ระดมทุนสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม| On your mark

Pat Pataranutaporn
Saku
Published in
May 9, 2022

ระดมทุนสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม

ขึ้นชื่อว่า ‘งานอาสาสมัคร’ แน่นอนว่าทีมงานทุกคนไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทนที่เป็นรายได้ แต่การจะสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างคมขึ้นมานั้นจำเป็นต้องมีทุนในการใช้ทรัพยากรด้านอื่นๆ เช่น การเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลทางออนไลน์ ซอฟต์แวร์ในการสื่อสารหรือทำงานออนไลน์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ทีม Saku ได้ร่างโครงการและส่งออกไปหาแหล่งเงินทุนและโครงการสนับสนุนทั้งในไทยและต่างประเทศอย่าง MIT Solve, OpenIDEO และกองทุนวิจัยของรัฐบาลไทย แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการอนุมัติเงินทุนใดๆ จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เมื่อทุน Solidarity Grants for Atlantic Fellows เปิดโอกาสสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 และตอบรับการให้ทุนสำหรับ Saku Chatbot นั่นจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของเจ้าหมาที่ชื่อว่าสาคู!

ทางลัดการระดมทุนสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม

💰 ตามหาแหล่งทุนที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อความได้เปรียบกว่า

เริ่มจากการย้อนกลับไปดูเครือข่ายที่เราสังกัด หรือเคยมีส่วนร่วมมาก่อน เช่น เครือข่ายศิษย์เก่ามหาวิยาลัย โครงการที่เคยเข้าร่วม โดยเฉพาะแหล่งทุนหรือโครงการที่มี
เกณฑ์การคัดเลือกเฉพาะ หรือมีเงื่อนไขพิเศษที่เปิดให้บางกลุ่มคนเท่านั้น (ซึ่งเราต้องตรงกับเงื่อนไขนั้นด้วย) จะทำให้เรามีโอกาสที่จะได้ทุนนั้นมามากกว่าการลงไปแข่งขันใน
แหล่งทุนหรือโครงการที่เปิดกว้างให้คนทั่วไป

“เลือกทุนที่ไม่ได้เปิดให้ public ก็จะทำให้คู่แข่งลดลงมา” May

🌎 มองหาแหล่งทุนที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางสังคม และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ได้

หลายครั้งที่การให้ทุนเพื่อโครงการเพื่อสังคมเป็นการตั้งเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome-led Funding) เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์
แต่ทีม Saku กลับมองว่าทุนในการจะสร้างนวัตกรรมทางสังคมได้นั้น ควรมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของการแก้ปัญหาทางสังคม (Mission-led Funding) โดยยังไม่ตีกรอบไป
ถึงปลายทางของผลลัพธ์ว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร

  • ทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคมต้องมีความยืดหยุ่น

ผลลัพธ์ของนวัตกรรมทางสังคมไม่อาจระบุหรือกำหนดกรอบความคิดตั้งแต่แรกเริ่มได้ว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรเป็นอะไร ดังนั้นเงื่อนไขของทุนควรมีความยืดหยุ่น
เพื่อให้สอดคล้องโอกาสในการสร้างนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึงหรือไม่เคยมีมาก่อน อย่างทุน Atlantic Fellows เป็นตัวอย่างของแหล่งทุนที่มีเงื่อนไข
เปิดกว้างไม่กำหนดกรอบของผลลัพธ์ปลายทาง ผู้ให้ทุนกำหนดเพียงว่าผู้รับทุนต้องสามารถระบุได้ว่า ภายใต้วงเงินทุนที่ให้ไปจะนำไปใช้ในส่วนใดและเกิดผลอย่างไรบ้างใน
ภายหลัง

“หลายทุนในประเทศไทย ให้สัญญาว่าต้องทำแอปฯ แล้วถ้าหากสุดท้ายผลลัพธ์ไม่ควรทำแอปฯ ทำให้สูญเสีย resource เวลาไป” May

  • อย่าให้แหล่งทุน ทำให้ทีมต้องสูญเสียตัวตน

บางครั้งที่ทีมอาสามัครจำเป็นต้องพยายามปรับเป้าหมายของโครงการให้สอดคล้องไปกับเงื่อนไขของทุน เปลี่ยนเป้าหมายจากการสร้างนวัตกรรมที่ดีต่อสังคมที่สุด
ให้กลายเป็นนวัตกรรมที่ตรงโจทย์ผู้ให้ทุนแทน ดังนั้น ‘Mission’ ควรเป็นแกนหลักที่ทุกคนในทีมควรยึดมั่นร่วมกัน

“การทำงานแบบขอทุน ต้องเอา mission ของงานนำมากกว่าทุน ไม่งั้นเราต้องบิดงานให้ไปตามทุน” May

🪄 การสื่อสารและการบริหารจัดการทุน

การบริหารทุนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้โครงการสำเร็จภายใต้งบประมาณที่จำกัด ประกอบกับ ‘การสื่อสาร’ ถือเป็นรายละเอียดที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งการสื่อสารเพื่อรายงานการดำเนินงานและผลลัพธ์ตามเงื่อนไขที่สัญญาไว้กับผู้ให้ทุน รวมทั้งการสื่อสารถึงการบริหารจัดการเงินทุนให้แก่ทีมทำงานรับทราบอย่างโปร่งใส

“ท้ายสุดเราต้องสื่อสารกับผู้ให้ทุนว่า ถึง Saku chatbot จะเจอ Technical bug แต่เราได้ twist ผลลัพธ์ออกมาเป็น

learning จากการทำงานร่วมกันระหว่างคนในทีม รวมทั้งการนำ learning นี้ไปเผยแพร่ต่อสู่คนวงกว้าง” May

ตัวอย่างอีเมลที่พี่เมย์ส่งไปขอทุน (ถ้าแชร์ได้)

--

--