ระบบ P2P ของ Power Ledger ใช้งานจริงกับ BCPG ในโครงการ T77 ในกรุงเทพ ประเทศไทย

khomdet
Powerledger
Published in
2 min readAug 22, 2018
โครงการ T77 ของแสนสิริ ใช้แผงโซล่าเซลล์จาก BCPG และ Power Ledger (รูปจาก BCPG)

จุดเด่น

  • พลังงานจากแสงอาทิตย์มากถึง 581KW จะถูกใช้อยู่ในระบบในโครงการ T77 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ประกอบการศูนย์การค้า โรงเรียนนานาชาติ เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์และโรงพยาบาลทันตกรรม
  • การทดลองครั้งนี้ เป็นโครงการใช้จริงแรกในภูมิภาค ASEAN โดยมี การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้อนุญาติให้ใช้เครื่อข่ายในการซื้อ-ขายไฟฟ้าระหว่างผู้ประกอบการในโครงการ
  • ระบบ P2P ของ Power Ledger จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้จากการใช้ไฟฟ้าจากผู้ที่มีผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน และทำให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขี้น
  • BCPG และ Power Ledger ได้ตกลงว่าจะใช้รูปแบบการใช้งานเดียวกันนี้กับอีก 3 ปีข้างหน้าภายหลังจากที่การทดลองครั้งนี้เป็นผลสำเร็จ

กรุงเทพ ประเทศไทย Power Ledger และ BCPG ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศไทย ได้เปิดตัวการทดลองระบบซื้อ-ขายพลังงานทดแทน peer-to-peer (P2P) เป็นครั้งแรกในโลก ในโครงการ T77 ในกรุงเทพ

ระบบ P2P ของ Power Ledger นี้ จะมีการซื้อ-ขายไฟฟ้ามากถึง 581KW ที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์จาก BCPG ระหว่างผู้ประกอบการในโครงการ T77 ด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการซื้อ-ขายไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนไฟฟ้าของผู้บริโภค

การประกาศครั้งนี้ เป็นประกาศต่อเนื่องจากข้อตกลงระหว่าง BCPG และ Power Ledger ที่ทำขึ้นเมื่อเดือนธันวาคน ปี 2017 ที่ผ่านมา เพื่อนำระบบซื้อ-ขายผลังทดแทนแบบ distributed มาใช้ในประเทศไทย

โครงการ T77 ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ด้วยเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท แสนสิริ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชาวไทย และชาวต่างชาติ

ผู้ประกอบการในโครงการที่จะร่วมในการซื้อ-ขายผลังงานครั้งนี้ ได้แก่ศูนย์การค้า Habito โรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ Park Court และโรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ

BCPG จะเป็นผู้ออกแบบและติดตั้งมิตเตอร์กับแผงโซล่าเซลล์ ในขณะที่ Power Ledger จะเป็นผู้นำเทคโนโลยีบล๊อกเชน และระบบการซื้อ-ขายแบบ P2P มาใช้วัด คิดเงิน และประเมินการใช้ไฟฟ้าในมิตเตอร์ 18 แห่งในโครงการ

โครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งจะอนุญาตให้การซื้อ-ขายในโครงการนี้ ทำผ่านเครือค่ายของ กฟน. ได้ การร่วมมือครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในภูมิภาค ASEAN ในรูปแบบนี้

โครงการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับโครงการในอนาคตอื่นอีกต่อไปในภูมิภาค

อีกทั้ง BCPG และ กฟน. ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพัฒนาผงโซล่าเซลล์ในอีก 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ โฆษก กฟน. ได้กล่าวว่า กฟน. คาดการณ์ว่าการซื้อ-ขายพลังงานแบบ P2P จะเป็นรูปแบบการผลิตพลังงานหลักในอานคต

BCPG กฟน. และ Power Ledger จะเป็นตัวอย่างให้กับตลาดและหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทยและภูมิภาค ASEAN ให้เห็นว่า ต้นทุนด้านพลังงานสามารถลดลงได้ด้วยการอนุญาติให้ผู้ที่มีการผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน ขายไฟฟ้าให้กับผู้ต้องการใช้ไฟฟ้าอื่นโดนตรง

ต่อจากความสำเร็จในการทดลองครั้งนี้ Power Ledger และ BCPG จะนำรูปแบบการใช้งานเดียวกันนี้กับอีก 3 ปีข้างหน้า

David Martin ในงานเปิดตัวระบบซื้อ-ขาย P2P ในโครงการ T77 (รูปจาก Power Ledger)

กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) ของ Power Ledger David Martin กล่าวว่าการร่วมมือกับ BCPG ในครั้งนี้ จะทำให้หลายๆ ฝ่ายเห็นถึงประโยชน์ของการซื้อ-ขายพลังงานแบบ P2P นอกจากนี้ Martin ได้กล่าวว่า การทดลองในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นว่าระบบบล๊อดเชนของ Power Ledger สามารถทำให้ตลาดมีธุรกรรมซื้อ-ขาย ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และด้วยข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือดัดแปลงได้ (immutable) ได้

Martin ได้กล่าวเพิ่มอีกว่า การทำให้โครงการ T77 ใช้งานได้จริง จะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้คนที่มีการผลิตพลังงานส่วนเกินขายพลังงานนั้นได้จริง และประเทศไทยจะเป็นแบบอย่างที่ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีแบบ distributed สามารถนำมาใช้กับภาคพลังงานทดแทนได้ Power Ledger ดีใจมากที่ได้ร่วมมือกับ BCPG และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างอนาคตที่ผลิตพลังงานได้ด้วยปริมาณคาร์บอนที่ต่ำ

เกี่ยวกับ Power Ledger: Power Ledger เป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุตสหกรรมพลังงาน Power Ledger เป็นระบบที่รวม application แบบเทคโนโลยีบล๊อกเชน ผลิตภัณฑ์แรกของ Power Ledger คือระบบการซื้อ-ขายพลังงานแบบ P2P ที่จะทำให้บ้านเรือนที่สามารถผลิตพลังงานได้ สามารถขายพลังงานที่ผลิตได้ในราคาที่กำหนดไว้เอง นอกจากนี้ Power Ledger ยังได้พัฒนาผลิตพัณฑ์อื่นๆ อีก ได้แก่ microgrid trading , carbon product trading , electric vehicle settlement และ asset germination events

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.powerledger.io

เกี่ยวกับ BCPG: บริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนหลักของบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) BCPG ประกอบธุรกิจใน 4 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเทคโนโลยี 3 ประเภทได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ ปัจจจุบัน BCPG มีกำลังการผลิตพลังทดแทนประมาณ 600MW และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเป้าหมายหลักในการผลิตพลังงานสีเขียวทั่วโลก BCPG ยังกระจายความเสี่ยงเพื่อมองหาวิธีผลิต ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอีกต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.bcpggroup.com

--

--