เป็นนินจาต้องอ่านเบื้องหลังของเบื้องหลังให้ออก! ถ้าไม่ออกต้องลอง “ฝึกตั้งคำถามให้ถูก”

Kansapat Asawarujanon
Stories of Sellsuki
2 min readMar 5, 2018

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าประชุมเล็กๆ ระดับสอบถามความคืบหน้ารายสัปดาห์ของผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่ง โดยหนึงในผู้เข้าประชุมด้วยคือพี่ทอม — เลอทัด ศุภดิลก CEO และ Co-Founder ของ Sellsuki พอพูดถึงพี่ทอม สิ่งนึงที่ผู้เขียนสงสัยมาโดยตลอดเกี่ยวกับตัวพี่ทอมก็คือ ทำไมแต่ละประโยคที่เค้าแสดงความคิดเห็นออกมา ถึงได้ดูล้ำลึกและดูจะต่อยอดออกไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด หรือว่าในสถานการณ์ทั่วไป แต่พอเป็นพี่เค้าแสดงทัศนคติออกมา มันกลับกลายเป็นเรื่องที่น่าสนุก มักมีมุมมองที่ผู้เขียนไม่เคยนึกถึง และมุมมองนั้นถือเป็นกลยุทธ์ชั้นดี จนเราอยากศึกษาวิธีการคิดและมองโลกของคนแบบนี้บ้าง

ถ้าผู้อ่านอ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะนึกว่า ผู้เขียนซึ่งเป็นลูกน้องกำลังเยินยอบอสตัวเองอยู่หรือเปล่า? บอกได้เลยว่า “เปล่า” ด้วยความสัตย์จริง

พี่ทอมหน้าตาประมาณนี้

เราเป็นแค่คน GEN Y ที่ให้คุณค่าในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการได้ใช้เวลากับคนเก่งๆ มันทำให้เรารับรู้ได้ว่าออร่าจะไม่เหมือนจากแหล่งพลังงานอื่นๆ บางคนอาจจะเก่งในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บางคนเก่งเรื่องการรอบคอบ บางคนเก่งเรื่องการมีระเบียบเป็นขั้นตอน ฯลฯ แต่ในบทความนี้เราขอพูดถึง “การมีวิสัยทัศน์ มองการไกล ที่มาพร้อมแผนปฏิบัติการที่ใช้ได้จริง

ถ้าไม่ชอบอะไรยุ่งยาก ต้องลองฝึกตั้งคำถามให้ถูก

ผู้เขียนใช้เวลาคิดถึงเรื่องราวข้างบนประมาณ 3 วันตอนอาบน้ำ คนเก่งนั้นมีหลายแบบ แต่ทุกแบบควรจะมีจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกัน เราคิดว่า “ทัศนคติที่ถูก” คือจุดร่วมนั้น แล้วทัศนคติที่ถูกเกิดจากอะไร? คำตอบคือ

“ความคิด” และความคิดที่ถูกเกิดจากอะไร? คำตอบคือ

“การตั้งคำถาม” และการตั้งคำถามที่ถูกเกิดจากอะไร? คำตอบคือ

“การมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง”

ดังนั้น ถ้าคุณอยากพัฒนาอะไร อยากเก่งด้านไหน หรืออยากมีชีวิตที่มีความสุขขึ้นได้อย่างไร คุณอาจจะไม่ต้องจำสูตร How to อะไรให้มากความ ขอเพียงแค่ลองตั้งคำถามกับตัวเองให้ถูกก่อน แล้วมันก็จะนำพาสิ่งที่คุณต้องการมาให้เอง

“คุณต้องมองสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น ไม่ใช่แย่กว่าที่เป็น แล้วมองอีกครั้งให้ดีกว่าที่เป็น แล้วทำให้มันเป็นอย่างที่คุณมอง” โควทจาก Jordan Belfort หมาป่าตัวเป็นๆ จาก Wolf of Wall Street

ฝึกมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ให้ทะลุปรุโปร่ง

คนบางคนอาจจะเกิดมาด้วยพรสววรค์ในการตีความ และมองสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็นจริง แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น ในที่ประชุมโปรเจคหนึ่งของเซลสุกิที่มีชื่อว่า “อากิตะ (Akita Warehouse)” ซึ่งเป็น Fulfilment สำหรับคนทำธุรกิจที่จะมาช่วยเรื่องการบริการคลังสินค้า ช่วยแพ็คสินค้า และการส่งสินค้าทั่วประเทศ ถ้าเป็นการประชุมทั่วไป หัวหน้าในที่ประชุมคงจะถามคำถามเดิมๆ ว่า

“เราจะทำอย่างไร ให้รายได้ปีนี้ของเราเพิ่มขึ้น?” ซึ่งเป็นคำถามที่ผิด

แต่พี่ทอมถามว่า
“เราจะทำอย่างไร ให้ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เรา ได้รู้จักเราและให้เราช่วยเค้าได้มากขึ้น?”

พอได้ยินแบบนี้ ผู้เขียนเกิดแสงวาบเข้ามาในหัวเลย ฮ่าๆ ปริศนาทุกอย่างกระจ่างแล้ว เบื้องหลังของการวางกลยุทธ์พัฒนาผลิตภันฑ์ การตลาด การพัฒนาบุคคล ฯลฯ ที่ดี ล้วนเกิดมาจากการตั้งคำถามที่ถูกนั่นเอง! ผู้อ่านอาจจะลองเปรียบเทียบความรู้สึกตัวเองหลังจากอ่านคำถาม 2 ประโยคบนก็ได้ ว่าแบบไหนที่ทำให้เราเห็นทางไป เห็นคุณค่า และมีพลังงานในการลงมือทำมากกว่ากัน? นี่คือพลังของการนำคุณค่าของสิ่งต่างๆ มาใช้ตั้งคำถาม

Akita Warehouse

นำคุณค่าของสิ่งต่างๆ มาใช้ตั้งคำถาม

สุดท้ายแล้วสิ่งที่ท้าทายและใช้เวลามากที่สุด อาจไม่ใช่ “การตั้งคำถาม” แต่เป็น “การฝึกหาคุณค่าในสิ่งต่างๆ” มากกว่า

Sellsuki ออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด “คืนเวลาที่เจ้าของธุรกิจเคยใช้อย่างไม่มีค่าในการจัดการออเดอร์” เพราะเรามองว่า คุณค่าของธุรกิจก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ที่มันต้องโตไปเรื่อยๆ และต้องมีเวลามากพอในการเอาใจใส่ให้มันเติบโต

Akita Warehouse ซึ่งเป็นโปรดักซ์น้องใหม่ (ที่จับมือกับคลังสินค้าและโลจิสติกประสบการณ์ 40 ปี) เราจึงสังเคราะห์คุณค่าของความเป็นระบบคลังสินค้าและ Fulfilment สำหรับธุรกิจในทศวรรษใหม่ออกมาได้ ดังนี้

นำคำถามที่ถูกต้องมาใช้ในการพัฒนา

เราคิดว่า จากคำถาม ”เราจะทำอย่างไร ให้ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เรา ได้รู้จักเราและให้เราช่วยเค้าได้มากขึ้น?” มันนำไปสู่การกระตุ้นให้ทีมได้คิดต่อ ว่าธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เรา เค้าเป็นธุรกิจแบบไหน? เค้ามีความกลัวหรือกังวลอะไร? เค้ากำลังต้องการอะไร? ฯลฯ ซึ่งคำถามลูกๆ เหล่านี้ต่างก็กลายเป็นโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำเสนอทางขายและการตลาด และกลยุทธ์ในการ Scale up ของธุรกิจในเวลาต่อมานั่นเอง

นอกจากนี้ การฝึกมองคุณค่าของสิ่งต่างๆ ยังสามารถนำไปใช้ได้อีกหลายมิตินอกเหนือจากการทำงาน คำถามที่ว่า
เราจะเป็นคนรักที่ทำให้แฟนอุ่นใจที่มีเราอยู่เคียงข้างได้อย่างไร?
เราจะทำให้พ่อแม่หายเหนื่อยได้วิธีไหนบ้าง?
เราจะกลายเป็นคนที่สร้างความสุขจากตัวเองได้อย่างไร?
ฯลฯ

เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่น่าสนใจที่เราน่าถามตัวเองอยู่เหมือนกัน
แล้ววันนี้ คุณตั้งคำถามที่ถูกต้องกับตัวเอง กับทีมงาน หรือกับคนข้างๆ แล้วหรือยัง?

--

--

Kansapat Asawarujanon
Stories of Sellsuki

Social Media: a place where an introvert digital marketer can be extrovert.