AWS มาเมืองไทยแล้ว คนใช้งานได้อะไรบ้าง?

WICHPONG KAO-IAN
SCB Engineer
Published in
3 min readMar 31, 2023
Copyright: Amazon Web Services

เร็วๆนี้มีข่าวใหญ่โตว่า โอ้โห Amazon Web Services (AWS) มาตั้งที่เมืองไทยแล้ว แต่เดี๋ยวก่อน ที่ AWS มาเมืองไทยนั้น ไม่ได้มาแบบจัดเต็มแบบเดียวกับที่สิงคโปร์ครับ AWS แค่มาเปิดบริการใหม่ที่มีชื่อว่า AWS Local Zones @ Bangkok เท่านั้นเอง

ก่อนที่เราจะกรูเข้าไปลองใช้ของใหม่นั้นเราก็ควรศึกษาว่า สิ่งที่พ่อค้าชาวตะวันตกเอามาขายนั้นมันดีจริงหรือไม่ เพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเราให้เลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมและไม่โดนล่อซื้อโดยพ่อค้าชาวต่างประเทศ

ก่อนอื่นเลย ผมคงต้องสวมหมวกเป็นพนักงานขายให้กับ AWS เป็นการชั่วคราว เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึง ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า AWS Local Zones ได้อย่างถ่องแท้
AWS Local Zones แปลเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ก็คือ AWS Region ขนาดย่อส่วน ที่มาตั้งอยู่ในประเทศไทยนี่เอง ทางผู้ใช้งานอย่างเราๆก็จะได้ประโยชน์จาก Latency ที่ลดต่ำลงเพราะการให้บริการของ AWS จะอยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น ระบบไม่ต้องเดินทางจากประเทศไทยไปถึงประเทศสิงคโปร์ที่เป็นฐานทัพหลักที่ AWS ให้บริการลูกค้าในภูมิภาคนี้อย่างจัดเต็ม

อย่างไรก็ตาม Local Zones เนี่ย ทาง AWS เขาพา Services มาให้บริการเฉพาะ Services หลักๆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศที่ AWS มาตั้ง Local Zones ได้แก่ Amazon EC2, Amazon EBS, AWS Shield, Amazon ELB, Amazon ECS, Amazon EKS, Amazon VPC, Amazon Direct Connect, Amazon FSx, Amazon EMR, Amazon ElastiCache, Amazon RDS, Amazon GameLift, Application Migration Service

ในส่วนของ AWS Local Zones ที่มาตั้งที่กรุงเทพมหานคร ณ วันที่เขียนบทความนี้ AWS พา Services มาไม่กี่ Services เท่านั้น ได้แก่

1. Amazon EC2 (Server) — Instance Type T3, C5, R5, G4dn, and M5 instances
2. Amazon EBS (Storage for EC2) — General Purpose SSD (gp2)
3. AWS Shield (Managed Distributed Denial-of-service Protection) — Standard Plan
4. Amazon ECS (Managed Container Solution)
5. Amazon EKS (Managed Control Plan of Kubernetes)
6. Amazon VPC (Logical Datacentre of AWS Universe)

ส่วนตัวรู้สึกเสียดายยิ่งนักที่ตอนนี้ AWS ไม่ได้พา Amazon ELB (Managed Load Balancer) เข้ามาด้วย เพราะ Service นี้เป็นพระเอก สำหรับการพัฒนาระบบใน AWS เช่น การ expose services ออกจาก Kubernetes application เราจะใช้ ELB เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามเราสามารถ expose service แบบ NodePort แก้ขัดไปได้ ในส่วนของการทำ Traffic Distribution ตาม concept Canary หรือ Blue/Green ก็จะลำบากนิดนึง เพราะ Developer ไม่สามารถจบงานได้ที่ native service ของ AWS
ผู้ใช้งาน Local Zones จำเป็นต้อง Implement pod inside Kubernetes เพื่อทำการ distribute load ให้เป็นไปตาม Canary and Blue/Green concept แต่ข้อเสียนี้กลับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งเพราะ เราสามารถย้าย Kubernetes application เข้า/ออกจาก AWS ได้ง่ายขึ้น หาก AWS Infrastructure ล่ม เราสามารถ temporary relocate Kubernetes application ไปยัง Managed Kubernetes Infrastructure ของ Cloud อื่นเช่น Google Kubernetes Engine (GKE) จากค่าย Google หรือ Azure Kubernetes Service (AKS) จากค่าย Microsoft หรือ ถ้าเราไม่เชื่อใจ Cloud Service Provider ที่บางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ใช้งาน เราก็สามารถย้าย Kubernetes application กลับเข้ามายัง On-Premise datacentre เพื่อดูแลเองและลดค่าใช้จ่ายก็สามารถทำได้เช่นกัน

การย้ายระบบบางส่วนกลับมา Owned datacentre เกิดขึ้นจริงแล้วในบริษัทต่างชาติเช่น Netflix

ในส่วนสุดท้าย ผมขอสรุปความคุ้มค่าในการใช้งาน AWS Local Zones ในมุมมองผมความเหมาะสมในการใช้งาน AWS Local Zones at Bangkok ณ ตอนนี้ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เนื่องจากสิ่งที่เราได้มาคือ Latency ที่ลดต่ำลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ(หน่วย milli-second) แต่สิ่งที่เราต้องแลกไปด้วยสิ่งต่างๆดังนี้

  1. Native Cloud Services ที่ AWS Local Zones at Bangkok ยังไม่เฟื่องฟูเท่ากับการไปใช้งานที่ Singapore
  2. ค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ AWS Local Zones — Bangkok ยังแพงกว่าการไปใช้งาน ที่ AWS Region — Singapore ตามหลักฐานด้านล่างนี้
Price of M5.2xlarge in Thailand
Price of M5.2xlarge in Singapore

ข้อด้อยข้อนี้ คงเป็นผลมาจาก Demand ของการใช้งาน AWS ในประเทศไทยอาจยังต่ำ ประกอบกับ Amazon เพิ่งจะมาลงทุนในประเทศไทยได้ไม่นานทำให้ต้นทุน ณ.ตอนนี้ยังสูงอยู่
ในส่วนนี้การทำให้เกิดจุดสมดุลของราคาที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ระหว่าง ผู้ซื้อ(คนใช้งานAWS) และ ผู้ขาย(Amazon) คงทำได้สองแนวทางคือ
บางท่านก็บอกว่า เราก็เร่ง Demand ฝั่งผู้ซื้อด้วยการเอาเงินไปให้ Amazon สิ แนวทางนี้ก็สามารถทำได้ครับ สำหรับคนที่มีเงินถุงเงินถัง ยอมให้พ่อค้าต่างชาติเอาเงินจากเราไปดื้อๆ ผลกระทบต่อมาก็คือราคาของ AWS ก็จะยิ่งทะยานขึ้นไปอีก เพราะ Amazon เขามีฐานราคาเท่านี้อยู่แล้ว คนไทยยังมีกำลังซื้อ งั้นในอนาคตลองเพิ่มราคาไปอีก คนไทยก็ยังซื้อได้อยู่ดีแหละ ประกอบกับ ผมมองว่าราคาของการใช้ Cloud มันเกินกำลังซื้อของคนในประเทศไทยส่วนใหญ่ไปค่อนข้างมากครับ คนที่มีโอกาสใช้งานยังกระจุกตัวอยู่เพียงแค่คนที่มีเงินเพียงไม่กี่กลุ่ม สิ่งเหล่านี้จะยิ่งขยายช่องว่างทางสังคมไทยที่เป็นปัญหาหลักที่ยังแก้ไม่ได้ของประเทศไทย ผมจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้สักเท่าไหร่ ส่วนอีกแนวทางเป็นแนวทางที่ผมเลือกใช้คือ
ผมยังคงรอให้ Amazon ลดราคาลงมาก่อนแล้วค่อยไปใช้งานก็ยังไม่สาย ที่ผมเชียร์แนวทางนี้เพราะมีความตั้งใจอยากให้เกิดสมดุลราคาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทยและแอบเป็นห่วง AWS ว่าราคาของ AWS จะแพงเกินไปสำหรับคนไทย จนอัตราการเติบโตของฐานลูกค้าในไทยจะไม่เพิ่มขึ้น 😆

เห็นได้ชัดว่าข้อเสียสองข้อที่ต้องแลกมากับข้อดีเพียงข้อเดียวคือได้ Latency ที่ดีขึ้น คงยังไม่คุ้มค่าที่จะไปใช้ AWS Local Zones ณ ตอนนี้ ถ้าเทียบเคียงการใช้งาน AWS Local Zones กับ วงการยานยนต์ ก็เหมือนเรากรูกันเข้าไปซื้อรถไฟฟ้า เพื่อความนำเทรนด์โก้หรูและอ้างความรักษ์โลกเข้ามา โดยไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมในบริบทของสังคมไทยสักเท่าไหร่ ว่าหลังจากซื้อมาแล้วจะเกิดปัญหาอะไรต่อมาบ้าง เช่น สถานีชาร์จมีเพียงพอหรือไม่ ปริมาณรถที่มีอยู่ในประเทศเกินความจำเป็นหรือไม่
ถ้ากลุ่มคนที่มีเงินอยู่แล้วเขาก็คงไม่เห็นความลำบากอะไรก็เพราะสถานะทางสังคมของเขามีพร้อมอยู่แล้ว ที่ชาร์จก็ชาร์จที่บ้านเอาได้ไม่เดือดร้อนอะไรเลย แต่จริงๆแล้วกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยก็จะยิ่งลำบากไปใหญ่ เพราะการจราจรที่ติดอยู่ก็จะยิ่งสาหัสไปมากกว่าเดิม รถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่ตรงจุดกับประเทศไทยสักเท่าไหร่ คล้ายๆกับวลีในการแก้ปัญหารถติดของ
คนดังท่านหนึ่ง ที่บอกว่า “คนรวยก็ขึ้นทางด่วนสิ คนจนก็ใช้ทางปกติไป ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไรเลย”

อย่างไรก็ตาม ยุคนี้สมัยนี้ เรามีทางเลือกอื่นมากมายอยู่แล้ว เราจะยึดติดไปกับ
AWS Local Zones อย่างเดียวก็คงไม่ใช่เรื่อง หาก AWS Local Zones ไม่ตอบโจทย์ เราก็ยังหา AWS Services อื่นมาตอบสนองส่วนที่ AWS Local Zones ให้เราไม่ได้หรือถ้า AWS ยังไม่ตอบโจทย์ เราก็ยังมี Microsoft / Google / Alibaba Cloud / Oracle / Tencent Cloud / IBM / Huawei Cloud ให้เลือกใช้อย่างสนุกตาม Magic Quadrant ของ Gartner ด้านล่างนี้เลย

2022 Gartner® Magic Quadrant™ for Cloud Infrastructure and Platform Services

ก่อนจะปิดบทความ…ผมพอจะรู้มาว่า AWS Outposts ก็เป็น Services ที่น่าสนใจและคล้ายคลึงกับ AWS Local Zones. AWS Outposts อาจจะมาทดแทนส่วนที่ AWS Local Zones ไม่ตอบโจทย์ ท่านผู้อ่านลองศึกษา AWS Outposts ดูได้ครับ.

--

--

WICHPONG KAO-IAN
SCB Engineer

Nothings here, just an archival of da messy moments.