พัฒนา Product UX ให้ตอบโจทย์! Cheatsheet Design Method หลัก ๆ ที่ใช้สำหรับทำ Remote User Research

Kamin Phakdurong
Product Mixtape
Published in
2 min readDec 1, 2022

ความงงของการทำ Design ก็คือมันไม่มีผิดมีถูก ไม่มี Silver Bullet ถ้าต้องการทำ Discovery หรือจะ Validate Assumption เพื่อนำไปหา Solution ที่ใช่ต่อ หรือจะพัฒนา UX ของ Flow นี้ให้ดีขึ้น เราควรจะต้องใช้ Design Method ไหนดี โดยเฉพาะยุคนี้ที่มันค่อย ๆ Transition ไปเป็น Remote หมดแล้ว

วันนี้จะมาแนะนำการเลือก Method สำหรับ Remote User Research โดยหวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ นะครับที่กำลังประสบปัญหาเลือกไม่ถูก หรือไม่รู้ว่ามันมีอะไรบ้าง

ปล. ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ นึกออกมากกว่าที่ผม List มาก็สามารถ Share กันได้ Comment กันได้นะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ!

โดยเบื้องต้นผมจะทำการ Categorize Design Method ต่าง ๆ ออกเป็น 2 แกนนะครับ

แกน Y คือจะพูดถึงว่ามันเป็น Research ประเภทไหน ตั้งแต่ที่มันเป็น Qualitative (เชิงคุณภาพ) มาก ๆ ไปจนถึง Quantitative (เชิงปริมาณ) สุด ๆ

ซึ่งเวลาพูดถึง Qualitative Research (เชิงคุณภาพ) ก็มักจะพูดได้ว่า ต้องมีมนุษย์เข้าไป Moderate ด้วย เช่นการทำ User Interview เป็นต้น

ส่วน Quantitative (เชิงปริมาณ) มักจะเป็นอะไรที่ Automated ได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องของการวัดผลในสิ่งที่จับต้องได้ เป็นตัวเลข เช่นการทำพวก Analytics เก็บพวก Click Path

ทีนี้มาพูดถึงแกน X ซึ่งคือจะพูดถึง Insight/Deliverables ดิบ ๆ ที่ได้ จะเป็นข้อมูลประเภทไหน ตั้งแต่ที่มันเป็น Concrete หน่อย จับต้องได้ เข้าใกล้ Product หรือ Design จริง ๆ ทางฝั่งซ้าย ไปจนถึง Conceptual ที่จะเป็น Insight ในเชิง Concept วิธีคิด หรืออะไรที่จะต้องเอาไปคิดต่อ/แปลผลต่ออีกพอสมควรทางฝั่งขวา

ซึ่งถ้าเราแบ่งแกน X แบบละเอียด ๆ เราจะแบ่ง Categories คร่าว ๆ จากซ้ายไปขวาได้เป็น

  1. Product Analytics — เป็นการเทสกับ Live Product จริง ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็น Web หรือ App ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องลงพวก Product Analytics ที่นิยม ๆ ก็ Google Analytics, Mixpanel, Amplitude, Heap, etc.
  2. Wireframes — อันนี้จะเป็นการเทสกับพวก Design, Wireframe อาจจะใช้ Click Testing Tool ข้างนอกของพวก Optimal Workshop, UserZoom ที่ช่วยอำนวยความสะดวก (แต่ไม่ฟรี) หรือพวก UI Design Tool เช่น Figma ที่เดี๋ยวนี้ก็สามารถทำ Clickable Prototype ได้สบาย ๆ แต่ต้อง Moderate หน่อย
  3. Conceptual Artifacts — จะเป็นการเทสในเชิง Concept หรือไอเดียมากกว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ใน Stage ที่ยังไม่ออกมาเป็น Design เช่นพวก Card Sorting ที่เน้นดู Mental Model เรื่องการ Associate ของใน Site ของเรา
  4. Surveys — อันนี้จะยิ่ง Abstract เข้าไปใหญ่ เพราะเป็นการถามแบบตรงไปตรงมาเป็นคำพูดปากเปล่าผ่านตัวหนังสือ / Insight ที่ได้มักจะต้องเอาไปประกอบกับอย่างอื่น หรือไม่ก็ใช้ในการ Screen Participant สำหรับ Quantitative Research ประเภทอื่นต่อไป

ทีนี้ก็ลองมาดูกันครับว่ามี Design Method อะไรบ้าง และอะไรอยู่ในกลุ่มไหน

ซึ่งสุดท้ายเราไม่ต้องทำทุกอย่างก็ได้ครับ ให้ลองดูว่าตอนนี้ Hypotheses ไหนที่จำเป็นต้อง Validate ในตอนนี้ วิธีไหนที่เหมาะ รวมไปถึงว่า Stage ของ Product ก็สำคัญเหมือนกัน เพราะวิธีการ Test บางอย่าง จำเป็นต้องมีของ Launch ออกมาแล้ว ในขณะที่บาง Method สามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่มีของ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำหลาย ๆ Method แล้วเอาข้อมูลมาเทียบกัน (Triangulate) กัน จะค่อนข้างเป็นตัวช่วยเพื่อคุณภาพของการทำ UX Research ครับ ยังไงก็หวังว่าเป็นประโยชน์ต่อการเอาไปปรับใช้ของเพื่อน ๆ นะครับ ยังไงถ้ามี Method/Tool ไหนอยากให้เจาะเป็นพิเศษ สามารถบอกได้นะครับ ขอบคุณมากครับ!

--

--

Kamin Phakdurong
Product Mixtape

Co-founder at LOOK ALIVE Studio (MIT based Startup) and a band member of The Dai Dai (Genie Records)