การสร้างนวัตกรรมให้เร็วและพัฒนาไประหว่างทาง | Get set

Pat Pataranutaporn
Saku
Published in
May 9, 2022

ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดที่เป็นแรงกดดันให้ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างคนตกงานเพิ่มสูงขึ้น Saku chatbot ที่ตั้งใจจะเป็นเครื่องมือในการช่วยคนหางานจึงต้องทำงานภายใต้สถานการณ์เร่งด่วนนี้ จำเป็นต้องออกแบบและพัฒนา chatbot เพื่อให้เกิดการสร้างงานได้เร็วที่สุด

ทางลัดการสร้างนวัตกรรมให้เร็วและพัฒนาไประหว่างทาง

🥚 เริ่มจากตัวเลือกสำเร็จรูป

Saku chatbot Version 1 ถูกพัฒนาขึ้นจากระบบที่ชื่อ ‘Manychat’ เป็นช่องทางที่ผู้พัฒนาเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อ API เข้ากับระบบของ FB Messenger ได้อย่างง่าย โดยที่ทีมอาสาสมัครที่ไม่มีความสามารถด้านการเขียนโค้ดก็ทำได้ และยังเชื่อมโยงไปถึง server ภายนอกอืนๆ อย่าง Google Sheet อีกด้วย ระบบสำเร็จรูปเช่นนี้ทำให้ทีมอาสาสมัครสามารถสร้างนวัตกรรมที่เชื่อมโยงงานและคนทำงานได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณ และเปิดให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้แม้ไม่มีทักษะเฉพาะทางอย่างการเขียนโค้ด และไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ ถูก ดี และเร็ว

⚙️ พัฒนาประสบการณ์ผู้ใช้และผู้สร้างให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อ Saku chatbot Version 1 ทำหน้าที่ให้คนมาเจองาน แต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดการจ้างงานจนสำเร็จได้ ทีมอาสามัครจึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนา chatbot ให้พัฒนาต่อไปใน Version 2 โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานและการจัดการหลังบ้านที่ดียิ่งขึ้น

●User Experience

○ทีมออกแบบต้องการ ‘ลดขั้นตอน’ ในการเข้าถึงงานจนถึงการจ้างงานจากนายจ้างให้น้อยที่สุด

○สร้างภาพลักษณ์ของ chatbot ให้ ‘มีความเป็นมิตร เข้าถึงคนมากขึ้น’ ด้วยคาแรคเตอร์น้องหมา Saku

●Technical Development

○ทีมพัฒนาเพิ่มความสามารถของ chatbot ให้สามารถตั้งค่าระบบได้เอง เช่น ตั้งเวลการเปลี่ยนแปลงของระบบ

อย่างไรก็ตามอีกข้อหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การพัฒนาระบบด้วยการเขียนโค้ดขึ้นมาใหม่เพื่อลดข้อจำกัดการทำงานบนระบบสำเร็จรูป ให้มีความยืดหยุ่นและตอบโจทย์มากขึ้นนั้น อาจต้องแลกมากับการที่จะมีทีมอาสาสมัครมาช่วยเหลือได้น้อยลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเข้าใจในภาษา coding

“คนที่เข้ามาอ่านได้ไม่ใช่ทุกคน การช่วยเหลือยาก ต้องมีคนแปลงสาร coding มาเล่า” Ben
“Technical issue บางจุด designer ก็แก้ไม่ได้” Nuknik

🧪 ตอบคำถามระหว่างทางด้วยข้อมูล

“การเก็บข้อมูลไม่มีที่สิ้นสุด มันจะมีคำถาม และปรับวิธีเก็บไปเรื่อยๆ”

ทีมพัฒนา Saku Chatbot เชื่อว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีสามารถเริ่มทำโดยไม่มีการตั้งเป้าหมายในการเก็บข้อมูลในช่วงแรกได้ เนื่องจากการเก็บข้อมูลสามารถเก็บได้หลากหลายมุมมองและรูปแบบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการเก็บข้อมูลควรเริ่มจาก ‘การตั้งคำถามหรือตั้งเป้าหมายเชิงธุรกิจ แล้วใช้การเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถามนั้น’ โดยทีมวิเคราะห์ข้อมูลเลือกใช้ระบบ ‘Mixpanel’ เป็นเครื่องมือในการช่วยตั้งเป้าหมาย และ วางแผนในการเก็บข้อมูล [อ่านรายละเอียดเทคนิคเชิงลึกได้ที่นี่]

ถึงแม้การเก็บข้อมูลจะช่วยให้ทีมพัฒนา เจ้าของธุรกิจ หรือนักออกแบบสามารถพัฒนาสินค้าได้ดีขึ้น และตอบคำถามที่สงสัยได้มากมาย แต่ต้องไม่ลืมต้นทุนแฝงและข้อควรคำนึงในการเก็บข้อมูล ดังนี้

○Data Privacy การเก็บข้อมูลในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ฝช้งาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019))

○Data Storage ข้อมูลทุกหน่วยจำเป็นต้องมีพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ ขึ้นอยู่กับปริมาณและประเภทของข้อมูลอย่างตัวอักษร ภาพนิ่ง หรือ วิดิโอ

○Carbon footprint ในทุกกระบวนการเก็บ ประมวลผล และนำข้อมูลไปใช้ ย่อมมีการใช้พลังงานที่ส่งผลต่อการสร้างมลพิษเช่นกัน

--

--