ทำไมการเขียนจึงเป็น The Essential Habit of the Decade: ความคิดที่เฉียบคม ก็เหมือนนมที่แช่เย็น (ตรงไหน 🤣)

Kamin Phakdurong
Product Mixtape
Published in
2 min readMar 16, 2022

ในปี 2022 Content ประเภทงานเขียนมีความสำคัญน้อยลงเรื่อย ๆ สังเกตจากตัวเองก็ได้ว่าพวกเราส่วนใหญ่อ่านหนังสือน้อยลงมาก ๆ อยากจะเรียนรู้เรื่องอะไร หาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ก็ Search หาวิดีโอดูก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อนนักเขียนหลายคนจึงตั้งคำถามว่า เอ๊ะ! ทำไมฉันยังต้องเขียนอยู่ ทั้ง ๆ ที่ Live สดพูดทีเดียว ก็อาจจะมีคนได้รับสาสน์เป็นหลักหมื่น หลักแสน หลักล้านแล้ว ในขณะที่ต่อให้เป็นหนังสือขายดีระดับ Best Seller สุดท้ายจะขายได้ซักกี่ Copy กันเชียวหนา

สำหรับประเด็นนี้เกิดจากการที่ผมได้ไปฟัง Jordan Peterson พูดเมื่อวันก่อนว่า ถึงแม้ในปัจจุบัน เขาจะพยายาม Engage กับแฟน ๆ ผ่าน Content รูปแบบอื่นในช่องทางออนไลน์มากขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีอะไรมาแทนที่การเขียนได้จริง ๆ สำหรับเขา คนที่ได้รับ Benefit ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการเขียน ก็คือตัวเขาเอง ซึ่งผมว่ามันใช่เลย!
.
(เพราะอะไรหน่ะเหรอ)
.
(อยากรู้ต้อง…ตามไปดู)
.
ถ้าเราลอง Breakdown การเขียนอะไรซักอย่างออกมาแบบคร่าว ๆ อาจจะสามารถแบ่ง Step ได้ดังต่อไปนี้

  1. การ Set Intention นั่งลง แล้ว…ฮึบ! 🔥 — การเขียนถือเป็นกิจกรรม Deep Work อย่างนึงที่จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก Part ที่ง่ายก็คือมันไม่ได้ต้องใช้เครื่องมืออะไรมากมาย ปากกากระดาษก็เขียนได้ มือถือก็เขียนได้ คอมเครื่องนึงก็เขียนได้ แต่ Part ยากมันอยู่ที่หัว + ใจเของเราเนี่ยแหละ (ลองนึกถึงตอนต้องเขียนเปเปอร์จบสิ) ในโลกปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วย Distraction, Procastination และ Excuse การจะบังคับตัวเองให้นั่งลงเพื่อพาตัวเองเข้าสู่ Mode ที่จะเริ่มเขียนได้อาจ Tricky กว่าที่คิด (เพราะมันง่ายกว่าที่จะหยิบมือถือขึ้นมานั่งไถไปเรื่อย ๆ หน่ะสิ!)
  2. เขียนมันออกมาอย่างน้อย 1 หน้า! 😫 — Step นี้อาจต่างกันในรายละเอียดตามแต่เทคนิคของแต่ละคน บางคนอาจจะจับเวลา แล้วเขียนออกมาให้มากที่สุดแบบ Free Writing บางคนอาจจะเน้นการ Research แล้วเอาทุกอย่างมากองไว้ข้างใน ในขณะที่บางคนเน้นวาง Structure ของ Essay ก่อนเริ่มเติม Detail ทีหลัง แต่สุดท้ายก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเขียนมันอาศัย “การกลั่น” ไอเดียจากข้างในตัวเราให้ออกมาสู่โลกข้างนอก ซึ่งฟังดูง่ายแต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว เพราะไม่ใช่แค่การจะเล่าอะไร ต้องมาจากความเข้าใจในเลเวลที่สามารถ Internalize หรือ Crystalize ได้ แต่ยังอาจจะต้องสู้กับจิตใจของตนเอง On Some Level เช่นความรู้สึก Self-loathing หรือ Self-critical ที่อาจจะทำให้รู้สึกว่า การจะพิมพ์ซักประโยคออกมามันช่างยากเย็นเหลือเกิน และไม่ว่าอะไรที่อยู่ใน Draft แรกก็ดูจะดีไม่พอไปเสียหมด
  3. อ่านสิ่งที่ตัวเองเขียน (Step แห่งความทรมาน 👻) — ไม่รู้เพื่อน ๆ เคยมีประสบการณ์ที่ฝึก Present อะไรซักอย่างหน้ากระจก แล้วต้องอัดเสียงไว้เพื่อกลับมาฟังเสียงตัวเองไหม มันทรมานประมาณนั้นแหละ สำหรับการสื่อสารปกติในชีวิตประจำวันที่เน้นใช้ปาก น้อยครั้งในชีวิตที่เราจะได้กลับมาฟังว่า เอ๊ะ ฉันพูดอะไรออกไปบ้างนะ ที่พูดมันมีความเป็นเหตุเป็นผลขนาดไหน ประเด็นชัดเจนและแข็งแรงไหม การอ่านสิ่งที่ตัวเองเขียนออกมาจึงเป็นประสบการณ์ Surreal บางอย่างที่ไม่ได้หาได้บ่อย ๆ การมองไอเดียตัวเองจากมุมมองบุคคลที่ 3 ไม่ใช่เพื่อชื่นชม หรือต่อว่าตัวคนเขียน (ซึ่งก็คือฉันเอง) แต่เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่เราสามารถปรับปรุงให้สื่อสารได้แข็งแรงมากขึ้น
  4. Edit งานเขียน = ลับความคิด 🔪✨ — เมื่อเรา Identify จุดบกพร่องหรือจุดที่พัฒนาได้ในงานเขียนของเรา ตอนนี้เราจะค่อย ๆ เพิ่ม ลด ตัด ต่อ เพิ่มตัวอย่าง ลดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งไอเดียมันคม กระชับ เข้าใจง่าย แข็งแรง สุดท้ายอาจจะไม่ได้สำคัญเท่าไหร่แล้วว่าจะมีคนอ่านกี่คน แต่มันเป็นส่วนนึงของประสบการณ์ในการพัฒนาความคิดให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ในวันหน้าเมื่อต้องสื่อสารในประเด็นดังกล่าว เราก็จะสามารถสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น เพราะมี Clarity ในไอเดียที่เราจะสื่อ ซึ่งได้ผ่านการขัดเกลาบ่มเพาะมาแล้วหลายครั้ง

สุดท้ายงานเขียนที่ดี ที่สื่อสารได้กระชับ ตรงประเด็น และกระตุ้นความคิด อาจไม่ได้เริ่มต้นจากไอเดียที่โคตรว้าว เกิดจาก Eureka Moment ที่ร้อยปีจะมีครั้ง แต่คือไอเดียเรียบง่าย ธรรมดา ๆ ที่ผ่านการ Edit เคี่ยวกรำ และพัฒนามาแล้วหลายครั้งหลายหน ผมว่าใน Decade ข้างหน้า การเขียนจะสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อตัวคนทุกคนเอง ในโลกที่ Noise Frequency ปกคลุมความคิดของเราจนเป็นปกติ การเขียนอาจจะเป็นปราการด่านสุดท้าย เป็น Muscle ที่ควรค่าแก่การพัฒนา และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นความคิดตัวเองอย่างชัดแจ้งและเรียบง่ายที่สุดก็เป็นได้ ส่วนมันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านคนอื่น จะทำให้เกิดการแชร์ไอเดียมากน้อยเพียงไหน ก็ถือเป็นกำไรก็แล้วกัน 🍵

--

--

Kamin Phakdurong
Product Mixtape

Co-founder at LOOK ALIVE Studio (MIT based Startup) and a band member of The Dai Dai (Genie Records)