Large-Scale Scrum (LeSS) คืออะไร ? ตอนที่ 1

หยุดยาวๆกันไปสามวัน และเป็นช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
ทำให้ได้กลับมาทบทวนสิ่งต่างๆ รวมถึงเป้าหมายของตัวเองในปี 2017
ซึ่ง 1 ใน 12 เป้าของผมคือ เขียน Blog Share Knowledge
ให้ได้อย่างน้อย 2 บทความ/เดือน (ตั้งเป้าสูงไว้ก่อนหน่ะ)
เป็นโอกาสดี ที่ได้หนังสือสองเล่มจากพี่อ้อยพี่หนุ่ม มี Coaching Agile Team และ Large Scale Scrum (แต่งโดย ลุง Craig Larman และป๋า Bas Vodde)
เลยเอามาทำ Blog ซะหน่อย ต้องขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

Note : เนื้อหาต่อไปนี้ มีศัพท์เฉพาะ ของ Scrum อยู่
ผู้อ่านควรเรียนรู้พื้นฐานของ Scrum ก่อน จากบทความก่อนหน้านี้

1. ScrumMaster in Action
2.
Scrum เขาทำกันยังไงอ่ะ ?

https://www.keystepstosuccess.com/local-large-scale-scrum-less-communities/

LeSS ย่อมาจากคำว่า Large-Scale Scrum
เป็น Framework ในการนำ Scrum ใช้กับทีมขนาดใหญ่
ที่อาจประกอบไปด้วย 2–8 Team ที่ทำงานร่วมกัน กับ Product เดียวกัน

คำถาม: แล้วถ้ามี Team มากกว่านั้นหล่ะ ? ก็ไปใช้ LeSS Huge
ซึ่งมี Common หลายๆ ส่วนคล้ายกับ LeSS ซึ่งจะกล่าวในบทความต่อไป

คำเตือน: ผู้ที่จะนำเอา LeSS มาปรับใช้ ควรมีประสบการณ์ การทำ Agile และดูแล Scrum Team มาก่อน อาจเป็น Agile Coach , ScrumMaster ที่เคยลงมือจริง เจ็บจริงกันมาก่อน ฮาาา

LeSS complete picture

“อย่าถามหาสูตรสำเร็จในการพัฒนา Product
มีเพียงหลักปฏิบัติให้
ส่วนจะทำอย่างไรให้สำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริบทฯ”

LeSS Principles

LeSS ประกอบไปด้วยหลักปฏิบัติ (Principles) 10 ข้อ

  1. Large-Scale Scrum is Scrum:
    เป็นการทำ Scrum ไป Apply ใช้ในบริบทที่มีขนาดใหญ่
  2. Transparency:
    งานที่เสร็จจะต้องวัดค่าได้ ทีมทำงานร่วมกัน เข้าใจเป้าหมายเดียวกัน มีรอบการทำงานเดียวกัน
  3. More with less:
    บทบาท กฏ กติกา หรือ Process อย่าเยอะนักเลย ให้เพิ่ม (More) เหล่านี้ดีกว่า
    - เพิ่มความรับผิดชอบร่วมกัน
    - Customer focus
    - Ownership
    - Meaningful work
  4. Whole product focus:
    - มีเพียง
    1 Product Backlog
    1 Product Owner
    1 Common Sprint Frame
    1 Shipable Product Increment
  5. Customer centric:
    - เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
  6. Continuous improvement towards perfection:
    - มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  7. Lean thinking:
    -
    Watch the Ball, Not the Players
  8. System thinking:
  9. Empirical process control:
    การสังเกตและปรับปรุง ทั้ง Product และ Process การทำงาน
  10. Queuing theory:
    wiki อธิบายได้ดี https://en.wikipedia.org/wiki/Queueing_theory

เมื่อนำทั้ง 10 Principles ประกอบเข้าใน LeSS FRAME WORK จะได้ผล ดังรูป

กิจกรรมของ LeSS ประกอบด้วย

  1. Sprint Planning Part I
  2. Sprint Planning Part II
  3. Daily Scrum
  4. Product Backlog Refinement / Overall Product Backlog Refinement
  5. Sprint Review
  6. Retrospective / Overall Retrospective

LeSS Sprint Planning

1. (Common) Sprint Planning Part I
เป็นการ Brief ให้ “ทุกทีม” เข้าใจ Goal / Requirements ร่วมกัน
บน Product Backlog เดียวกัน
เลือก Item เพื่อที่แต่ละทีมจะได้นำ Sprint Backlog Item แยกไปทำ
(ดังนั้นรอบของ Sprint ในแต่ละทีมควรจะต้อง เริ่มและจบพร้อมกัน)

2. Sprint Planning Part II
แต่ละทีมแยกไปทำ Planning
หรือจะร่วมกัน Planning ถ้าเป็น Item ที่ต้องเกี่ยวข้องกัน
เพื่อทำ Detail Design (แต่ละทีม ควรอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อจะได้ปรึกษากันง่ายๆ ไง อันไหนใช้ร่วมกันได้ อันไหนใครทำ และจะมารวมกันเมื่อไหร่)
แต่ละทีม จะต้องมี Sprint Backlog ของตัวเอง

3. Daily Scrum
แต่ละทีมแยกกันทำ

4. Product Backlog Refinement / Overall Product Backlog Refinement
ทุกทีม ทำ Refinement ร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

5. Sprint Review
ทุกทีม ทำ Sprint Review ร่วมกัน (เพื่อให้สัมฤทธิ์ผล การนำ Continuous Integration / Continuous Deployment มาใช้
มีความจำเป็นอย่างมากใน LeSS environment)

6. Team Retrospective / Overall Retrospective
6.1 แต่ละทีม ทำ Team Retrospective
รวมถึงเลือก item ที่ทีมอยากปรับปรุง/วิธีวัดผล ของทีมตัวเอง
6.2 ทุกทีม ร่วมทำ Overall Retrospective ร่วมกัน
รวมถึงเลือก item ที่ทีมอยากปรับปรุงในภาพใหญ่ร่วมกัน/วิธีวัดผล

สรุป

LeSS Structure
1 Product Backlog
1 Product Owner
ScrumMaster ช่วยจัดการ 1–3 team ควรเป็น Full-Time
ไม่ใช่เป็นเพียงผู้พาทำกิจกรรม
1 Common Sprint Frame
1 Shipable Product Increment
ต้องเป็น Feature Team

การนำ LeSS มาใช้ในองค์กรณ์ในประเทศไทย ค่อนข้างท้าทาย
ทั้งในแง่ของ การปรับ Organization Structure , Career Path , Mindset,Measurement, แม้กระทั่งแรงต้านของผู้ที่ไม่พร้อมเปลี่ยนแปลง
ซึ่งหัวใจสำคัญนี้ ควรได้รับ Direction และ Support ที่ดีและชัดเจน
จาก Top Management ด้วยเช่นกัน

ถ้าเรื่องมันเยอะอย่างนี้ แล้วเราจะเริ่มไป Adop กับองค์กรณ์เรายังไงหล่ะ ?

บทความถัดไป :
Large-Scale Scrum (LeSS) ตอนที่ 2 Adoption / Transformations

--

--