Note-taking ≠ write to think สิ่งที่ได้จากการนั่งส่องสมุดโน้ตของ Leonado da Vinci

Kamin Phakdurong
Product Mixtape
Published in
2 min readAug 20, 2023

(เตือน: ยาวหน่อย เขียนไปเรื่อย แต่หวังว่าจะมีประโยชน์ ถ้าอ่านจบ 55)

หลังจากช่วงนี้ พยายามกลับมาใช้ปากกา กระดาษ ในการคิดมากขึ้น ตอนนี้เหมือนอยู่ในจุดที่เริ่มพยายามหา System หรือ Workflow หรือ Tool (หรือทุกอย่าง) ในการเก็บอย่างจริงจัง เพื่อให้มันเป็นระบบมากขึ้น‍

Personal Knowledge Management + วิธีจัดการกับ Information ในปัจจุบัน‍

ส่วนตัวถ้าเป็นพวกข้อมูลแนว Information + Personal Knowledge Management/Second Brain ก็จะใช้ Apple Notes เป็นหลัก หรือถ้าเป็นไฟล์ก็โยนเข้า Dropbox, Google Drive, OneDrive (ใช้ทุกตัวตอนนี้ ขึ้นอยู่กับ Project ขึ้นอยู่กับทีม + ลูกค้าสะดวกอะไร)‍

เวลาจะหาก็เน้น Search เอาเป็นหลัก ยังไม่ได้ทำระบบ Tag + Auto Folders อะไรจริงจังมาก (ใน Apple Notes) และก็เน้นจัดโฟลเดอร์ในทุกๆ Tools ให้มัน Follow Structure คล้ายๆ กัน (ตามแนวคิด PARA)

แล้ว To-dos + Tasks หล่ะ?

หรือถ้าเป็น Personal To-dos/Actionable Items ถ้าช่วง WFH ก็คือพยายามเขียนขึ้น Physical Whiteboard/Post-it + Schedule ใส่ Calendar ไปเลย ไม่งั้นก็คือเขียนเป็น To-dos เร็วๆ ใน Apple Notes ไปเลยในแต่ละวัน

แต่ส่วนตัวจะเป็นคนเขียน To-do List ที่จะต้องทำขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ บ่อยๆ อยู่แล้ว (โดยที่บางทีก็ไม่ได้มีเวลากลับไปดู Task ที่ list ไว้เมื่อวันก่อน คือใช้เวลากับความคิดว่ามีอะไรบ้าง และอะไรสำคัญ ณ เวลานั้น ก็เอาตามนั้นเลย)‍

ถ้ามันเป็น Task ที่เป็น Commitment ต่อคนอื่น และมันสำคัญจริงๆ (ทั้งต่อตัวเรา และคนที่เรามี Commitment ร่วมกัน) // หรือถ้ามันมี Hard Deadline ชัดเจน // หรือถ้ามันเป็นอะไรที่เรา Plan Project ระยะยาวและซอยย่อยไว้อยู่แล้ว มันมักจะถูก Schedule ไว้ใน Calendar ของเราตั้งแต่แรก เพราะงั้น Task ประเภทนี้มักไม่ตกหล่น

เรื่อง To-dos อาจจะดูกระจัดกระจายหน่อย จริงๆ ระบบการเขียน To-do ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ผมจะไม่ค่อยรู้สึกกังวลว่าจะตกหล่นมากนักอย่างที่บอก จริงๆ ในทางตรงข้าม ผมว่ามันกลับทำให้ To-do ที่เราดูผิวเผินแล้วนึกว่าสำคัญหรือเร่งด่วนจะเป็นจะตาย ค่อยๆ อันตรธานหายไปเอง เรียกว่าเป็น Natural Selection อย่างแท้จริง (เพราะถ้าสำคัญจริง คือมันจะอยู่ใน Calendar เอง)

ระบบนี้ รู้สึกว่า Work กับชีวิตช่วงนี้อยู่ เพราะมัน Flexible และก็ไม่ต้องเสียเวลามานั่ง Maintain อะไรมากมาย (เพราะแค่นี้ก็ยุ่งจะตายอยู่แล้วจ้า!) แถมเราก็อยู่ใน Position ที่มีอำนาจในการจัดการ Agenda และเวลาของตัวเองประมาณนึง

Write to Think เขียนเพื่อคิด

แต่ที่พูดมาซะยาว คือมันจะมีการเขียนอีกประเภทนึง ที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนแรก (โหย พูดยาวซะจนลืมไปแล้วเนี่ย!) ที่เป็นการเขียนเพื่อยังไงดีหล่ะ

เขียนเพื่อ “คิด” อะไรบางอย่าง คือมันไม่เชิงเป็นการเขียนเพื่อจด Information แต่อาจจะตกตระกอน หรือเขียนเพื่อ Develop Vision ของตัว Project หรือไม่ก็ Develop Idea ใหม่‍

เคยเล่าให้แฟนฟังเป็นภาษาคอมว่ามันไม่ใช่การเขียนกันลืมเพื่อเก็บ Information ลง Harddrive แต่เป็นการเขียนเพื่อ Extend RAM ในสมองตอนคิดมากกว่า

ซึ่งถึงตอนแรกที่กล่าวว่ากลับมาใช้กระดาษปากกามากขึ้น จริงๆ ก็ไม่เชิงว่าจะใช้แค่กระดาษปากกาอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับตอนนั้นมีอะไรมากกว่า บิลใบเสร็จ, สมุดเล่มนู้นเล่มนี้ ซึ่งมีอยู่ทุกกระเป๋าและทุกซอกในบ้าน, Whiteboard, Post-it, FigJam Board เป็นต้น

ปัญหาก็อาจจะเป็นว่ามันกระจัดกระจาย ทำให้อาจจะไม่ค่อยได้กลับมาดู เรียกว่ามันได้ประโยชน์แค่ครึ่งเดียว คือทำให้ความคิดหรือไอเดียเรากระจ่างขึ้น “ณ ตอนนั้น” แต่ก็พลาดโอกาสที่จะกลับมา “Analyze + Edit + Reflect” ไอเดียเก่าของตัวเอง และ “ประติดประต่อ” สร้างเป็นไอเดียดีๆ อันใหม่ต่อไป

ตอนนี้ก็เลยยังมองหา System ใหม่ที่มัน Balance ระหว่างความเป็น Analog (มีความรู้สึกเป็นธรรมชาติในการคิด + Free form ประมาณนึง) พกง่ายพกสะดวกอยู่ได้ทุกที่ (รวมทั้งห้องนอน Prefer ให้ไม่มีแสงฟ้า จริงๆ อนาคตถ้ามันกันน้ำ อยู่ในห้องน้ำได้ด้วยก็ดี ตอนนี้ยังไม่มี…รึเปล่านะ) และก็มี Way ในการ Organize ที่ทำให้กลับมาดูได้ง่าย (อารมณ์แบบ Digitize ได้)‍

ซึ่งตอนนี้ถึงจะไม่ใช่ Solution ที่ Perfect แต่ก็ดู Remarkable 2 (E-ink Tablet) อยู่ ซึ่งน่าจะตอบโจทย์ถ้าเน้นความ Spontanous + Analog ของมัน แบบหยิบมาเขียน แล้วค่อย Organize ทีหลัง

Concept เรื่อง Commonplace Book และเหล่าสมุดโน้ตของคนดังในประวัติศาสตร์‍

อ้อ และก็ระหว่าง Research ไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอ Concept ของสมุดที่เอาไว้ “เขียนเพื่อคิด” ฝรั่งเรียกว่า Commonplace Book ซึ่งมันไม่เชิงเป็น Diary ซะทีเดียว เพราะมันไม่ได้เขียนว่าวันนี้ฉันทำอะไร กินอะไร เจอใครที่ไหน รู้สึกอย่างไร แต่จะใช้สมุดปากกา เป็นเหมือน “สถานที่” ให้ Idea ต่างๆ ในหัวมา “สมาคม (Mingle)” กันมากกว่า

จึงไม่แปลกเลยว่า Great Thinkers ในประวัติศาสตร์หลายคน ก็มักจะมีคนไปค้นเจอ Notebook หรือ Commonplace Book เจ๋งๆ ให้เราได้อ่านกัน (หลังเขาตายแล้ว)

ที่ดังๆ ก็เช่นสมุด (หลายคนเรียก Diary ซึ่งจริงๆ มันไม่ได้เป็นบันทึกชีวิตประจำวันซะทีเดียว) ของ Marcus Aurelius หนึ่งในจักรพรรดิดีของโรมัน (แถวๆ ศตวรรษที่ 1–2) ที่สุดท้ายกลายเป็นแนวคิดเรื่อง Stoic

หรืออีกอันที่ดังก็คือ Notebook ของ Leonardo da Vinci ที่เต็มไปด้วยไอเดีย + โน้ตจากการสังเกตนู่นนี่อันสุดแสนบรรเจิดของเขา

(ที่เขียนออกมา พอดี ไปเดินเจอ + สอยหนังสือ Leonado da Vinci: The Complete Works ได้ในราคาถูก เลยเกิดแรงบันดาลใจ)

ทั้งหมดทั้งมวล ถ้าใครมี technique อะไรก็แชร์กันได้ครับ หรือถ้าใครใช้ Tool หรือมี Workflow ยังไง ก็ได้โปรดชี้แนะด้วย ขอบพระคุณครับ!

--

--

Kamin Phakdurong
Product Mixtape

Co-founder at LOOK ALIVE Studio (MIT based Startup) and a band member of The Dai Dai (Genie Records)