20 บริษัท ที่ทำ Digital Transformation ดีที่สุดในโลก
Harvard Business Review ได้เผยแพร่บทความเรื่อง The Top 20 Business Transformations of the Last Decade จัดอันดับ 20 บริษัท ที่ทำ Digital Transformation ดีที่สุดในโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จัดอันดับโดยบริษัทที่ปรึกษา Innosight ที่ได้คัดเลือกบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีรายชื่ออยู่ใน S&P 500 (บริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีผลตอบแทนดีที่สุด 500 อันดับแรก) และ Global 2000 (บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2,000 ลำดับแรก จัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes)
ปัจจัยที่พิจารณาในการจัดอันดับในครั้งนี้ ประกอบด้วย
- New Growth : ที่บริษัทมีความสามารถและความสำเร็จในการ “New Growth Area” ให้กับธุรกิจ ทั้งจากสินค้าและบริการใหม่ๆ ตลาดใหม่ และโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ โดยตัวชี้วัดที่สำคัญคือสัดส่วนของรายได้ที่ได้มาจาก “New Growth Area” เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากธุรกิจหลักเดิม
- Repositioning the core : ความสามารถในการเปลี่ยนธุรกิจใหม่ของบริษัท ทั้งจากการเปลี่ยนจาก Core ของธุรกิจหลักที่มีอยู่เดิม การสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นใหม่ในตลาดหรืออุตสาหกรรม
- Financials : พิจารณาจากผลประกอบการของธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งด้านการเงินและตลาดหุ้น ความสามารถในการพลิกฟื้นธุรกิจจากเดิมที่เคยขาดทุนหรือมีการเติบโตต่ำ จนสามารถกลับมาเป็นผู้นำในธุรกิจได้
Netflix : เปลี่ยนจากผู้ส่ง DVDs ทางไปรษณีย์ เป็นผู้นำในการให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทนต์ และปัจจุบันก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในการผลิต Origital Content
Adobe : ก้าวข้ามจาก Core ธุรกิจหลักเดิมที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์เอกสารและการสร้างสรรค์ เปลี่ยนมาเป็นผู้นำในการให้บริการด้าน Digital Experiences, Marketing, แพลตฟอร์ม Commerce และ Analytics ด้วยโมเดลแบบบอกรับสมาชิก (Subscription) ผ่านบริการในรูปแบบ คลาวด์ คอมพิงติ่ง (Cloud Computing)
Amazon : บริการคลาวด์ Amazon Web Services (AWS) กลายเป็นธุรกิจหลักของ Amazon ที่สามารถสร้างกำไรอย่างมหาศาล โดย Amazon ยังได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ของตัวเองที่ประกอบไปด้วยสินค้าและบริการต่างๆ อีกมากมาย
Tencent : เปลี่ยนจากธุรกิจ Online Messenger และ Video Game เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สื่อและบันเทิง, ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle), คลาวด์ คอมพิงติ่ง (Cloud Computing) และ เทคโนโลยีด้านการเงิน (FinTech)
Microsoft : เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจเป็น cloud-based platform-as-a-service จากเดิมที่ขายสินค้า, ลิขสิทธิ์ (Licensees/IP) และอุปกรณ์ต่างๆ
Alibaba : เปลี่ยนจากธุรกิจอินเตอร์เน็ตอีคอมเมิร์ซและค้าปลีก มาเป็นผู้นำธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ให้บริการที่หลากหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ
Ørsted : เปลี่ยนจากธุรกิจสำรวจและผลิตก๊าซและน้ำมัน เป็นผู้นำธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากทุ่งกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Intuit : เปลี่ยนจากธุรกิจผู้ให้บริการเอกสารออนไลน์สำหรับธุรกิจ มาเป็นผู้สร้างระบบนิเวศน์ด้านบริการทางการเงินให้ธุรกิจโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
Ping An : เปลี่ยนจากบริษัทประกันและผู้ให้บริการทางการเงิน เป็นบริษัทเทคโนโลยีบนคลาวด์ที่ให้บริการเกี่ยวกับ FinTech และบริการทางการแพทย์และสุขภาพด้วย AI
DBS : เปลี่ยนจากธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินแบบดั้งเดิม เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลกด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในธนาคารด้วยแนวคิด “The Future of Banking” และนโยบาย “27,000-person startup” ที่เป็นวิสัยทัศน์ในการปลูกฝังวัฒนธรรมแบบสตาร์ทอัพให้กับพนักงานทั้ง 27,000 คน
A.O. Smith : เปลี่ยนจากธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นผู้นำด้าน Water Technology ของโลก
Neste : เปลี่ยนจากธุรกิจน้ำมันและก๊าซ เป็นผู้นำในธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพของโลก
Siemens : ในปี 2014 ได้ประกาศ Vision 2020 ที่เปลี่ยนจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและอุตสาหกรรม หันมามุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้า (Electrification), เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) และระบบดิจิทัล (Digitalization)
Schneider : เปลี่ยนจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเครื่องจักร สู่การเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติด้วยแพลตฟอร์ม IoT แบบเปิด (Open IoT platform)
Cisco : เปลี่ยนจากผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการด้านเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำด้านการให้บริการ Digital IT solutions
Ecolab : เปลี่ยนจากผู้ให้บริการทำความสะอาดพรมในโรงแรม เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับ ความสะอาด สุขอนามัย การจัดการคุณภาพน้ำและพลังงาน
Fujifilm : เปลี่ยนจากธุรกิจการถ่ายภาพ เป็นผู้นำด้านธุรกิจสุขภาพและการถ่ายภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging)
AIA : เปลี่ยนจากธุรกิจประกันสุขภาพ เป็นผู้นำด้านธุรกิจ Wellness และ Prevention ด้วยการสร้างสรรค์โครงการ AIA Vitality
Dell : เปลี่ยนจากธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับธุรกิจ
Philips : เปลี่ยนธุรกิจหลักจากเดิมที่มีหลากหลายธุรกิจ ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่าง เป็นผู้นำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Healthcare Technology Company)
Digital Transformation Canvas โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่
Digital Transformation Canvas เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายภาพรวมในการคิดกลยุทธ์และออกแบบกระบวนการทำตามหลักการทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่
สรุปจากกรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรียบเรียงทีละขั้นตอนการทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก 20 บริษัทที่ทำ Digital Transformation ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยนิตยสาร Harvard Business Review รวมถึงบริษัทชั้นนำระดับโลกและของไทย อาทิ Netflix, Adobe, Amazon, Ping An, Nestle, Stripe, 23andMe, airasia, airbnb Meituan, ไปรษณีย์ไทย, RS Group, Flash Express
อ่านแนวคิดและเครื่องมือ Digital Transformation Canvas เพิ่มเติมได้ที www.digitaltransformationcanvas.com/Thai/canvas