แพทย์แนะนำ คนอ้วนไม่ควรดูดไขมันเพื่อลดน้ำหนัก
“โรคอ้วน” เริ่มเป็นปัญหาในไทยที่เห็นชัดขึ้นทุกปี บางคนกินแบบไม่สนใจอะไร อ้วนตั้งแต่เด็ก ไม่แคร์กับโรคประจำตัวตอนอายุมากก็มี จนเมื่อเป็นโรคแล้วถึงคิดได้ว่าควรลดน้ำหนัก ถึงตอนนั้น การลดน้ำหนักจะกลายเป็นเรื่องยากมาก ทั้งอัตราเผาผลาญในร่างกายที่ต่ำลง ร่างกายที่ไม่รองรับการออกกำลังกายหนักๆ บวกกับ เวลาทำงานที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาให้บริหารร่างกาย รวมถึง เปลี่ยนพฤติกรรมการกินก็ยาก มีแต่ของอร่อยทั่วไทยเรียกร้องให้ไปเยือนถึงถิ่น แถมในตัวเมืองโทรสั่งได้ 24 ชั่วโมง จะลดได้อย่างไร ?
ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ดูดไขมัน เป็นอะไรที่ฟังดูดี “อ้วนเพราะไขมัน — เอาไขมันออก = ผอมเพียว” เหมือนเป็นสมการที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ 2019 สบายปาก ลำบากหมอ ไปให้แพทย์ช่วยแทน ดูดไขมันแบบเหมาทั้งตัวยิ่งฟังดูเลย แต่หลายคนมารู้สึกผิดทีหลังก็มีไม่น้อย
ดูดไขมัน เพื่ออะไร ?
ศัลยกรรมดูดไขมัน (Liposuction) เหมาะสำหรับผู้ที่มีรูปร่างและน้ำหนักตัวที่ปกติ ต้องการจะมีสัดส่วนที่ดีขึ้นหรือต้องการที่จะมีสัดส่วนในแบบที่ต้องการ และมีบริเวณที่มีการสะสมของไขมันที่กำจัดได้ยาก แม้จะมีการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหารแล้วก็ตาม
การออกกำลังกายให้เผาผลาญไขมันทั้งตัว เป็นทางเลือกหลักที่ดี แต่หลายคนที่น้ำหนักเข้าที่แล้ว แต่กลับยังมีส่วนเกิน หรือ สาวๆ ได้กล้ามเนื้อมาแทนจนดู ขาใหญ่ น่องใหญ่ ทำให้ศัลยกรรมเป็นทางเลือกในการแก้ไข
ดังนั้น การดูดไขมันไม่ได้เป็นการรักษาโรคอ้วน มีการจำกัดปริมาณไขมันที่ดูดได้ และจุดที่ดูดไขมันได้ ไม่ใช่ว่าดูดได้ทั้งตัว ต้องอาศัยการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไปด้วย
คนอ้วนดูดไขมันบางส่วนไม่ได้
บางส่วนของร่างกายจะไม่สามารถดูดไขมันได้ เช่น ไขมันช่องท้อง ทำให้ถึงลดไปได้บ้าง แต่ส่วนพุงยังคงยื่นจากท้อง อาจไม่ถึงกับแบนราบทันที (ขึ้นกับน้ำหนักตัว) ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เด็ดขาด ต่างจากการผ่าตัดตัดกระเพาะ
อีกทั้ง คนอ้วนมีส่วนระดับอันตรายในการศัลยกรรมทุกชนิดอยู่ 5 ระดับ (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ช่วงท้ายคลิปด้านล่าง) โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 ขึ้นไป ควรเลือกลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแทนการดูดไขมัน อย่าง การผ่าตัดกระเพาะ ที่คุม
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักเห็นผล แต่เหมาะกับคนอ้วนมาก
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักเป็นทางเลือกที่เริ่มพูดถึงมากขึ้น ไม่ว่าจะใส่บอลลูน รัดกระเพาะ ตัดกระเพาะแบบสลีฟ ผ่าตัดแบบบายพาส ที่เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ได้ ปรับพฤติกรรมการกินไปจากเดิมให้มีสุขภาพดีขึ้น หายจากโรคประจำตัวบางอย่างได้
เชื่อว่าคนไทยยุค 4.0 แทบทุกคนฟังชื่อวิธีครั้งแรก ก็เริ่มกลัวแล้ว ใส่ของเข้าไปในร่างกาย กับ ตัดกระเพาะออก ใครจะไปเชื่อว่าเป็นวิธีรักษาโรคอ้วน แถมใช้คำว่า “ผ่าตัด” เชื่อว่าเกือบทุกคนต้องนึกภาพการเอามีดผ่าท้องควักกระเพาะออก ซึ่งศัลยกรรมในปัจจุบัน เขาใช้เทคโนโลยีวิธีส่องกล้องกันหมดแล้ว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไม่เจ็บมากด้วย รักษาตัวไม่นาน
ดูดไขมันเหมาทั้งตัว เหมาะสำหรับคนอ้วนไหม ?
คนอวบเกินมาตรฐานเล็กน้อย อาจคิด ดูดไขมันเหมาทั้งตัว เพื่อลดน้ำหนักไปพอสมควร แล้วค่อยออกกำลังกายชดเชยให้เข้ารูปได้บ้าง ถือเป็นไอเดียที่น่าจะลงตัวกว่าการไปตัดกระเพาะ และไม่ต้องออกกำลังกายมาก ผอมแบบเร่งด่วน ทันใจ
แต่ก็ ถือเป็นทางเลือก ที่แพทย์ดูดไขมันมานาน ไม่ค่อยอยากแนะนำ
เพราะการดูดไขมันทั้งตัว เลี่ยงการเสียของเหลวในร่างกายและเลือดไม่ได้อยู่แล้ว ยิ่งดูดปริมาณที่มาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว บางคนกลับมาอ้วนเพราะเจ็บแผลจากดูดไขมัน จนอยากกินอาหารมากขึ้น อีกทั้ง ถ้าไม่ปรับตัว อาจกลับมาอ้วนได้ทุกเวลา
หลายรายมารู้สึกผิดทีหลัง อาจเสียเงินจำนวนมาก ไม่ได้ผล และเจ็บตัวอีกด้วย
สรุปเราอยู่รพไปหกวัน(จากในคอร์สสองหรือสามวันจำไม่ได้) ค่าเสียหายหกหลัก กลับบ้านพร้อมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหนึ่งกิโล คือบวมน้ำไง รวมทั้งแผลช้ำเลือดช้ำหนองที่ใครเห็นก็นึกว่าอีนี่ผัวซ้อมมา แถมเป็นคีลอยด์ทุกรอยแผล และกล้ามเนื้อตรงปีกไหล่อักเสบส่งผลให้แขนชาอีกหลายปี
ป.ล.1 ดูดไขมันไม่ทำให้น้ำหนักลด เหมาะสำหรับคนมีปัญหาส่วนสัดมากกว่ากลมไปทั้งตัว ที่สำคัญเจ็บมากๆๆๆๆๆ ถ้าไม่คุมก็เหมือนเดิม การดูดไขมันจริงๆแล้วควรเรียกกว่าพ่นน้ำแล้วแทงกระซวกรัวๆและค่อยดูดไขมันออกมามากกว่า ส่วน26 จุดที่ว่าคือ ต้นแขน4 ปีกหลัง 4 หน้าท้อง 4 บั้นเอว2 สะโพก 4 ต้นขาด้านหน้า4 ด้านหลัง4
ที่มา: Teenee
ดังนั้น การปรับพฤติกรรมการกิน กินอาหารให้ครบห้าหมู่ ไดเอ็ต ออกกำลังกาย จะช่วยได้ดีกว่าในระยะยาว
ถ้าต้องการลดบางส่วนให้กระชับเข้ารูป และมั่นใจว่าคุมน้ำหนักได้ ค่อยพิจารณาดูดไขมันเป็นทางเลือก
คลิป “ทำไมคนอ้วนไม่ควรดูดไขมัน” อธิบายโดย นพ. สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์