Large-Scale Scrum (LeSS) ตอนที่ 2 Adoption / Transformations

บทความที่แล้ว: Large-Scale Scrum (LeSS) คืออะไร ? ตอนที่ 1

“If you do not change direction,
you may end up where you are heading.”

-Lao Tze

มีผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่า Agile/Scrum ไม่ได้เป็น Silver bullet ที่จะมาช่วยแก้ใขในทุกๆ ปัญหา หากแต่เป็นเพียง Framework ที่ช่วยให้ Feedback loop สั้นลงและเพิ่ม Transparency ภายใต้กระบวนการทำงานแบบเชิงประจักษ์
(Empirical Process Control )

ทว่า การเริ่ม Adopt ใช้แค่ Scrum ยังมีหลายสิ่งขนาดนี้
แล้วถ้าจะนำ LeSS มา Adopt หล่ะ ?

LeSS Adoptions

การทำ LeSS Adoption (หรือจะเรียก Transformation , Transition ก็แล้วแต่)
มีเพียง 3 หลักการ

1. Deep and Narrow over broad and Shallow

LeSS Organization

- LeSS Adoption แรกเริ่ม ควร Focus ที่ Product เดียวก่อน
Management ควร support เติมเต็มสิ่งที่ทีมต้องการ ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ
ที่จะเกิดกับทีม และจัดเตรียม Organization/Career Path ที่เหมาะสม
อย่าลืมว่า กลุ่มคนเหล่านี้ เปรียบเสมือน Dream Team ที่ต้องเผชิญกับวิธีการทำงานแบบใหม่ ไหนจะต้องไปสู้รบปรบมือ กับ Legacy team ที่ยังทำงานในรูปแบบเดิมๆ
กำลังใจของทีม เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการได้รับการ support ที่ดีนี่แหล่ะ

2. Top-Down and Bottom-Up

LeSS Role and Responsibilities

การทำ Adoption ให้สำเร็จได้นั้น ควรจะได้รับการสนับสนุน
อย่างเต็มที่จากทั้ง 2 ฟากฝั่งในองค์กร ทั้งจาก Top-Down และ Bottom-Up Level
รับการสนับสนุนจาก Management (Top-Down) เพื่อเป็นการกรุยทาง
และให้ Authority ให้การทำงานราบรื่น
ยิ่งไปกว่านั้นการจะ Maintain ให้ยั่งยืน
ก็ควรได้รับความร่วมมือที่ดี จากคนทำงาน หรือ Working Team (Bottom-Up)

3. Use Volunteering

We’re Volunteer

ถ้าทีมยังพอมีอิสระในการเลือก ให้รับผู้ที่อาสาสมัครก่อนเป็นลำดับแรก
เพราะคนกลุ่มนี้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับความเสี่ยง
แต่เราก็ต้องให้ Job Safety เขาก่อนนะ ( ถ้าผมเป็น Management ผมจะ Treat คนกลุ่มนี้ดีเป็นพิเศษ :) )

ทีมที่เหมาะสม ควรจะต้อง
- Dedicated : หนึ่งคน อยู่หนึ่งทีม ไม่ควร Share resource
- Stable : สมาชิกในทีม ไม่ควรถูก เปลี่ยน ย้ายเข้า ย้ายออกบ่อยๆ
- Long-lived: สมาชิกในทีม ควรจะต้องอยู่กันยาวๆ
ไม่ใช่เป็น virtual team by project พองานจบ แล้วแยกย้าย
- Cross-functional: สมาชิกในทีมมี skill ที่ต่างกัน ที่ประกอบกันแล้ว สามารถทำให้ งานสำเร็จได้
-Co-located: ทีมร่วมทำงานในพื้นที่เดียวกัน

สรุป

การ Adopt LeSS เข้าไปใช้ในองค์กร ไม่ควรรีบร้อน แบบเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ
เหล่า Management ควรวางถุงกาวลงก่อน แล้วถามตัวเองให้ได้
-ว่าเรามีปัญหาอะไร ทำไม ถึงต้องใช้ ?
-คาดหวังผลลัพธ์อะไร ?
-วัดผลอย่างไร ?

อีกทั้งควรจัดเตรียมองค์กร กำลังคนคน ความรู้ด้านเทคนิค
ได้รับการ Support จาก Top Management อย่างเต็มที่
หา Agile Coach / ScrumMaster ที่มีประสบการณ์มาช่วย Drive ทีม
แต่ถ้าทีมยังไม่เคยใช้ Scrum มาก่อน
อยากให้เริ่ม ที่ Scrum ก่อน อย่าพึ่งลัดคิวมาที่ LeSS เลย
ไม่งั้นจะได้เห็นความ Fail Fast อย่างที่ตั้งใจ
เพราะถ้ามองในภาพใหญ่ มันคือ การทำ Organization Changes เลยนะ

ทุกการเปลี่ยนแปลง มักเกิดแรงต้าน ตามติดมาด้วยเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่า เราจะจัดการมันอย่างไร
ขอให้สนุกกับการทำ Adoption ครับ

--

--