✍🏼 ความจริงกับเหตุผล

Piyorot
People Development
Published in
Feb 27, 2021

เหตุการณ์สมมติ … เราและเพื่อนสนิทรวมสามคนส่งใบสมัครเพื่อตำแหน่งงานเดียวกันพร้อมกัน

“ผมทราบมาว่าคุณมีเพื่อนสนิทอีกสองคนที่ยื่นใบสมัครในตำแหน่งนี้เข้ามาพร้อมกัน คำถามคือถ้าผมเลือกได้คนเดียว … คุณจะแนะนำให้ผมเลือกใคร?” — บรรยายกาศในห้องสัมภาษณ์เป็นไปอย่างเรียบง่ายและไม่ตึงเครียด จนมาเจอคำถามนี้

เราจะเลือกตอบอย่างไร?

  1. ถ้าเราตอบว่า — “หนูจะเลือกตัวเองค่ะ” … มันต้องดูไม่ดีแน่ๆเลยเหมือนว่าเห็นแก่ตัว มั่นใจในตัวเองเกินเหตุ ไม่รักเพื่อนพ้อง แย่มากๆ
  2. ถ้าเราตอบว่า — “หนูคงไม่เลือกตัวเองเป็นอันดับแรกแต่คงเลือกเพื่อนคนนี้ค่ะ” … อันนี้ก็ดูไม่ฉลาด เราคงเป็นคนที่ไร้ความสามารถไร้ความมั่นใจในตัวเองใดๆ แถมไม่กล้าสู้เพื่อสิทธิ์ของตัวเองอีก แย่พอกัน
  3. ถ้าเราต่อรองกลับไปว่า — “หนูของเลือกสองคนได้มั้ยคะ?” … แหม่ เค้าก็บอกมาแล้วว่าได้แค่หนึ่ง เหมือนคนพูดจาไม่รู้เรื่องแล้วยังตัดสินใจไม่เด็ดเดี่ยวอีกนะ แย่ที่สุด

แท้จริงแล้วสิ่งสำคัญไม่ใช่คำตอบว่าเลือกใคร … แต่สิ่งที่คนถามอยากรู้คือความจริง ตรรกะ และเหตุผล

  1. เราพูดความจริงหรือไม่? — หนูเก่งกว่าเพื่อนคนนี้ เพื่อนคนนั้นฉลาดกว่าหนู
  2. ตรรกะในการนำมาซึ่งคำตอบคืออะไร? — เพราะเก่งกว่า เพราะนิสัยดีกว่า เพราะเด็กกว่า เพราะมีศักยภาพมากกว่า เพราะนิสัยดีกว่า เพราะเหมาะสมกว่า เพราะน่าจะเรียกเงินเดือนน้อยกว่า เพราะแข็งแรงกว่า …
  3. เหตุผลที่เรานำมาสนับสนุนการตัดสินใจของเรานั้นแข็งแรงมั้ย? — ถึงแม้หนูจะอายุงานและประสบการณ์โดยรวมมากกว่าเพื่อนคนนี้ แต่ถ้าวัดกันเฉพาะด้านนี้แล้วเขารู้ลึกกว่าหนูค่ะ ถ้าพี่ตัดสินที่ปัจจัยนี้เป็นหลัก หนูคงต้องยอมหลีกทาง แต่ถ้าเป็นเรื่องความเร็วในการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับงานใหม่ หนูว่าหนูไม่แพ้ใครนะคะ …

ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์การสัมภาษณ์งานหรือนำเสนองานให้ลูกค้าหรือขายไอเดียให้นักลงทุน เราไม่จำเป็นต้องพยายามเดาใจคนถาม เราไม่จำเป็นต้องพยายามหาคำตอบที่จะทำให้คนอื่นถูกใจ

ตราบใดที่เราพูดความจริงอย่างมีตรรกะและเหตุผล … เราจะโอเค 👌🏽

--

--

Piyorot
People Development

A member of Mutrack and Inthentic. I lead, learn, and build with vision, love and care. https://piyorot.com