แนะนำ PEA HiVE Platform เบื้องต้น

Dr. Warodom Khamphanchai
PEA HiVE Platform
Published in
2 min readAug 22, 2018
PEA is now developing PEA HiVE Platform as the enabler for IoT applications including Smart Home, Smart Building, and Microgrid

แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ของการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากกระทรวงพลังงานซึ่งได้ประกาศเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558–2579 โดยระบุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่ 6,000 เมกะวัต์ ภายในปี พ.ศ. 2579

โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนโครงการนำร่องการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี จำนวน 100 เมกะวัตต์ซึ่งประกาศในปี 2559 และมีการคาดหวังว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาจะมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้การเข้าถึงของบุคคลทั่วไปนั้นง่ายขึ้นกว่าที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่ปราศจากเครื่องมือสำหรับติดตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านรวมถึงระบบควบคุม และกำหนดเวลาการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้ประโยชน์ที่ผู้ติดตั้งพึงจะได้รับนั้นยังไม่เต็ม ประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากขณะที่พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เป็นช่วงเวลา เดียวกันกับที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนอกจากนี้ยังรวมถึงความซับซ้อนในการสื่อสารกันระหว่าง ระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ กับ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน PEA HiVE เป็น IoT ( Internet of things) แพลตฟอร์ม สำหรับระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้าน และอาคารโดยเฉพาะ มีวัตถุประสงค์ หลักในการทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าจากหลายๆ ผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีระบบสื่อสารที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น อินเวอร์เตอร์ ที่ใช้การสื่อสารผ่าน Modbus หรือ เครื่องปรับอากาศที่ใช้การสื่อสาร ผ่านระบบ Cloud ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน หรือภายในอาคาร ได้เข้าใจและบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร ได้อย่างอัตโนมัติใช้สอดคล้องกับไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ โดยมีเป้าหมาย สำคัญในการจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าสุทธิในแต่ละปีให้เป็นศูนย์ (Net-Zero Energy)

ด้วยระบบ PEA HiVE ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และอาคาร จะสามารถติดตามค่าไฟ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ข้อมูลจากเซนเซอร์ และข้อมูลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้แบบReal-timeนอกจากนี้ยังสามารถเลือกแอพพลิเคชั่น ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้ยกตัวอย่างเช่นระบบ Home comfort management ซึ่งจะทำการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศและปรับความสว่างของหลอดไฟ ให้พอเหมาะ ทำให้สามารถช่วยลดค่าไฟลงได้

PEA HiVE ประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์จำนวน 4 ชั้น ได้แก่

(1) user interface
(2) application
(3) operating system
(4) device connectivity

และเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้นักพัฒนาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ สามารถนำ Source code ไปพัฒนาต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับรองรับการเข้าร่วมโปรแกรม Demand Response สำหรับบ้านอยู่อาศัยและอาคาร หรือการพัฒนาเซนเซอร์ใหม่ๆ ที่ใช้ระบบสื่อสารผ่าน MQTT โปรโตรคอล

ปัจจุบันด้วยการสนับสนุนทางด้าน IoT หรือ Internet of Things ประกอบกับราคาของเซนเซอร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เริ่มมีราคาที่ถูกลง และมีขายมากขึ้น PEA HiVE จึงมีเป้าหมายที่จะเป็นระบบแบบ open-source, open-architecture IoT platform ซึ่งจะสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์จากหลากหลายผลิตภัณฑ์หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่พัฒนาโดย นักพัฒนาทั่วไปได้ PEA HiVE จะสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสื่อสารที่หลากหลาย ได้แก่ Ethernet (IEEE 802.3), Serial (RS-485), ZigBee (IEEE 802.15.4), และ Wi-Fi (IEEE 802.11) รวมไปถึงโปรโตคอลสื่อสารต่างๆ เช่น MQTT, BACnet, Modbus, Web, ZigBee API, OpenADR, และ OCPP เป็นต้น [1]

ข้อมูลเพิ่มเติมของ PEA HiVE Platform บน Bangkok Post สามารถติดตามได้ที่นี่ “As Thailand 4.0 progresses PEA is now developing the PEA HiVE” smart home platform”

ภาพยนต์โฆษณาสั้นตัวอย่างการใช้งาน PEA HiVE Platform สามารถดูได้ที่นี่

ตัวอย่างการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานภายในอาคาร และการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี Blockchain ณ โรงเรียนศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ smarthome.pea@gmail.com หรือ Facebook Fan Page ที่ https://www.facebook.com/peahiveplatform/

หรือติดต่อ
ดร. วโรดม คำแผ่นชัย
Lead IoT Platform Developer
กองวิจัย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Email: warodom.kha@pea.co.th
Cell: +66–9516–15011
Linkedin: www.linkedin.com/in/kwarodom

--

--

Dr. Warodom Khamphanchai
PEA HiVE Platform

Full Stack Developer, Hardware Hacker, Ex-Software Developer in Silicon Valley, Interested in IoT, Machine Learning, AI, and Technology Entrepreneurship