3 วัน กับ Certified ScrumMaster ( CSM )

ผมมีโอกาสไปร่วม Workshop Certified ScrumMaster ของ Daniel Teng
จัดขึ้นวันที่ 18–20 ตุลาคม 2560 จัดที่ โรงแรม Crown Plaza สีลม
ซึ่งรูปแบบของ Workhop นั้น เป็นกิจกรรมกลุ่ม
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5–6 คน โดยเน้นการ Share idea กันในกลุ่ม
เลยขอสรุปคร่าวๆ กับสิ่งที่ได้เรียนเพิ่มเติมจากประสบการณ์ของเขา
โดยเนื้อหาอาจไม่ได้เป๊ะทั้งหมด เนื่องจากจะขอรวมกับประสบการณ์ของตัวเอง
เผื่อจะเตรียมนำไปใช้งานในโอกาสถัดไป

Workshop แบ่งออกเป็น 3 วัน

บอกตามตรง ว่าผมไม่ได้คาดหวังอะไรมาก กับ Workshop นี้
เนื่องจากคิดว่า ก็คงคล้ายๆ กับที่ได้อบรม หรือได้ทำงานมาบ้างแล้ว
แต่ผิดคาด !!! Workshop วันแรก บอกตามตรงว่า งง(ง งู ล้านตัว) มากกก
Daniel ทำพวกเรา เดาทางการสอนกันแทบไม่ถูก
เขาไม่ได้เริ่มจากประวัติของ Agile , Scrum ,Process , Framework เลยแม่แต่น้อย
แต่สิ่งที่เริ่มคือ การ Share ประสบการณ์ ทั้งส่วนตัวและกับการทำงานกับบริษัทต้นสังกัด Odd-e

ผู้เข้าร่วม Workshop รอบนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เป็น หรือจะเป็น ScrumMaster
โดยมาจากสาย Financial ทั้งหมด
ซึ่งมีทั้ง IT Background และ Business Background

ตารางเรียน แน่นหนา ตามรายละเอียด

วันที่ 1 — Scrum

  • Scrum overview
  • Scrum history, self-managing and empirical process control
  • Scrum Roles
  • Why organization structure and culture are key to successful agile transition and how to lead the change
  • Balancing between Discovery & Delivery

วันที่ 2 — Organization & Product backlog

Organization Structure & Culture as enabler of innovation

  • Hydra organizations — What, Why, How
  • Team as key element
  • Adult Manifesto

Product backlog

  • User story
  • User story mapping
  • Collaboratively creating / maintaining product backlog
  • Walking skeleton
  • ODDE is criteria for good product backlog
  • Backlog refinement meetings
  • Sprint retrospective

วันที่ 3 — Rince & Repeat

  • Estimation
  • Batch
  • Cadence
  • Specification by Example
  • Scrum meetings

Workshop เริ่มด้วยกิจกรรม Ice-Breaking (ละลายพฤติกรรม)
ให้แต่ละคนแนะนำตัวเอง ประสบการณ์ทำงาน ยกตัวอย่างของการทำงานเป็นทีม
ให้แต่ละคนแชร์กัน
(ใน Class มี Workbook เอาไว้กลับไปอ่านกันอีกทีนึง )

CSM Workbook

Daniel ถามทีมว่า เหตุใด เราถึงต้องปรับวิธีการทำงานให้เป็น รอบสั้นๆ
(บางคน อาจเรียกเป็น Sprint หรือ Iteration)

เขาอธิบายว่า ยิ่งเวลาผ่านไป สภาพตลาด คู่แข่ง เปลี่ยนไป (ซึ่งเดี๋ยวนี้เปลี่ยนไวมาก)
ก็ย่อมส่งผลต่อ ความต้องการ (requirement) ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงตาม
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล มันคือ ความเสี่ยง(Risk) ของ Project !!!
ดังนั้นวิธีทำงานเป็นรอบสั้นๆ ก็เพื่อเป็นการ ความคุมความเสี่ยง (Risk Control) นั่นเอง

ถ้าเปรียบกับงานในแบบปัจจุบัน โดนเฉพาะในแวดวง การพัฒนา Software
ผมมักได้ยิน คำที่ Developer , BA หรือ PM ชอบถามกับ Business User ว่า

“ Requirements ฉบับนี้ คือ Final แล้วนะ !
จะไม่มีเปลี่ยนอีกแล้วใช่ใหม ?
ตบท้ายด้วย ขอ Requirement Signed-off เพื่อยืนยัน ”

แต่น่าเศร้านะ ที่ความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า Requirements ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
คิดง่ายๆ อย่าว่าแต่ งาน Requirements เลย
ยกตัวอย่าง เราเอง จะเลือกเมนูอาหารมื้อเที่ยง (ไม่ว่าจะเหตุผลไดก็ตาม)
เรายังเปลี่ยนใจกันได้ตลอด ว่าใหม?

องค์กรณ์ ที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย คือองค์กรณ์ที่ตายแล้ว ฉันใด
Product ที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ย่อมเป็น Product ที่ตายแล้ว ฉันนั้น !!! หรือไม่จริง !!!

ScrumMaster กับการปรับองค์กรณ์ให้เป็น Agile

วิธีการทำงาน แบบ Agile จะเน้นการทำงานเป็นรอบ ๆ
โดยมีเวลา Time Box กำกับ
ดังนั้น เราจะเริ่มนำมาปรับใช้ กับองค์กรณ์ ยังไงหล่ะ ?

จากรูป Change Model ประกอบไปด้วย วงกลม 3 วง ซ้อนกัน

  1. PROCESS & TOOLS (กระบวนการทำงาน)
  2. STRUCTURE (โครงสร้างองค์กรณ์)
  3. CULTURE (วัฒนธรรมองค์กรณ์)

.

.

.

ถ้าเราเริ่มปรับองค์กรณ์จาก นอก →ใน โดยเริ่มจาก PROCESS & TOOLS มาครอบ จะเจอปัญหา (Barrier) คือ STRUCTURE (โครงสร้างองค์กรณ์)
ที่ไม่เอื้อต่อการทำงานแบบ Agile
เพราะยังติดกับรูปแบบ Component Team เสียส่วนใหญ่
เขาแนะนำ ให้เริ่มเปลี่ยน STRUCTURE (โครงสร้างองค์กรณ์)
เดิมที่เป็น Component Teamให้เป็น Feature Team ก่อน
แล้วค่อยกระจายการเปลี่ยนแปลงนี้ออกไป

ตัวอย่าง Component / Feature Team

Component Team คือ
Team แบบเดิม ที่ส่งมอบเป็นบางส่วน
เสร็จแล้วก็ส่งไปให้อีก Component team ทำต่อ

Feature Team คือ
Team ที่ประกอบด้วยคนหลายๆ ทักษะ ที่สามารถส่งมอบของทั้งชิ้นได้เลย

รูปนี้ Daniel แต่ละกลุ่ม
Design Feature Team
โจทย์ :
นักลงทุน ต้องการให้สร้าง Set top box โดยเป้าหมายคือ
- On Time
- On Budjet
- Good Quality

ทีมได้จัด Feature Team
ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มคนที่มีทักษะต่างๆ (แม้กระทั่ง Tester)
ได้ออกมา 3 Team รับงานต่างๆกัน
โดยมี Requirements (Backlog หลัก) ตัวเดียวกัน
.
.
.
.

ADULT MANIFESTO

เราคงคุ้นชินกับ Agile MANIFESTO (หลักปฎิบัติ 12 ข้อ)
ซึ่งใน Workshop นี้ Daniel บอกให้ลืมมันไปซะ
สิ่งสำคัญคือ ADULT MANIFESTO มากกว่า

.

หลักของ ADULT MANIFESTO
ง่ายเลยคือ
เราเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว ทำสิ่งที่คิดว่าควรทำซะสิ ”

Agile & Scrum

Scrum Framework

กลับมาสู่เนื้อหาบ้าง (หลังจากนอกบท ไปนาน)

Agile กับ Scrum ต่างกันยังไงหล่ะ ?
Agile คือ หลักปฏิบัติ
Scrum คือ “วิธี” นำ “หลักปฏิบัติ” มาทำจริงให้สำเร็จ

Team Size

.

Scrum Team ประกอบด้วย 3 บทบาท
1. Product Owner (PO) 1 คน
2. ScrumMaster 1 คน
3. Development Team 5–9 คน
(แต่เขาแนะนำไม่เกิน 8 นะ จากรูป)

และอีก 6 กิจกรรม
1. Sprint Planning Part I
2. Sprint Planning Part II
3. Daily Scrum
4. Product Backlog Refinement
5. Sprint Review
6. Sprint Retrospective

.

.

.

.

Galley Walk !

Galley Walk

ก่อนเริ่ม Workshop ในแต่ละวัน เราจะจับคู่ เพื่อทำ Galler Walk เดินสำรวจแต่ละ Flip Chart เพื่อแชร์ สรุปความเข้าใจร่วมกัน ก่อนเริม Session ถัดไป

สรุป

มี Member ถาม Daniel ว่าจะสามารถสอบผ่าน CSM ได้อย่างไร
Daniel:
“I Don’t Care Whether you have CSM Certified or not .
Show Me !! ”
ผมไม่สนหรอกว่าคุณจะมี CSM Certified หรือเปล่า ลองทำให้ดูสิ
(ซึ่งมันก็คือ Adult Manifesto ที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง)

ก่อนจบ Class , Daniel ได้เล่าให้ทีมฟัง ถึงเงื่อนไขการสอบ CSM Certified ไว้ว่า
1.หลังจาก Workshop 1–2 อาทิตย์ จะมี mail จาก Scrum Alliance ส่งหาแต่ละคน
2.สามารถ Click link ใน mail เพื่อทำแบบทดสอบ ได้ทันที
3.จะต้องสอบภายใน 90 วัน
4.เกณฑ์การผ่านคือ 24 คะแนนขึ้นไป จากทั้งหมด 35 ข้อ
5.Certificate เดิมไม่มีหมดอายุ แต่ปัจจุบันเงื่อนไขเปลี่ยนเป็น หมดอายุทุกๆ 2 ปี
จะต้อง renew ใหม่ (มีค่าใช้จ่าย 100 USD/ปี)
6.ถ้าคุณสอบไม่ผ่าน คุณน่าจะต้องไปเช็ค IQ แล้วหล่ะ เขากล่าว LoL

Scrum Certified Journey

https://www.scrumalliance.org/certifications

ภาพบรรยากาศ

--

--