหลังจากเริ่มลงมือทำ และเมื่อพวกตอบคำถามไปเรื่อยๆ จนรู้สึกตัวอีกทีนึง Stack ความรู้ของพวกเขาก็ได้ขยายออกไปถึงองค์ความรู้ใหม่เหล่านั้นแล้ว และนี่คือที่มาของ Full-Stack

ขนาดของ Stack

เนื่องจาก Full-Stack เป็น Mindset ดังนั้น ขนาดของ Stack แต่ละคนจะไม่เท่ากัน ในส่วนของผมนั้น Stack จะมีขนาดตามรูปด้านบน ได้แก่ Business, Marketing, Frontend, Backend และ DevOps โดย Item ใน Stack ที่อยู่ติดกันจะมีความเกี่ยวข้องกันสูง กว่า Item ที่อยู่ห่างจากกัน ดังนั้นจึงเป็นความง่ายกว่าที่เราจะขยาย Stack ของตัวเองจาก Item ที่อยู่ติดกัน ยกตัวอย่างเช่น การขยายจาก Frontend ไป Backend หรือ Frontend ไป Marketing จะมีความง่ายกว่า การขยายจาก Frontend ไป DevOps หรือ Frontend ไป Business

ส่วนตัวผมแล้ว Stack ของผมเริ่มจาก Frontend และขยายไป Backend จากนั้นจึงได้เพิ่มความรู้ทางด้าน Marketing จนรู้สึกว่าตัวเองสามารถเอาตัวรอดได้ระดับหนึ่งแล้ว จึงได้เริ่มขยายมาทำทางด้าน Business จนเมื่อ Business เริ่มต้องการ Scale แล้ว จึงได้มาจับ DevOps เพื่อทำให้ Operation ต่างๆง่ายขึ้น

ทำไมต้อง Full-Stack

การเป็น Full-Stack ทำให้เราเห็นภาพรวม ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆได้ โดยใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพนั้น ยกตัวอย่างเช่น Backend ที่รู้ K8S ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากความง่ายของ K8S ในการทำงานของตัวเองได้, Frontend ที่รู้ Marketing สามารถทำให้ Website ที่ตัวเองทำติด SEO ได้ง่ายกว่า เป็นต้น ซึ่งในกรณีของผู้ที่ทำงานก็จะส่งผลกระทบต่อเงินเดือนที่สูงขึ้น สำหรับผู้บริหารก็สามารถใช้ความรู้ดังกล่าวในการตัดสินใจที่ดีขึ้นได้

จงทำงานให้กว้างกว่า Stack ที่คุณกำลังทำอยู่

ทำอย่างไรถึงจะ Full-Stack

ในหัวใจของ Full-Stacker ก็ได้บอกไปแล้วว่าต้อง Open Minded สงสัยใคร่รู้ และลงมือทำเพื่อทลายข้อสงสัย ส่วนในหลักการที่ผมพอจะแนะนำได้ และผมใช้มาตลอดก็คือ จงทำให้มากกว่า Stack ที่คุณกำลังทำอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าคุณเป็น Developer อยู่ในบริษัทหนึ่ง แล้วคุณคิดว่าอนาคตคุณอยากจะออกมาทำ Business ส่วนตัว ให้เริ่มต้นโดยการที่คุณคิดว่า คุณเป็นเจ้าของ Business ที่คุณกำลังทำอยู่นั้นจริงๆ แล้วทำให้จริงจังเหมือนกับว่า Business นั้นเป็นของคุณเอง สิ่งนี้มันเหมือนเป็นการซ้อมความเป็นเจ้าของกิจการ ซ้อมการคิดแบบเจ้าของกิจการ สิ่งที่คุณกำลังทำ นั่นคือคุณกำลังขยาย Stack ความเป็น Business ออกไปจากความเป็น Frontend, Backend, Marketing ฯลฯ ที่คุณกำลังเป็นอยู่ อย่ารอว่าเดี๋ยวออกไปทำธุรกิจแล้ว ค่อยหัด Business เพิ่ม ความคิดแบบนั้นเป็นความไม่ฉลาดที่คุณไปเริ่มในสิ่งที่คุณไม่เคยทำ แล้วคิดว่าเดี๋ยวมันก็จะดีนั่นเอง

--

--