บทความนี้ เป็น Survey ของ Mckinsey
ทำการสำรวจองค์กรต่างๆ จากหลายๆ กลุ่มธุรกิจ (จัดทำขึ้น ช่วงตุลาคม 2017) กล่าวถึง
การเริ่ม Transform โดยนำ Agile ปรับใช้ในองค์กร

เนื้อหาค่อนข้างน่าสนใจ
เลยจะลองสรุปสิ่งที่ได้จากบทความนี้ กันครับ

Rapid changes in competition

หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญกับการนำ Agile ไปปรับใช้
ส่วนใหญ่ มองว่าโลกในยุคปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไวมาก
ทั้งในด้านความต้องที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่จำกัด และเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ดังนั้นการทำงานในรูปแบบเดิมนั้น จะไม่ตอบโจทย์เอาเสียแล้ววว

Organizational Agility is on the rise

https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/how-to-create-an-agile-organization

ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษกิจที่มีความซับซ้อนและผันผวน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ต่างเห็นตรงกันว่า
สภาพดังกล่าวยิ่งต้องนำ Agile มาปรับใช้
เพราะอะไรหล่ะ? ก็เพราะว่า เราต้องปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงหน่ะสิ

ผลของแบบสอบถาม องค์กรส่วนใหญ่เริ่มนำ Agile ไปปรับใช้กับ
1.customer: innovation
2.customer experience
3.sales and servicing
4.product management

ความเห็นส่วนตัว 4 ข้อข้างต้น ล้วนเป็นส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า(Customer)
ผมไม่แปลกใจเลย ว่าเหตุใด บริษัทส่วนใหญ่ถึงเริ่มกับส่วนนี้ก่อน
เพราะ

ลูกค้ามีความต้องการที่ไม่จำกัด
ลูกค้ามีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ลูกค้าคือคนที่ทำให้บริษัทอยู่ได้ กระมัง

Performance Unit ( Agile/Bureaucratic/Start-up/Trapped )

Performance units (องค์กรณ์ทั้ง 4 รูปแบบ)

การเปลี่ยน (Transform) องค์กรทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วย

1. Agile การทำองค์กรแบบ Agile
2. Bureaucratic
การเปลี่ยนองค์กรแบบราชการ ให้เป็นองค์กรแบบ Agile
3. Start-up
การเปลี่ยนองค์กรแบบสตาร์ทอัพ ให้เป็นองค์กรแบบ Agile
4. Trapped
องค์กรที่ยังติดบ่วงเดิมๆ

1.องค์กรแบบ Agile

องค์กรที่เป็น Agile ต้องมีทั้ง High Dynamic/Stable practices !!!

Dynamic practices คือ
รูปแบบองค์กรที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่นกลุ่ม บริษัท Start-up

Stable practices คือ
รูปแบบองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย มีเสถียรภาพในการดำเนินงาน เช่น รูปแบบงานราชการ หรือองค์กรณ์ใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น

วัดอย่างไร ว่าองค์กรเป็น Agile แล้ว ?

หลักปฏิบัติ 18 ประการ สำหรับองค์กรที่เป็น Agile จะต้องมี

องค์กรจะเป็น Agile ได้นั้น Mckinsey ได้นำ หลักปฏิบัติ 18 ประการเป็นตัวชี้วัด
โดยองค์กรที่เป็น Agile จะต้องปฏิบัติตามหลักนี้

ตัวอย่าง จากรูป ได้เปรียบเทียบ % ระหว่าง องค์กรที่เป็น Agile (สีน้ำเงิน)
กับองค์กรอื่นๆ(สีเทา)
เปรียบเทียบตามหลักปฏิบัติ 18 ประการ (Eighteen practices for organizational agility)
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในองค์กรที่เป็น Agile จะปฏิบัติตาม
ในสัดส่วนที่สูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด

2. Bureaucratic การเปลี่ยนองค์กรแบบราชการ ให้เป็นองค์กรแบบ Agile

Performance units (องค์กรทั้ง 4 รูปแบบ)

จาก Performance units graph ข้างต้น จะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีการทำงานแบบนี้
แม้จะมีรูปแบบการทำงานที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ยังเชื่องช้าและขาดความยืดหยุ่น เราสามารถปรับให้ดีขึ้นโดยใช้หลักการของ Minimum Viable Product(MVP)
เพื่อทดสอบไอเดียใหม่ๆ ได้ไวขึ้น
อีกสิ่งที่สามารถปรับได้ ในลำดับถัดไปคือการเลือกใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือที่เหมาะสม

การปรับ Dynamic Practices เทียบกับองค์กรแบบ Agile

การปรับ Dynamic Practices เทียบกับองค์กรแบบ Agile

การปรับ Stable Practices เทียบกับองค์กรแบบ Agile

การปรับ Stable Practices เทียบกับองค์กรแบบ Agile

จะเห็นได้ว่า สำหรับ องค์กรแบบนี้ เรายังมีพื้นที่ในการปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้นอีกเยอะเลย

3. Start-up การเปลี่ยนองค์กรแบบสตาร์ทอัพให้เป็น องค์กรแบบ Agile

Performance units (องค์กรทั้ง 4 รูปแบบ)

พื้นฐานขององค์กรแบบ Start-up คือมีรูปแบบการทำงานที่มีความเร็ว ยืดหยุ่นสูง มีความคิดสร้างสรร แต่มีเสถียรภาพต่ำ
มักไม่มีวินัยและขาดการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

Stable Practices

จากรูปข้างต้น เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องพัฒนา Stable practices ให้ใกล้เคียงกับ องค์กรแบบ Agile

Dynamic Practices

รวมถึงการพัฒนา Dynamic practices ให้ใกล้เคียง องค์กรแบบ Agile เพื่อให้ยังคงความเร็วในการส่งมอบได้เพียงพอ

4. Trapped องค์กรณ์ที่ติดบ่วงการทำงานแบบเดิมๆ

องค์กรประเภทดังกล่าว จะมัวแต่ focus ที่ปัญหา ขาดการประสานงานที่ดี
มีการทำงานในรูปแบบ Silo มีการเมืองภายใน เล่นพรรคเล่นพวก เห็นแก่พวกพ้อง
อ่านแล้วหลายๆคน คงคุ้นๆองค์กรแบบนี้กันมาบ้างเน๊อะ
ซึ่งแน่นอนย่อมต้องขาดทั้ง Stable / Dynamic Practices

Looking ahead

ความท้าท้ายที่จะทำ Agile Transformation กับองค์กร ให้เกิดขึ้น
- เหล่า Top Management จนกระทั่ง Working team จะต้องทำงานร่วมกัน
- มี Roadmap ชัดเจน
- Top Managementให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
- Working teamได้รับ Vision ที่ชัดเจน
- พนักงานได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาทักษะใหม่ๆอยู่เสมอ
- สร้าง Row model
- ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงนี้

--

--