Overvirew แบบกากๆ |มาเริ่มเขียนแอฟเล่นผ่าน Android Studio กันเถอะ [ep.1]

Pongpith Simmanee
podtalk
Published in
3 min readJan 25, 2016

สำหรับ [Ep.1] ผมจะเล่าเกี่ยวกับ Introduction เริ่มเขียนแอฟเล่นผ่าน Android Studio คร่าวๆครับ ผมอยากจะเล่าการติดตั้งโปรแกรมสำหรับพัฒนาที่ใช้เน้นมากกว่า

เมื่อสามที่เดือนแล้วผมได้นั่งเล่น app android ตัวหนึ่ง มันน่าสนใจเลยทีเดียว ไอ้เราก็เคยเขียนจาก app invertor ง่ายๆ สมัยมัธยม ผมเลยลองผิดลองถูกอยู่เอามาก ครั้งแรกคิดว่ามันคงเหมือนเขียน C,C++,PHP อะไรประมาณนี้ธรรมดา พอถึงเวลาก็ Complie บนมือถือ ที่ผมคิดมา ผิดบาปมหันต์เลย!! ตอนที่ได้ลองเล่นเอาจริงๆมันมีหลายอย่างหลายส่วนมากๆที่ Developer ต้องรู้ เอาไว้มีเวลาเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังใน part ต่อไปครับ โดยที่นี้ เน้นแบบ Overview แบบกากๆจบ สำหรับมือใหม่แรกเริ่ม เดี๋ยวผมจะพยายามใส่ลิ้งค์เพื่อให้ทุกคนจะสามารถไปหาข้อมูลต่อและทดลองเขียนได้สบายๆเลยครับ เอ้าเริ่มกันเลย

##Application for Developer Android

ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้พัฒนา Android Tool เต็มไปหมดเลย ไม่ว่าจะเป็น eclipse รุ่นเก๋า หรือที่ง่ายๆหน่อยหลายคนคงคุ้นเคยคือ app inventor แต่ในโลกปัจจุบันนั้นไปเร็วมากจึงมีเครื่องมือที่ถูปล่อยมาค่อนข้างสมบูรณ์เพื่อ Developer นั้นคือ Android Studio

Screen-Shot-2559-01-25-at-10-43-54

[ขอขอบคุณรูปภาพจากไฟล์ข้อมูลนำเสนอจากคุณเนย](https://www.udemy.com/native-android-app-development-the-cheese-factory/).

##Android Studio
เจ้า Android Studio นั้นปัจจุบัน มีความสามารถที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้พัฒนามากขึ้นและผมถือว่ามันเหมาะสมที่สุดในยุคนี้ในการพัฒนา app android ออกมา ซึ่งเจ้าตัวนี้ได้มีการอัพเดท SDK อย่างต่อเนื่อง และมี Library Tools ให้เราเล่นเยอะพอสมควร เหมาะสมสำหรับระดับเริ่มต้นไปถึงระดับสูงเลยก็ว่าได้

studio-logo-1

## เริ่มจากติดตั้ง Development Tool

* ติดตั้ง JAVA JDK 1.8 ค้นหาจาก Google ได้เลย ยิ่งใหม่ยิ่งดี หากท่านผู้อ่านลงผ่าน Windows ทำตามลิ้งนี้ได้เลยครับ https://www.youtube.com/watch?v=CijsBUrIkw4 สำหรับ OS อื่นแบบลงธรรมดา
* ติดตั้ง Android Studio
* ติดตั้ง SDK Tool โดยวิธีการดังนี้
เข้าโปรแกรม Android Studio จะเจอหน้าจะที่ว่า “Welcome to Android Studio” แล้วเลือก Configure > SDK Manager > Launch Standalone SDK Manager

>> ผมแนะนำติดตั้ง SDK ตัวล่าสุดครับ กรณีของผมใหม่สุดคือ API22 (Android5.1.1)

Screen-Shot-2559-01-25-at-10-53-07

[ขอขอบคุณรูปภาพจากคุณเนย ตัวอย่างวิดิโอการสอน Android](https://www.udemy.com/native-android-app-development-the-cheese-factory/).

>> และเลือกติดตั้ง SDK Platform ของแต่ล่ะ API ในแต่ละเวอร์ชั่นลังไป

Screen-Shot-2559-01-25-at-10-53-23

[ขอขอบคุณรูปภาพจากคุณเนย ตัวอย่างวิดิโอการสอน Android](https://www.udemy.com/native-android-app-development-the-cheese-factory/).

และโหมด Extra ไล่ลงให้หมดยิ่งดีครับ เพราะบางตัวเราอาจได้ใช้ในอนาคต

* ต่อมาเป็นการติดตั้ง Simulation ในการใช้รันแอฟพลิเคชั่นบน Andriod ด้วย [Gemymotion](https://www.genymotion.com/).

Screen-Shot-2559-01-25-at-11-05-09

>> เท่านี้เป็นการติดตั้ง Android Studio Development Tool พื้นฐานเรียบร้อยแล้วครับ

**หากผู้อ่านสงสัยประการใดสามารถค้นหาข้อมูลจาก Google ได้เลยครับ หรือสอบถามได้ใน Comment ข้างล่างครับ

## มาสร้าง Project โดยการใส่คำว่า Hello World กัน
การสร้าง Project นั้นก็ไม่มีอะไรมากครับ เหมือน Create Project แบบธรรมดาทั่วไป กำหนดค่าที่ต้องการลงไปครับ

Screen-Shot-2559-01-25-at-11-08-52
Screen-Shot-2559-01-25-at-11-09-16

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้่วผมได้ทดลองรันผ่าน Preview ง่ายๆจะเป็นแบบนี้ครับท่านผู้อ่าน

Screen-Shot-2559-01-25-at-11-15-26

## View Code พื้นฐานที่เราต้องใช้เขียนแอฟมีอะไรบ้างหนอ
พอมาถึงขั้นนี้ผมอยากอธิบายให้หลายท่านทราบว่า การเขียนแอฟพลิเคชั่นบน Android Studio นั้น มีรายละเอียดเยอะมากหลายส่วน ท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลได้จาก [Android Authority](http://www.androidauthority.com/android-studio-tutorial-beginners-637572/). [Android Developers](http://developer.android.com/training/index.html). แต่สิ่งที่เราจะต้องเขียน Code ไปหลักๆนั้นคือ มีอยู่ด้วยกันสองส่วนที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูจาก Project Hello World ครับนั่นคือ

* ไฟล์ activity_main.xml เป็นไฟล์หลักที่ใช้เขียนในการ Insert Component (การแทรกตัวหนังสือ รูปภาพ Textbox และอื่นๆเยอะมากๆ) เป็นไฟล์ที่กำหนดหน้าตาของแอฟพลิเคชั่นเราขึ้นมาครับ โดยหลักการการออกแบบ App Android จะไม่มอง View เป็นแบบ Picxel เด็ดขาด!!! เนื่องจากขนาดมือถือ Android นั้นมีหลายขนาดตั้งแต่ 3.5 นิ้ว ไปถึง 6 นิ้ว นี่สำหรับมือถือนะครับ เพราะฉะนั้น จะมองเป็นอัตราส่วนในการออกแบบ จะเป็นอย่างไร เอาไว้ผมเขียน Part พิเศษจะเล่าให้ฟังล่ะกันครับ

Screen-Shot-2559-01-25-at-11-30-56
Screen-Shot-2559-01-25-at-11-31-27

* ไฟล์ MainActivity.java เป็นไฟล์หลักที่ใช้ในการกำหนดเหตุการณ์ต่างๆบนแอฟพลิเคชั่นเราครับ โดยใช้ภาษา Java ผมยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ ให้ปุ่ม Calculate นั้นเอาค่าจาก EditText ทั้งสองตัว มา บวก ลบ คูณ หาร โดยใช้เลือกเครื่องหมายจาก RadioButton แล้วมาแสดงผลบน Textbox โดยการใช้ OnClick

Screen-Shot-2559-01-25-at-11-37-07

>> ไฟล์หลักๆที่เราจะต้องคุ้นเคยในการเขียนแอฟคือ activity_main.xml เป็นตัวหลักๆในการกำหนดหน้าตาของแอฟพลิเคชั่น แทรกวัตถุต่างๆลงไป ต่อสำคัญไม่แพ้กันก็คือ MainActivity.java ใช้สำหรับสร้างเหตุการณ์ต่างๆบน App ของเรานั่นเอง

จบแล้วครับสำหรับ Introduction สำหรับมือใหม่ ลองลงโปรแกรมแล้วรัน Hello World กันดูครับ เดี๋ยวเอาไว้ Part หน้ามีเวลา ผมจะมาเล่าเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบ Application Android ให้ฟังต่อไปครับ

ขอขอบคุณ

* รูปภาพจากคุณเนย ตัวอย่างในการนำเสนอการสอน และตัวอย่างวิดิโอการสอน Android (https://www.udemy.com/native-android-app-development-the-cheese-factory/)
* เนื้อหาอ้างอิงบางส่วนจากหนังสือ คู่มือเขียนแอฟ Android ด้วย Android Studio
* Android Authority — http://www.androidauthority.com/android-studio-tutorial-beginners-637572/
* Android Developers — http://developer.android.com/training/index.html

--

--