แบ่งปันประสบการณ์ Software Development with Vue.js แบบปอดีแจ่ม

Arreeya Chaosuan
PranWorks
Published in
2 min readJun 3, 2019

หลังจากได้มีโอกาสไป workshop Software Development with Vue.js แบบปอดีแจ่ม เมื่อวันที่ 25–26 พฤษภาคมที่ผ่านมาก็เลยอยากจะมาแบ่งปันให้ทุกๆคนฟังกัน โดยในงานก็แบ่งเป็นสองเรื่องใหญ่ๆคือ Software Development และ Vue.js

โดยเรื่องของ Software Development ผู้จัดได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในด้านการพัฒนาซอฟแวร์ แชร์ปัญหาต่างๆที่พบเจอและวิธีการแก้ปัญหา ซึ้งส่วนนี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน โดยผู้จัดได้ให้ผู้ร่วมงานแบ่งปันปัญหาที่ตนเองพบเจอในระหว่างการพัฒนาซอฟแวร์ ซึ้งปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้ร่วมงานพบเจอคือ การที่ Requirement ของการ Development Software มักจะเปลี่ยนแปลง ซึ้งผู้จัดก็ได้แนะนำวิธีการรับมือปัญหาเหล่านี้ได้อย่างน่าสนใจ สรุปใจความได้ว่า ช่วงเวลาก่อนการ Development Software เป็นช่วงที่ควรให้ความสำคัญซึ้งช่วงนี้เป็นช่วงที่หลายๆคนอาจมองข้ามไป โดยความสำคัญของช่วงนี้คือ สามารถเตรียมพร้อมในเรื่องของการประเมินความเสี่ยงต่างๆก่อนการเริ่มพัฒนาซอฟแวร์ เป็นช่วงที่สามารถทำการต่อรองได้ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบมากกับการพัฒนาซอฟแวร์

ในส่วน Vue.js นั้นเป็นเรื่องของการพัฒนา Progressive web ด้วย vue.js โดยนำหลักการของ Software Development มาปรับใช้

โดยผู้จัดได้เริ่มตั้งแต่การแนะนำ Tool ต่างๆที่จะต้องใช้ในworkshop ซึ้งได้แก่

  1. visual studio code และ extension ได้แก่ Live Share ,Prettier code formatter , Live Server , Code Runner , Git Len
  2. Chocolatey

3. Nodejs

4. Yarn

เมื่อผู้จัดได้อธิบายถึงพื้นฐานการใช้ javascript เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนเข้าสู่ vue.js แล้วก็เริ่มการติดตั้ง vue.js โดยวิธีการติดตั้งนั้นมี 3 วิธี

1. ติดตั้งผ่าน CDN

2.ติดตั้งผ่าน npm

3.ติดตั้งผ่าน CLI

โดยในworkshop นี้ได้ทำการติดตั้งผ่าน CLI สามารถดูรายละเอียดการติดตั้งเพิ่มเติมได้ที่ https://vuejs.org/v2/guide/installation.html

เมื่อติดตั้งแล้ว ก็เข้าสู่เนื้อหาของvue.js โดยภาพรวมสรุปได้ดังนี้

  1. Vue code structure
  2. Component System
  3. Component Options ได้แก่ Data , Computed, Binding, Two Way Data Binding, Two Way Data Binding, Methods, Events, Render Condition if, Render Condition Loop, Watch, Components, Props
  4. Component Communication
  5. Vue Router
  6. Vue Axios

หลังจากที่เรียนเนื้อหาของvue.jsไปแล้วนั้นก็ได้ทดลองสร้าง Progressive web จำลองการเปิด ปิดไฟ และDeploy ผ่าน firebase

จากนั้นก็ได้เริ่มลงมือทำ app แสดงค่าฝุ่นละอองโดยการทำแอพนี้พิเศษกว่าแอพเปิดปิดไฟคือ ต้องนำ software development process มาใช้โดยเริ่มตั้งแต่การคิด Feature,ลำดับความสำคัญของ Feature ,การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม และการจัดสรรเวลาโดยในระหว่างการเรียนนี้ผู้จัดก็ได้แนะนำเทคนิคที่น่าสนใจต่างๆมากมาย

ตลอดระยะเวลา 2 วันกับ workshop Software Development with Vue.js แบบปอดีแจ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่ามาก ได้ทั้งความรู้ด้าน Software Development และ vue.js เหมาะกับการเริ่มต้นเขียน Vue.js เพราะผู้จัดได้ปูพื้นฐานอย่างละเอียดและสามารถตอบคำถามผู้เรียนได้อย่างตรงจุด แต่ด้วยระยะเวลาสองวันจึงทำให้เนื้อหาบางส่วนถูกเร่งรัดจนเกินบ้าง แต่ในภาพรวมถือว่าเป็น workshop ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีอีกงานหนึ่งเลย

--

--