Market Research เพื่อหาความเป็นไปได้ของ Application

champillon
README.ick
Published in
2 min readFeb 5, 2020

เคยมั้ยครับ ว่าเรามี Application ที่ดีมากๆ และมันใช้ง่ายสุดๆ

แต่เราก็สามารถดึงดูด ให้ผู้ใช้มาใช้งานได้

.

แน่นอนครับว่า ทำ Application ให้เสถียรก็ว่ายากแล้ว

และทำ Application ให้ง่ายต่อการใช้งาน นั้นยากยิ่งกว่า

แต่หาเหตุผลและแรงจูงใจในการใช้งาน (ที่ทำเงินได้) นั้นยากที่สุด
.

พอเริ่มทำ Application ไปเรื่อยๆ แล้ว ประสบการณ์เลยสอนเป็นภาพดังนี้

ซึ่งแต่ละเรื่อง ที่จะแทคเกิลปัญหาแต่ละอย่างนั้น ต่างกัน

.

เรามาดูกันที่ Pain & Cost ก่อน

ส่วนนี้เป็นส่วนหลักที่ว่าจะทำให้เค้าอยู่กับเราได้นานขนาดไหน

เพราะถ้ามันคุ้ม ถึงมันห่วย เราก็ยังยอมจ่ายให้มันอยู่

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น รถไฟฟ้าในกรุงเทพ ช่วงที่เสียตลอด และแสนแพง และเบียด

แต่มันการันตีความสะดวกสบายในการเดินทางของเราได้

ทำให้เราไม่อยากเปลี่ยนสิ่งนั้นๆ

.

ดังนั้นธุรกิจที่เราจะสร้าง จึงต้องมีความคุ้มค่า ที่ตอบโจทย์ในจุดนี้

แล้วเราจะทำอย่างไรหล่ะ ถึงจะรู้ได้ว่าธุรกิจเรานั้นคุ้มค่าตอบโจทย์

.

เราใช้วิธีการที่ชื่อการทำวิจัยตลาดครับ

โดยการทำวิจัยตลาด มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ครับ

.

  1. สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน เพื่อหา pattern ของปัญหาที่เกิดขึ้น

ในขั้นตอนนี้ เราเริ่มสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน (ในปริมาณนึง เช่นประมาณ 20คน)

เพื่อเริ่มหา pain point ของปัญหาที่เค้าเผชิญ และดู pattern การซ้ำกันของปัญหา

.

เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 มาแล้ว จะพบว่า เรามี pattern ของปัญหา ที่ซ้ำๆกัน ของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม

โดยเราต้องจด pattern ของปัญหา และลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งาน ที่เข้าข่าย pattern นั้นๆ

แล้วเราจึงเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2

.

2. ลองแก้ปัญหา ที่มี pattern ซ้ำๆกัน ซึ่งเจอจากกลุ่มผู้ใช้นั้นๆ แล้วนำไปทดลองกับกลุ่มผู้ใช้งานว่า ปัญหานั้นแก้ได้จริงหรือไม่

เมื่อเราลองแก้ปัญหาให้กับกลุ่มผู้ใช้แล้ว เราจะได้รู้ว่าปัญหานั้นแก้ได้ด้วยวิธีของเราจริงๆหรือไม่

ซึ่งในขั้นตอนนี้ เราอาจจะยังไม่ต้อง automate ทุกอย่างก็ได้ เพราะมันเป็นการทดลองไม่กี่รายการ ซึ่งเรายัง manual ได้อยู่

และเมื่อรู้แล้วว่า วิธีไหน ที่เราจะแก้ปัญหาให้เค้าได้ เราจึเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3

.

3. ทำ Questionnaire เพื่อสำรวจเชิงปริมาณของกลุ่มตัวอย่าง

หลังจากเราทำ Questionnaire เพื่อดูปริมาณผู้ใช้งาน ที่เจอปัญหา pattern เดียวกัน (ซึ่งเรา solve ปัญหานั้นได้แล้วในข้อ 2)

เราจึงนำ จำนวนเชิงปริมาณของผู้ใช้งาน มาคำณวนความีคุ้มค่า และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ หรือที่เราเรียกว่า Feasibility Study นั่นเอง

.

--

--