จอห์น ลอว์ วิศวกรการเงินคนแรกของโลก

NUTHDANAI WANGPRATHAM
Quant CU
2 min readJun 16, 2024

--

Quant ถูกเรียกอีกอย่างว่า วิศวกรรมการเงิน(Financial Engineering) ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? วิศวกรคือผู้ที่สร้างระบบที่ซับซ้อน รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน หรือแม้กระทั้งคอนโด 100 ชั้นแล้ว Quant สร้างอะไรแหละถึงถูกเรียกว่าวิศวกร

Quant สร้างสิ่งที่ซับซ้อนยิ่งกว่า แต่สิ่งที่ยั่วยวนนั้นหาใช่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่คือค่าตอบแทนจากการสร้างสิ่งนั้นมหาศาลมาก

พี่เลยจะเล่าเรื่องของ วิศวกรการเงินคนแรกของโลก ที่ชื่อ จอห์น ลอว์ นักเดิมพันแห่ง เอดินบะระ

กำเนิดนักเศรษฐสาตร์ ไม่สิ นักพนันแห่งเอดินบะระ

จอห์น ลอว์เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยและได้รับการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาคลาสสิกและการฝึกฝนธุรกิจจริง การสัมผัสกับการค้าและการเงินตั้งแต่ยังเยาว์วัย พร้อมกับทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมของเขา ทำให้เขาพร้อมสำหรับความพยายามในอนาคต ความหลงใหลของลอว์ต่อกลไกของเงินและการธนาคารเติบโตขึ้นระหว่างการเดินทางข้ามยุโรป ที่ซึ่งเขาได้ศึกษาระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ

แต่ชีวิตชายหนุ่มผู้เพียบพร้อมผู้นี้ก็หาได้โรยด้วยกลีบกุหลาบไม่ เมื่อเข้าก่อเหตุทะเลาะวิวาทและต้องลี้ภัยในยังต่างแดน เด็กหนุ่มชาวสก็อตแลนกลับทำเงินมหาศาลจากคาสิโนด้วยการเปิดรับแทงพนันโดยมีกติการที่ว่าหากคุณสามารถทอยลูกเต๋าออก 6 ได้ 6 ลูกรับไปเลย 10,000 เหรียญ โดยที่จ่ายเพียงแค่ 1 เหรียญ

เป็นการเดิมพันที่น่าสนใจใช่ไหมกับจำนวนมหาศาล

โนววววว จอห์น ลอว์ แค่ใช้กฏความน่าจะเป็นและกฏของจำนวนมากมาหลอกเราเท่านั้น การเดิมพันข้างต้นดูคราวๆเหมือนจจะน่าสนใจ แต่ๆๆๆ จริงๆ รางวัลจากการเดิมพันที่ควรจะเป็นคือ 46,656 ต่างหากเล่า

ตัวเลขนี้มาได้ไงมันคือ 6 x 6 x 6 x 6 x 6 x 6 = 46,656 เพราะว่าน่าจะเป็นที่จะทอยได้ 6 ในหนึ่งลูกคือ 1 ใน 6 แล้วถ้ามีลูกเต๋าสองลูกความน่าจะเป็นที่ทั้งสองลูกจะออก 1/36 เลข 36 คือ 6 x 6 ที่มาจากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ และเราสามารถคูณความน่าจะเป็นนี้เพื่อหาค่าที่ควรจะเป็นได้ เช่นเดียวกับรางวัลเลขท้ายสองตัว

กำเนิดวิศวกรรมการเงิน

ผลงานชิ้นสำคัญของลอว์ “Money and Trade Considered” ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1705 ได้อธิบายแนวคิดการเงินและการธนาคารที่ปฏิวัติวงการของเขา เขาแย้งว่าเงินเป็นเพียงวิธีการแลกเปลี่ยน ไม่ใช่ที่เก็บมูลค่า ซึ่งขัดแย้งกับทัศนะแบบเมอร์แคนทิลิสต์ในขณะนั้นที่ถือว่าความมั่งคั่งเกิดจากการสะสมทองคำและเงิน ลอว์เสนอว่าความมั่งคั่งของประเทศสามารถขยายได้โดยการออกธนบัตรที่ได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่กลายมาเป็นรากฐานของระบบการเงินสมัยใหม่

ลอว์เดินทางไปที่ประเทศฝรั่งเศษประเทศมหาอำนาจที่ตกตำ่ขั้นสุดจากการจากไปของสุริยกษัตริย์พร้อมกับมรดกหนี้ก้อนโตที่ราชาผู้ยิ่งใหญ่ทิ้งเอาไว้

แผนของนักการเงินจากสหราชอณาจักรคือการก่อตั้งธนาคารกลางที่ชื่อ “Banque Générale” แล้วออกเงินกระดาษที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองหรือโลหะเงินได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการแลกเปลี่ยน ส่วนที่สองคือการก่อตั้งบริษัทมิสซิสซิปปีและผูกขาดการค้ากับรัฐลุยเซียนา

โครงการมิสซิสซิปปี

“เบเอลเซบูลมีบุตรชื่อลอว์
ลอว์มีบุตรคือบริษัทมิสซิสซิปปี
บริษัทมิสซิสซิปปีมีบุตรคือระบบการเงิน”

Het Groote Tafereel der Dwaasheid

(The Great Mirror of Folly)

ความทะเยอทะยานของลอว์ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1716 เขาได้ก่อตั้งธนาคารเจเนราลในฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นธนาคารแห่งชาติที่เรียกว่า “Banque Royale”และลอว์ได้รับให้จัดการบริษัทการค้าสัญชาติฝรั่งเศษซึ่งมีการผูกขาดการค้าและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนอเมริกาเหนือของฝรั่งเศส

หลักการของลอว์ เปรียบดั่งการเล่นแร่แปรธาตุด้วยพลังของเงินกระดาษ หุ้นกระดาษในบริษัทถูกซื้อด้วยเงินกระดาษที่ออกโดยธนาคารคล้ายกันการทำงานของเครื่องจักรนิรันดร์

เงินก็ไม่ได้ผูกกับโลหะมีค่า มูลค่าของเงินถูกผูกไว้กับราชวงศ์ฝรั่งเศษ รัฐบาลสามารถพิมเงินเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ ประชาชนทุกคนได้รับผลดีของความมหัจรรย์ระบบเศรษฐกิจของ ลอว์ เงินถูกหมุนเวียนอย่างมากทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว

ลายเซ็นของ John Law

เป็นแค่เรื่องของโชค

กลยุทธ์ที่กล้าหาญของลอว์เกี่ยวข้องกับการออกธนบัตรจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลงทุนในโครงการอาณานิคม ความสำเร็จในช่วงแรกของโครงการนี้นำไปสู่ความคลั่งไคล้ในการเก็งกำไร เนื่องจากผู้คนเชื่อในศักยภาพที่ไม่มีที่สิ้นสุดของดินแดนอเมริกา อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปทานเงินพร้อมกับความคาดหวังที่ไม่สมจริง ทำให้เกิดการล่มสลายทางการเงินที่เลวร้ายในปี ค.ศ. 1720 ซึ่งเรียกว่าฟองสบู่มิสซิสซิปปี

เอาเข้าจริง ๆ แล้วลอว์ผิดพลาด ชั่วร้ายหรือแค่โชคร้าย แม้กลยุทธ์ของชายผู้นี้อาจจะดูเหมือนการตีฟูสร้างเงินจากอากาศ แต่แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดที่แปลกประหลาดอย่างใด บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤตและฮอลแลนด์ก็ใช้วิธีการเดียวกัน

แนวคิดของลอว์มันการไม่ต่างอะไรกับการทำ QE ของสหรัฐ ธนาคารกลางพิมพ์เงินโดยไม่ต้องมีอะไรคำ้ประกันเพื่อให้รัฐกู้?

วิศวกรรมการเงินเป็นวิศวกรรม?

Quant ไม่ต่างอะไรกับวิศวกรรมในฝั่ง Buy side ที่เป็นงานที่ผมทำงานของเราหลายชิ้นถูกเรียกว่าเพิ่ม “ประสิทธิภาพ” , “มีประสิทธิภาพ” ซึ่งทำให้เราดูเหมือนวิศวกร รวมถึงการสร้างสิ่งที่แปลกประหลาดหยืบโน้นผสมนี้

แต่ในทางวิศวกรรม เรารู้หลักฟิสิตส์มันมีกฏตายตัวทุกอย่างทำตามกฏบางอย่างที่พิสูจน์ได้ แล้วในทางการเงินมันมีกฏแบบนั้นจริงหรือ แบบจำลองใดๆ ก็ตามคือการทำให้ความเป็นจริงง่ายขึ้นแต่ในตลาดเงินมันมีความจริงหรอหรือเป็นแค่พฤติกรรมมั่วๆของผู้มีส่วนร่วมตลาด แลร์รี ซัมเมอรส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ (Chief Economist) ของธนาคารโลก (World Bank) เขาได้บอกทุกคนว่า “จงแพร่ความจริง ว่ากฎของเศรษฐศาสตร์นั้นเหมือนกับกฎของวิศวกรรม โดยมีกฎชุดหนึ่งที่เป็นจริงเสมอ” แต่ทว่า “กฎของเศรษฐศาสตร์” มันไม่มีจริง เพราะว่าไม่มีอะไรที่สามารถทำซ้ำได้ แม้จะมีคำกล่าวที่ว่า คุณไม่สามารถโต้เถียงกับฟิสิกส์ได้ แต่ที่แน่ ๆ คือ คุณสามารถโต้เถียงกับเศรษฐศาสตร์ได้

มนุษย์ใช้เวลาและศักยภาพส่วนใหญ่ในการสร้างงานและคุณค่าให้แก่สังคม? ทำไมวิศวกรรมจบใหม่จ้องหน้าจอคอมเพื่อหารูปแบบของราคาแทนที่จะไปสร้างคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาให้สังคมจริงๆ

— คำตอบต่อคำถามสำรวจ “คุณจะอธิบายการเงินเชิงปริมาณอย่างไรในงานเลี้ยง ? ” Money Folmula

--

--

NUTHDANAI WANGPRATHAM
Quant CU

I am a learner and have a multipotential life. You can contact me at nutdnuy@gmail.com