[Alexa] น้อง Alexa พาเพลิน — เชื่อมต่อกับ TP-Link Smart Plug

Sathittham (Phoo) Sangthong
SS Blog
Published in
5 min readNov 25, 2016

ต่อจากบทความ “[Alexa] น้อง Alexa พาเพลิน — มาลองเล่น Echo Dot กัน” ที่เราสามารถให้น้อง Alexa มาควบคุมอุปกรณ์ Smart Home ได้ ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ที่บ้านเรามีขายคือ TP-Link Smart Plug with Energy Monitoring (HS110) ซึ่งเป็นตัวที่เราจะมาลองเล่นกันดูครับ

ทำความรู้จัก TP-Link Smart Plug

TP-Link ทำ Smart Plug มา 2 รุ่น ซึ่งก็สามารถเลือกมาใช้กับน้อง Alexa ได้ทั้ง 2 รุ่นนะครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

1. TP-Link Smart Plug Wi-Fi(HS100)
สามารถควบคุมผ่าน Internet ได้ ผ่าน Application ที่ชื่อว่า Kasa ที่กำหนดตารางเวลาได้ มีโหมดการทำงานแบบ Away mode และใช้งานกัน Amazon Echo ได้ ในราคาประมาณ 1,090 บาท

2. TP-Link Smart Plug Wi-Fi with Energy Monitoring (HS110)
คุณสมบัติเหมือนกับรุ่น HS100 ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการวัดปริมาณการใช้พลังงานได้ด้วยครับ (Real-time และ History) ราคาประมาณ 1,190 บาท

Panel Layout

Settings Button

  • กดปุ่ม Settings ค้างไว้ จนกระทั้ง Wi-Fi LED กระพริบ สีเหลือง-เขียว (ประมาณ 5 วินาที) เพื่อเข้าสู่โหมด Smart-config
  • กดปุ่ม Settings ค้างไว้ จนกระทั้ง Wi-Fi LED กระพริบ สีเหลือง เร็วๆ (ประมาณ 10 วินาที) เพื่อทำการ Factory reset

Power Button

  • กดปุ่ม เพื่อให้ไฟ Power LED ติด Smart Plug ทำงาน (มีไฟเข้า)
  • กดปุ่ม เพื่อให้ไฟ Power LED ดับ Smart Plug ไม่ทำงาน (มีไฟไม่เข้า)

Wi-Fi LED

  • ไฟกระพริบ สีเหลือง-เขียว : เข้าสู่โหมด Smart-Config
  • ไฟกระพริบ สีเขียว : กำลังเชื่อมต่อกับเครือข่าย
  • ไฟกระพริบ สีเหลือง : Factory Reset
  • ไฟติด สีเขียว : เชื่อมต่อกับเครือข่ายได้แล้ว
  • ไฟติด สีเหลือง : รีบูท
  • ไฟติด สีแดง : เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ได้

Power LED

  • ไฟติด : Smart Plug ทำงาน (มีไฟเข้า)
  • ไฟดับ : Smart Plug ไม่ทำงาน (มีไฟไม่เข้า)

ลองเล่น TP-Link Smart Plug

Step 1: ดาวโหลด Kasa

  • Apple iOS ดาวโหลดได้จาก App Store
  • Android ดาวโหลดได้จาก Google Play

Step 2: เชื่อมต่อ Smartphone กับเครือข่าย Wi-Fi

Step 3: เสียบ TP-Link Smart Plug เข้ากับปลั๊กไฟ

Step 4: ลงทะเบียน TP-Link Cloud

แนะนำว่าให้สมัครไปครับ เพื่อความสะดวกในการใช้การควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ตครับ

  • เปิด Kasa Application
  • สร้างชื่อบัญชีการใช้งาน โดยการกรอกอีเมล์และรหัสผ่าน จากนั้นกด CREATE ACCOUNT โดยระบบจะส่งอีเมล์ไปยืนยันการลงทะเบียนที่อีเมล์นี้อีกทีครับ
  • หากใครมีชื่อบัญชีอยู่แล้วก็กด Log In ได้เลยครับ
  • ใครยังไม่ต้องการใช้บริการแบบลงทะเบียนก็สามารถกด Skip ได้เช่นกันครับ

Step 5: เพิ่ม Smart Plug ใน Kasa App

  • กดที่ไอคอนรูป Smart Plug เพื่อเริ่มการเพิ่ม
  • ดูที่ไฟตรงสัญลักษณ์ Wi-Fi ครับว่า ไฟติดค้างเป็นสีเหลืองไหม ถ้าติดแล้ว ให้เรารอประมาณ 15 วินาที หรือจนกว่าไฟนั้นจะกระพริบ สลับเหลือง เขียว แล้วค่อยกด Next ครับ
  • บน Android ตัว Kasa App จะทำการหา Smart Plug ให้อัตโนมัติครับ โดยรอประมาณ 1 นาที
  • ส่วนบน Apple iOS จะต้องทำแบบ Manual ซึ่งจะต้องย้าย Wi-Fi ไปเชื่อมต่อกับ Smart Plug โดยจะมีชื่อ Wi-Fi ขึ้นมา ประมาณ “TP-Link_Smart Plug_XXXX” ครับ
  • จากนั้นกลับมาที่ Kasa App ให้เราตั้งชื่อให้อุปกรณ์ของเรา แล้วกด Next
  • เลือกรูปไอคอนได้ครับ กด Next
  • ให้เรากรอกรหัส WiFi ที่เราต้องการให้ปลั๊กของเราไปเชื่อมต่อครับ เสร็จแล้วกด Next ได้เลยครับ
  • รอสักครู่ก็เสร็จครับ เมื่อเสร็จแล้ว กดปุ่ม Done ได้เลยครับ
  • เราจะเห็นว่ามีปลั๊กที่เราสร้างไว้ขึ้นมาให้เห็นครับ สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้เลยครับ

Step 6: การควบคุมผ่าน Application (Remote Control)

สามารถความคุมได้ทั้งผ่านในวงเน็ตเวิร์กภายใน เพียงเชื่อมต่อสมาร์ตโฟนเข้ากับเครือข่ายเดียวกับปลั๊ก

  • ถ้าจะเปิด/ปิดไฟแบบ Manual ก็สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม On/Off ได้เลยครับ
  • จุดสังเกต* ถ้าขึ้นตัวหนังสือ “Local Wi-Fi control only” แสดงว่าเราเชื่อมต่ออยู่ภายในเครือข่าย และใช้ได้เพียงในเครือข่ายเท่านั้นครับ
  • สามารถความคุมผ่านอินเตอร์เน็ต โดยต้องต้อง Login และไปตั้งให้สามารถ Remote Control ได้ก่อน ที่ Device Settings > Remote Control (enable)
  • จุดสังเกต* จะไม่มีตัวหลังสือขึ้น หากเราควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ต

ใครที่อยากจะใช้งานกับ Alexa เลย ให้ข้ามไป Step 11ได้เลยครับ

Step 7: ดูค่า Energy Usage

อันนี้เป็นฟีเจอร์เฉพาะรุ่น HS110 นะครับ ซึ่งโหมดนี้ดูได้ 2 แบบคือ Usage หรือปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้ไป กับ Runtime หรือเวลาที่ปลั๊กของเราทำงาน ซึ่งดูค่าปัจจุบันได้ ค่าย้อนหลัง 7 วัน ค่าย้อนหลัง 30 วัน

  • Usage หรือปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้ไป
  • Runtime หรือเวลาที่ปลั๊กของเราทำงาน

Step 8: ลองเล่นการทำงานโหมดตั้งเวลา เปิด — ปิด (Schedule)

  • เป็นโหมดตั้งเวลา ให้เปิด หรือ ปิด วันใดในสัปดาห์ก็ได้ ให้วนทำซ้ำวันใดก็ได้เช่นกัน โดยการกดเพิ่ม หรือปุ่มเครื่องหายบวกด้านบนขวาครับ
  • ทดลองตั้งเวลา เปิด และ ปิดดูครับ
  • สังเกตจะมี ข้อความของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแสดงอยู่ ที่ตรงกลางล่างครับ

Step 9: ลองเล่นการทำงานโหมด Away

  • โหมดนี้จะคล้าย ๆ กับการตั้งเวลา เพียงแต่ปลั๊กเราจะซุ่มการเปิดหรือปิดในช่วงวันและเวลาที่เรากำหนดครับ
  • จุดประสงค์ก็เพื่อหลอกโจรขโมยว่ามีคนอยู่บ้านนะ ไม่ใช้ตั้ง Timer เปิด/ปิดเป็นเวลา (โจรเดี๋ยวนี้ฉลาดมาก เราต้องฉลาดกว่าโจร 555)

Step 10: ลองเล่นการทำงานโหมด Timer

  • อันนี้ก็สามารถตั้งเวลาได้ว่าจะให้เปิด หรือปิดในอีกกี่นาที กี่ชั่วโมง

ตั้งค่า TP-Link Smart Plug ให้น้อง Alexa รู้จักกัน

Step 11: เข้าหน้า Alexa app

  • มาที่หน้าของ Alexa app โดยเลือกเมนู Smart Home
  • เลือก “Get More Smart Home Skills”

Step 12: ติดตั้ง “Kasa”

  • ในช่องค้นหา ให้พิมพ์ Kasa ก็จะเห็น Application ของ TP-Link Kasa ขึ้นมา
  • กด Enable Skill เพื่อทำให้ Alexa รู้จักกับปลั๊กของเรา

Step 13: เข้าใช้งานบัญชี Kasa

  • จากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาของ TP-Link ให้เรากรอกบัญชี Kasa ของเราไป แล้วกด Authorize เพื่อทำการระบุตัวต้นในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งสองครับ
  • เมื่อเชื่อมต่อกันเสร็จแล้ว ก็จะขึ้นว่า Successfully ดังภาพครับ

Step 14: ให้ Alexa ค้นหาปลั๊กของเรา

  • กลับมาที่ Alexa App ให้เรากดปุ่ม Discover devices เพื่อให้ Alexa ค้นหาปลั๊กของเรา
  • ซึ่งถ้าใครไม่เจอหน้าต่าง Pop-up ที่ให้ค้นหาอุปกรณ์ ก็สามารถเข้าได้ทางเมนู Smart Home ครับ
  • เมื่อหาเจอแล้ว จะเห็นปลั๊กของเราที่ใช้ชื่อ “Bed Room Lamp” ปรากฎขึ้นที่เมนู Smart Home แล้วครับ

Step 15: สร้าง Group (Option)

ถ้าเรามีอุปกรณ์หลาย ๆ อัน เราอยากจะสั่งเปิด หรือ ปิด ในคำสั่งเดียว เราก็สามารถทำได้โดยการสร้างกลุ่มให้อุปกรณ์เหล่านั้นครับ

ขั้นตอนนี้ถ้าใช้งานเพียงอันเดียวไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ครับ

  • ที่เมนู Smart Home เลือก Create group
  • ให้เลือกว่าจะมีอุปกรณ์ใดบ้างอยู่ในกลุ่ม โดยให้ตั้งชื่อใหม่ ไม่ซ้ำกับของเดิม แล้วกด Save ได้เลยครับ
  • เท่านี้กลุ่มที่เราตั้งไว้ก็เรียบร้อยแล้วครับ
  • ลองคุยกับ Alexa ดูครับ…Have Fun !

วีดีโอตัวอย่าง

สรุป

ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่ามันเหมาะกับการเอามาเล่นๆ เป็น Gadget เท่ๆ ตัวหนึ่งครับ น่าจะไม่เหมาะกับการเอามาใช้จริงครับ เนื่องจากยังต้องพึ่งพาความเสถียรของอินเตอร์เน็ตบ้านเราพอสมควร (ซึ่งมันก็ไม่ค่อยจะเชื่อถือได้เท่าไหร่ซะด้วยสิ)

ข้อดี

  • ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน
  • รองรับการควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ต
  • Away Mode ช่วยเวลาที่เราไม่อยู่บ้าน แล้วทำให้เหมือนอยู่บ้านได้

ข้อเสีย

  • ใช้ได้ฉพาะบน Mobile App
  • Wi-Fi ใช้ได้เฉพาะย่านความถี่ 2.4 GHz
  • ถ้าอินเตอร์เน็ตเสียหรือหลุดไป ปลั๊กของเราก็จะไม่ทำงานเลย

อ้างอิง

--

--

Sathittham (Phoo) Sangthong
SS Blog

Hi! It's me Phoo! I’m a Software Developer 👨‍💻 , a Startup Entrepreneur 📱 and a Runner 🏃 . Currently, I’m a Co-Founder and CTO of a Startup name “Urbanice”.