ไอเดียดีๆมาจากไหนได้บ้าง

Pattapong J.
NoteWise
Published in
1 min readMar 12, 2017

ถ้าหากเรายังไม่มีไอเดีย ว่าจะลงมือทำอะไรดี ทางง่ายๆในการหาสิ่งที่จะทำคือ

1. เรื่องอะไรที่ยังทำได้ยาก หรือน่าจะทำให้มันง่ายขึ้นได้

เบลล์ ชอบอ่านแต่ตาบอด ตอนอายุ 16 รวมการพิมพ์อักษรปกติแบบนูนซึ่งอ่านยากมาก และรหัสลับแบบนูนสำหรับอ่านในที่มืดของทางทหาร รวมเข้าด้วยกัน คิดค้นรหัสใหม่พร้อมวิธีใช้ จนได้อักษรเบลล์ตอนอายุ 18

2. เรื่องอะไรที่ยังไม่เข้าใจดี คือมันทำงานได้ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้

โอห์ม เอาเรื่องการต้านทานไฟฟ้ามาศึกษา ในช่วงที่ทุกคนรู้จักไฟฟ้า มีการนำไปใช้แสดงในละครสัตว์ แต่ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของวัสดุนำไฟฟ้ากับกำลังไฟฟ้า จนกลายเป็นค่าโอห์มทางไฟฟ้า

3. เรื่องอะไรที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่น และมีคนต้องการให้เราช่วยทำให้

Joker เคยกล่าวไว้ว่า “If you are good at something, never do it for free” ดูการขยายความได้ใน Batman : The Dark Knight

4. เรื่องที่คนต้องทำเป็นประจำ/ปัญหาของคนสาขาอาชีพอื่น แต่ใช้ความรู้คำวามชำนาญของเรา ไปหาวิธีทำที่แตกต่าง

อันนี้ต้องลองทำนะ แล้วจะเข้าใจจริงๆ ลองไปช่วยทำงานของคนต่างสาขาดู จะเห็นเรื่องบางอย่างที่เขาทำเป็นประจำแล้วไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา หรือมีปัญหาแต่ไม่คิดว่ามันจะแก้ได้ แต่พอเราเอาความเชี่ยวชาญเราไปจับ หรือเปรียบเทียบกับงานอย่างอื่นที่คล้ายกัน เราจะมองเห็นจุดที่น่าจะปรับปรุงได้

หรือตัวอย่าง งานต่างๆที่เคยมีกันมานาน แล้วพอเอา programmer ไปจับ กลายเป็น startup เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด

หรือตัวอย่าง ที่คุณตันอธิบายเรื่องการขนส่งน้ำ ไปดูโรงงานแล้วถามว่าทำไมตอนแพคถึงต้องวางแบบนี้ ได้คำตอบว่าเป็น practice ทำตามกันมา แกก็จัดการเปลี่ยนเลย ให้ลองวางแบบใหม่ สุดท้ายรถคันเดิม ขนน้ำได้มากขึนต่อเที่ยว ประหยัดจำนวนรอบและค่าขนส่งได้มหาศาล

5. เรื่องที่ทำกันได้แล้ว แต่คุณภาพสมควรต้องปรับปรุง

เอิร์น แอบเบ (Ernst Abbe) เข้าทำงานกับบริษัทผลิตกล้องจุลทรรศน์ ที่ตอนนันต่อให้มีคุณภาพดีมาก แต่ก็ยังไม่มีการใช้ประโยชน์มากนะ เพราะได้ภาพไม่คมชัด และมีการแตกของสี (เรียกว่าความคลาดสี จากการที่คลื่นมีความถี่ต่างกัน ทำให้จุดรวมแสงของแต่ละสีตกคนละที่เลยเห็นแต่ละสีขึ้นมาคนละที่) ทุ่มเทค้นคว้าศึกษาจนได้กล้องที่มีภาพคมชัด

เพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

ประวัติของ Ernst Abbe น่าสนใจมาก เนื่องจากเกิดในครอบครัวยากจน และได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าของบริษัทโรงนาแถวบ้าน ทำให้ได้เรียน และได้รับหุ้นจากบริษัทที่ทำกล้องจุลทรรศน์ จนทำให้ร่ำรวยขึ้นมา. เอิร์นจึงได้มีนโยบายว่า

รายได้ของผู้ประกอบการ ควรใช้เพื่อการสร้างคุณค่าแก่มวลชน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่รางวัลสำหรับการลงทุนเท่านั้น และเมื่อกลายเป็นกรรมการใหญ่ของบริษัท ได้ตั้งมูลนิธิ Carl Zeiss ซึ่งมีแนวคิดว่า ให้ทำงานแค่วันละ 8 ชั่วโมง เจ็บป่วยเบิกได้ และแบ่งปันผลกำไรจากการทำงานแก่พนักงานทุกคน … มันคือระบบสวัสดิการ bonus และการคุ้มครองแรงงาน สมัยแรกๆ เลยนี่นา

--

--