Blockchain Explorer เครื่องมือสามัญประจำบ้าน!

CHK
Safe BSC
Published in
3 min readOct 19, 2021

ปัจจุบันผู้คนมากมายได้เข้ามาในโลกของ Blockchain กันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอยากจะลงทุนใน DeFi, NFT หรือแม้แต่กระแสที่มาแรงที่สุดในช่วงนี้อย่าง GameFi ก็ตามแต่ ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาส่วนต่างๆก่อนลงทุนและเป็นเรื่องที่ควรจะทำเป็นอันดับแรก ในบทความนี้จะมาอธิบาย Blockchain Explorer ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราควรจะทำความเข้าใจไว้ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเราอย่างไม่ต้องสงสัย

รู้จัก Blockchain Explorer

หากเป็นโลก Traditional Finance การตรวจสอบหรือดูการทำธุรกรรมย้อนหลังอาจจะมีข้อแม้บางประการ ไม่ว่าจะเป็นการที่เราไม่สามารถมีสิทธิ์เข้าดูข้อมูลทั้งหมดด้วยตัวคนเดียวได้ หรือความล่าช้าในการตรวจสอบเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ หรือแม้แต่การเข้าไปตรวจสอบยังธุรกิจที่เราลงทุนอยู่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่พออยู่บนโลกของ Blockchain การตรวจสอบหรือติดตามสิ่งต่างๆกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่เราสามารถทำได้เองทั้งสิ้น หากจะยกจากตัวอย่างที่ผ่านมาให้เห็นประโยชน์และคำตอบว่าทำไมเราถึงควรศึกษา Blockchain Explorer?

ดังนั้นนั้นก็ขอยกกรณี PancakeBunny ถูก Flash Loan Attack นั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน กูรูและ Auditor หลายท่านออกมาวิเคราะห์และอธิบายให้เราเห็นภาพได้เป็นฉากๆว่าเค้าทำยังไง แล้วโยกเงินออกไปทางไหนยังไงต่อ ซึ่งการตรวจสอบและตามดูต่างๆล้วนสามารถตรวจสอบผ่าน Blockchain Explorer ได้ทั้งสิ้น หากเรื่องนี้ดูไกลตัวเราไปขยับเข้ามาเป็นเรื่องใกล้ตัวอีกนิด การตรวจสอบ Project ที่เราไปลงทุน GameFi ที่เราเข้าไปเล่น หรือแม้แต่การ Swap หนึ่งครั้งเราเสียค่า Gas เท่าไหร่ มีอะไรเข้าออกบ้าง ผ่านไปตรงไหน มีเหรียญแปลกๆเข้ามามากขนาดไหน โดน Rug Pull แล้วเค้าเอาไปไหน ทำยังไงทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนสามารถตรวจสอบและติดตามผ่าน Blockchain Explorer ได้ทั้งสิ้น

มาถึงจุดนี้เราเข้าใจแล้วว่าการติดตามข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆของโลก Blockchain ของเราเองหรือแม้แต่ของคนอื่นรวมถึงโปรเจคนั้นๆที่เราเข้าไปลงทุนอยู่ได้ว่าเป็นยังไงเพียงแค่มี Address ซึ่งตัว Blockchain Explorerเนี่ย แต่ละ Network ก็จะมีเป็นของตัวเองหน้าตาหรือการใช้งานคล้ายๆกัน ฝั่ง ETH Network ก็จะมี Etherscan /BSC Network มี Bscscan /Solana Network มี Solscan ในครั้งนี้ขออนุญาตเลือก Bscscan มาเป็นตัวอย่างเพื่อช่วยให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นนะครับ

Overview

หลังจากที่เราลองเข้ามาใน bscscan หน้าแรกจะมีหน้าตาอย่างที่เห็น

ในขั้นถัดไปเรามาลองวางหมายเลข Wallet Address ของเราเล่นดูกัน

วาง Address ในช่องนี้

หลังจากวาง Wallet Address แล้ว Search ดูเราก็จะพบหน้าตาข้อมูลแบบนี้

ถ้าเรากดตรงนี้เราจะสามารถดูเหรียญที่มีทั้งหมดในกระเป๋าเราได้

เอาละพอมาถึงตรงนี้มาลองชำแหละดูทีละส่วนกันว่าแต่ละตัวมันหมายถึงอะไรแล้วใช้ทำอะไรบ้างซึ่งจะเน้นไปในส่วนที่เราได้ใช้งานบ่อยๆเป็นหลักนะครับ

  • Transactions เป็นหมวดรวมรายการธุรกรรมที่เกี่ยวกับการ Swap/Approve/Burn/Transfer หรือธุรกรรมที่เกี่ยวกับ Contract ใดๆก็ตาม
  • BEP-20 Token Txns ในส่วนนี้จะเป็นการแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวของกับตัว Token ทั้งหมดตัวอย่างเช่นได้รับ BNB มาเท่าไหร่หรือโอน BUSD ออกไปเท่าไหร่
  • ERC721 Token Txns แสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ NFT ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการได้รับมา ตั้งขาย โอนออกจะอยู่ตรงนี้ทั้งสิ้น
  • Txn Hash คือ Transcation ID จากการทำธุรกรรมของเราแต่ละครั้งซึ่งอิงจาก Block นั้นๆออกมาเป็น Hash ID
  • Method เป็นส่วนที่บอกถึงประภทการทำธุรกรรมครั้งนั้นๆเป็นอะไร Approve(อนุญาตสิทธิ์การเข้าถึง), Swap exchange (แลกเปลี่ยน), Deposit (วาง Token หรือ NFT ลงใน Smart Contract อาจจะเป็นการวางเพื่อฟาร์มเป็นต้น)
  • Block แสดงให้เห็นว่าธุรกรรมครั้งนั้นๆ เกิดขึ้นใน Block ที่เท่าไหร่
  • Age เป็นตัวบ่งบอกวันเวลาของการทำธุรกรรมครั้งนั้น
  • From เป็นการบอกถึงต้นทางของการทำธุรกรรม หากเราดูที่กระเป๋าเราแน่นอนว่าส่วนใหญ่แทบทั้งหมดจะเป็นการเริ่มต้นจากเรา
  • To จุดหมายปลายทางของการทำธุรกรรมนั้นๆ ซึ่งเป็นได้ทั้ง Wallet Address หรือ Contract ต่างๆขึ้นอยู่กับการทำธุรกรรมนั้น

มาลองดูให้ลึกกว่านี้

Swap BUSD →UST : Pancakeswap

ภาพนี้เป็นการแสดงรายละเอียดของ Transasction ที่ผมเลือกจิ้ม Txid จากภาพก่อนหน้ามาแสดงผลซึ่งรายการนี้จะเป็นการไป Swap BUSD เป็น UST ผ่าน Pancakeswap นะครับ

  • Transaction Hash หรือก็คือ Txid จากการทำธุรกรรมครั้งนั้น
  • Status สถานของธุรกรรมครั้งนั้นมี 2 สถานะด้วยกัน Success/Fial
  • Block ธุรกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นที่ Block ไหน
  • Timestamp เวลาในการทำธุรกรรม
  • From จากใคร
  • Interracted With(To) ในส่วนนี้ก็คือเราทำธุรกรรมกับใครนั่นแหละเหมือน to ก่อนหน้าที่เป็นจุดหมายปลายทางของการทำธุรกรรม ในที่นี้เป็นการ Swap ผ่าน Pancakeswap ปลายทางก็จะเป็น Router Contract ของ Pancakeswap
  • Tokens Transferred ตรงจุดนี้การทำธุรกรรมแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราทำอะไรแล้วตาม Smart Contract นั้นๆ ซึ่งปริมาณค่า Gas ก็จะแปรผันตามจุดนี้ ยิ่งเยอะยิ่งเสียมาก
  • Value ส่วนใหญ่ตรงนี้จะแสดงมูลค่าเฉพาะ BNB นะครับ
  • BNB Price แสดงราคา BNB ณ ขณะนั้น
  • Gas Limit เป็นการกำหนดปริมาณการใช้ค่า Gas หากเกิดจากที่เราตั้งไว้ธุรกรรมจะถูกยกเลิก ส่วนนี้สังเกตก่อนที่เรากด Comfirm ธุรกรรมผ่าน Wallet ต่างๆได้
  • Gas Used by Transaction แสดงปริมาณค่า Gas ที่ใช้ไปทั้งหมดจากการทำธุรกรรมครั้งนั้น
  • Gas Price ราคา Gas ที่เราได้ตั้งไว้ใน Metamask หรือ Wallet อื่นๆ
  • Input Data คำสั่งที่ถูกเรียกใช้ในการทำธุรกรรมครั้งนั้นทั้งหมดจะถูกนำมาแสดงตรงนี้

ข้อมูลพื้นฐานหลักๆของ Blockchain Explorer ก็จะมีประมาณนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดตามความเคลื่อนไหวของกระเป๋าวาฬ, การติดตามการ Deploy Code ของ MasterChef Contract หรือเข้าไปใช้งานคำสั่งกับ Contract ต่างๆที่อยู่บนนั้นได้เช่นเดียวกันในพาร์ทถัดไปมาดูการใช้คำสั่ง Smart Contract บน Blockchain Explorer ที่ควรรู้กัน หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจและใช้งาน Blockchain Explorer กันไม่มากก็น้อย

ติดตามการลงทุนในโลก DeFi ผ่าน SafeBSCได้แล้ววันนี้ : SafeBSC

Facebook: SafeBSC Official Page
Twitter: @SafeBscOfficial
Telegram(ไทย): @SafeBSCOfficialTHGroup
Line OpenChat: https://line.me/ti/g2/KCI1ieU9VTGrAxXyfisW1g

--

--