7 เรื่องต้องรู้ ในการระดมทุน IPO และ ICO สรุปจาก SET

สรุปจากการงานสัมมนา “Digital Asset กับโอกาสเติบโตทางธุรกิจ (New S-Curve) ของบริษัทจดทะเบียน” จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

--

7 เรื่องต้องรู้ ในการระดมทุน IPO และ ICO สรุปจากการงานสัมมนา Digital Asset กับโอกาสเติบโตทางธุรกิจ (New S-Curve) ของบริษัทจดทะเบียน จัดโดย SET
  1. เปรียบเทียบหลักเกณฑ์การระดมทุนระหว่าง IPO และ ICO
  2. Digital Asset & Blockchain Business Transformation
  3. แนวทางในการกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน ก.ล.ต. และ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  4. บริษัทไทยที่เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาจากงานสัมมนาในครั้งนี้
  5. หากจะระดมทุน และ/หรือ ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ Digital Asset จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
  6. วิธีการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ทั้งประเภท Investment Token และ Utility Token ภายใต้การกำกรับดูแลของ สำนักงาน ก.ล.ต.
  7. กระบวนการออก เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการนำเข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (Thai Digital Assets Exchange — TDX)

7 Things You Need to Know in IPO and ICO Fundraising Summary from The Stock Exchange of Thailand (SET)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จัดอบรมหลักสูตร Digital Asset กับโอกาสเติบโตทางธุรกิจ (New S-Curve) ของบริษัทจดทะเบียน เมื่อวันที่ 7–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งงานนี้ได้รับความสนใจและผลตอบรับดีมากงานหนึ่ง เห็นได้จากมีจำนวนผู้เข้าลงทะเบียนและรับฟังช่วง Live มากกว่า 1,200 คน ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังจากงานสัมมนาดังกล่าว ผมได้รับคำถามคล้ายๆ กันจากเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงหลายท่าน ทั้งจากบริษัทที่จดทะเบียนใน SET และ mai อยู่แล้ว รวมถึงจากบริษัทที่กำลังเข้าจดทะเบียน เกี่ยวกับการะดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัล

ผมจึงขอสรุปวิธีการระดมทุนระหว่าง IPO และ ICO ให้กับทุกท่านอีกครั้งในที่นี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและทางเลือกสำหรับทุกท่าน ในการระดมทุนตามกฎหมาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และการกำกับดูแล ทั้งจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ — กลต. (SEC) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย — ธปท. (BOT)

ประเด็นที่ 1 : เปรียบเทียบหลักเกณฑ์การระดมทุนระหว่าง IPO และ ICO

เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ SET/mai vs. TDX

IPO ( Initial Public Offering ) คือ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทที่ต้องการระดมทุนเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ และเข้าเทรดในทั้ง SET และ mai

ICO (Initial Coin Offering) คือ การระดมทุนแบบดิจิทัลด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านระบบบล็อกเชนต่อสาธารณชน โดยผู้ระดมทุนจะเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล

ปัจจุบัน บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด หรือ Thai Digital Assets Exchange Company Limited — TDX เป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายสำหรับการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) เพื่อเพิ่มโอกาสและความหลากหลายในการระดมทุนและการลงทุนผ่านโทเคนดิจิทัลภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง​

เปรียบเทียบการระดมทุนระหว่าง IPO และ ICO

สำหรับ “หุ้น” ก็ถือเป็น Token รูปแบบหนึ่ง แต่หุ้นกำหนดสิทธิประโยชน์ด้วยกรอบของกฎหมายในปัจจุบันว่า ผู้ถือหุ้นมีสิทธิความเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล รวมถึงมีสิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจาก Digital Token คือ จะได้สิทธิบางประการที่ผู้ออก Token ระบุไว้ แต่จะไม่ได้สิทธิความเป็นเจ้าของบริษัทเหมือนผู้ถือหุ้น

ประเด็นที่ 2 : Digital Asset & Blockchain Business Transformation

การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล มาทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจ (New S-Curve)

Digital Asset และ Blockchain เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation อย่างไร

  • Blockchain เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักของทรานส์ฟอร์มธุรกิจในยุคปัจจุบัน คุณสมบัติพื้นฐานของเทคโนโลยีฐานข้อมูลได้รับการระบุไว้ในปี 1991 จนในปี 2009 บล็อกเชนถูกใช้ในทางปฏิบัติกับสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin เป็นครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมา การใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับ Blockchain ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • Digital Asset & Blockchain Business Transformation คือ การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนในการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model) ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนองค์กรและกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตครั้งใหม่ใหักับธุรกิจแบบ New S-Curve

ตัวอย่างกรณีศึกษา และ Use Cases

Forbes The Blockchain 50

บริษัทระดับโลกที่ได้ทำ Digital Asset & Blockchain Business Transformation อาทิ Microsoft, Cargill, IBM, Sotheby’s, Breitling, Boeing, Andreesen Horowitz, Block (as Square), China Construction Bank, Fidelity, Mastercard, Meta, Oracle, Tencent, and Visa, Tech Mahindra, Samsung, Kakao, Fujitsu, Line Corporation, Twitter, Adobe, J.P. Morgan, Mastercard (ดูรายชื่อบริษัททั้งหมดได้ที่ Forbes The Blockchain 50 2022)

หากคุณต้องการทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการและรูปแบบข้อมูลของเทคโนโลยี Blockchain ที่นำไปสู่การสร้างสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียนและประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัล แนะนำรับฟังคลิปจาก SET เพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/XG3S3CLnV8U

ประเด็นที่ 3 : แนวทางในการกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน ก.ล.ต. และ ธนาคารแห่งประเทศไทย

Investment Token และ Utility Token เป็นประเภทของสินทรัพท์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล

ตามกฎหมายไทย ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ​​​สินทรัพย์ดิจิทัลมี 2 ประเภทด้วยกัน

ประเภทที่ 1 : Cryptocurrency ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ เช่น Bitcoin, Ethereum, Litecoin, Ripple, Stellar เป็นต้น

จากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง เกณฑ์กํากับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางใน การชำระค่าสินค้าบริการ (Mean of Payment) นั่นคือ จะไม่สามารถใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ประเภท Cryptocurrency มาชำระสินค้าบริการในประเทศไทยแทนเงินบาทได้ และไม่อยู่ในการให้บริการของ TDX ด้วย

ประเภทที่ 2 : คือ Digital Token ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่

  • Investment Token หรือ โทเคนเพื่อการลงทุน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุน เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ สิทธิในผลกำไรจากการลงทุน เป็นต้น
  • Utility Token หรือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร เป็นต้น

โดย Investment Token และ Utility Token เป็น Digital Asset ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : SETinvestnow ก.ล.ต.

ประเด็นที่ 4 : บริษัทไทยที่เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาจากงานสัมมนาในครั้งนี้

  • โปรเจค SiriHub Investment Token โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ของ SANSIRI ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลการลงทุนแรกของไทย ที่อ้างอิงกระแสรายรับ จากอสังหาริมทรัพย์ (Asset-backed) ออกโดยบริษัท เอสพีวี 77 จํากัด โดยมี XSpring Capital Public Company Limited (XPG) เป็น ICO Portal โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนในมูลค่ารวม 2,400 ล้านบาท เพื่อลงทุนให้ได้มาซึ่งกระแสรายรับจากกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส (Siri Campus) ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์อ้างอิงในการระดมทุนนี้
  • โปรเจค Destiny Token ของ GDH 559 และ Broadcast Thai Television ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลจากภาพยนตร์ “บุพเพสันนิวาส ๒” โดยมี Kubix เป็น ICO Portal ได้ระดมทุนในมูลค่า 265 ล้านบาท ‘Destiny Token’ เป็นการผสานของโทเคนเพื่อการลงทุน (Investment Token) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ซึ่งนักลงทุนที่ลงทุนใน DESTINY Token จะได้รับทั้งผลตอบแทนในรูปแบบตัวเงิน ผลตอบแทน 2.99% ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และสิทธิพิเศษ ของ Utility Token ที่มอบให้เฉพาะผู้ถือโทเคนดิจิทัลนี้เท่านั้น เช่น สามารถนำมาแลกตั๋วชมภาพยนตร์ , แลกซื้อป๊อบคอร์น หรือได้สิทธิพิเศษร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
  • โปรเจค JFin Coin เป็น โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token)โดยกลุ่มบีทีเอส (BTS Group) ทุ่มเงินกว่า 1.85 หมื่นล้าน เข้าถือหุ้น JMART และ SINGER เพื่อต่อยอดธุรกิจ โดยการนำ ‘JFin Coin’ ชำระค่ารถไฟฟ้าและซื้อสินค้าบริการในเครือ เช่น ใช้จ่ายผ่านบัตร Rabbit และ Rabbit LINE Pay ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ตํ่า, ใช้จ่ายค่าบริการของรถไฟฟ้า BTS, จ่ายค่าส่งสินค้ากับ Kerry, ใช้งานกับบริการต่าง ๆ ของ VGi ที่เป็น ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน ธุรกิจให้บริการชำระเงิน และธุรกิจ โลจิสติกส์ที่ครบวงจร, สำหรับซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของ U City รวมถึงการใช้ JFIN Coin แลกเครื่องดื่ม ‘เต่าบิน’ เป็นต้น
JFIN x เต่าบิน’ เปิดให้ใช้ JFIN Coin แลกเครื่องดื่ม 1 เหรียญ = 1 แก้ว ราคาใดก็ได้!
  • โปรเจค Crown Token (CWT)เป็น โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ของ T&B Media Global ได้ระดมทุนในจำนวน 140 ล้าน Token (ราคาเปิดขายที่ 33.50 บาทต่อ Token) เพื่อใช้ร่วมกับธุรกิจในเครือ ทั้ง Vuga Digital, Tree Roots Entertainment และ MQDC ในการบริหารจัดการและลงทุนในลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Management and Invement) ธุรกิจสื่อและบันเทิง อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจน NFT และ Metaverse ในอนาคต
พันธมิตรของ CRWON TOKEN “CWT”
  • โปรเจค Popcoin เป็น โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ของ RS Group
  • โปรเจค KUB เป็น โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ของ Bitkub เพื่อใช้ร่วมกับ Bitkub Chain Ecosystem, Bitkub Next, Bitkub NFT, Gamefi & DeFi
  • โปรเจค Blockchain Procure-to-Pay (B2P) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดย บริษัท Digital Ventures
  • โปรเจค “แอปพลิเคชัน C-Coin” โดยบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (CRC) C-Coin ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนโดย Central Tech Innovation ด้วยการใช้บล็อคเชนทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมลดลง ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ให้มีอายุยืนยาวและเชื่อถือได้ วัตถุประสงค์ของแอปพลิเคชั่น C-Coin คือการสร้างเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานและเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ของกลุ่มเซ็นทรัลให้กับพนักงานมากกว่า 80,000 คนที่ทำงานในหน่วยธุรกิจทั่วโลก โดย C-Coin ได้รับรางวัล Best in Future of Work จาก IDC Future Enterprise Awards Thailand 2021 อีกด้วย
  • Zipmex เพิ่งได้รับเงินลงทุนในการระดมทุนรอบ Series B เป็นจํานวนเงินกว่า 1,300 ล้านบาท จาก บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุน (VC: Venture Capital) ในเครือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพ และยังมี บริษัท แพลน บี มีเดีย จํากัด (มหาชน) และ บริษัท มาสเตอร์ แอด จํากัด (มหาชน) ที่ได้ประกาศเข้าร่วมลงทุนในรอบก่อนหน้านี้ และยังมี บริษัทลงทุนต่างชาติรายอื่นอีกเช่นกัน โดย Zipmex มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่แพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ดิจิทัลโทเคนอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.

  • “SPEEDKUB” และ “FIIT TOKEN” ของ บริษัท สบาย ดิจิตอล จำกัด (SABUY Digital) บริษัทภายใต้กลุ่ม บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
  • “BNK Governance Token” ของ บริษัท อินดิเพนเดนท์ อาร์ตทิสต์ เมเนจเมนต์ หรือ iAM ออกโดย บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์
  • “Ready-to-Use Utility Token” ของบริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) ร่วมกับบริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด และบริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด (ERX)
  • อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ ที่นี่
รายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับภาวะตลาดทุน ประจำเดือนมิถุนายน 2565 โดย สำนักงาน ก.ล.ต.

จากรายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับภาวะตลาดทุน ประจำเดือนมิถุนายน 2565 โดย สำนักงาน ก.ล.ต. พบว่า

  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 มีการระดมทุนเสนอขาย IPO แล้ว 13 หลักทรัพย์ คิดเป็นมูลค่าเสนอขาย 11,755.18 ล้านบาท โดยมีคําขอที่ได้รับอนุญาต และพร้อมเสนอขาย IPO จํานวน 10 หลักทรัพย์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 17 หลักทรัพย์ และที่อยู่ระหว่าง Pre-consult 76 หลักทรัพย์
  • ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดทุนเป็นแหล่งทุนที่สําคัญและยังมีการระดมทุนผ่านตลาดทุนต่อเนื่อง สําหรับการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น มีจํานวน 1 บริษัท คือ Destiny token ซึ่งมีมูลค่าการเสนอขาย 265.23 ล้านบาท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลถึงปัจจุบันทั้งสิ้น 2 บริษัท มูลค่า 2,665.23 ล้านบาท)
  • มีคําขอเสนอขาย ICO อีกกว่า 26 บริษัท อยู่ระหว่าง Pre-consult

ประเด็นที่ 5 : หากจะระดมทุน และ/หรือ ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ Digital Asset จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (“พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ”) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลการระดมทุนต่อประชาชนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล การประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน หรือโทเคนดิจิทัลที่ผู้เสนอขายได้ออกไว้แล้วและ มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายเป็นการทั่วไปต่อประชาชน จะกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด และต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมทั้งต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอ ขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วย

ประเด็นที่ 6 : วิธีการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ทั้งประเภท Investment Token และ Utility Token ภายใต้การกำกรับดูแลของ สำนักงาน ก.ล.ต.

ผู้ที่ต้องการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ในที่นี้เรียกว่า ผู้ระดมทุน Issuer Company) ทั้งประเภท Investment Token และ Utility Token ที่มีลักษณะพร้อมใช้และให้มีการซื้อขายในตลาดรอง และต้องการ List เหรียญ จากผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) เช่น BITKUB, Satang Pro, Zipmex, TDX จะต้องดำเนินการ ดังนี้

  1. ผู้ระดมทุน Issuer Company เตรียมข้อมูลโทเคนที่ต้องการระดมทุน (Draft White Paper) เช่น จานวนเงินที่ต้องการระดมทุน, สิทธิประโยชน์ของผู้ถือโทเคนและผลตอบแทน, สินทรัพย์หรือโปรเจคที่จะนามาใช้สร้างกระแสรายได้, ข้อมูลแผนธุรกิจภายหลังจากการระดมทุน รวมถึงโครงสร้างบริษัทและทีมผู้บริหาร ฯลฯ
  2. จัดจ้างที่ปรึกษาในด้านต่างๆ ที่ปรึกษาหลัก ได้แก่ ปรึกษาด้านกฎหมาย, ผู้ตรวจสอบบัญชี รวมถึง ICO Portal (ดูรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต ICO Port จาก สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ ที่นี่) เพื่อจัดทำ White Paper อย่างละเอียดตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.
  3. ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาอนุมัติ
  4. หลังจากที่ขออนุมัติกับทาง สำนักงาน ก.ล.ต. ได้แล้ว ผู้ระดมทุน Issuer Company จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนดิจิทัลโทเคน
  5. ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล เช่น TDX พิจารณาอนุมัติ และดำเนินการจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดรอง (อ่านเพิ่มเติม ประเด็นที่ 7 : กระบวนการออก เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการนำเข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย — TDX ด้านล่าง)

เมื่อได้รับการอนุมัติจากศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ระดมทุน Issuer Company จะต้องเสนอขายโทเคนดิจิทัลภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้ ในกรณีที่การออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ (Utility token พร้อมใช้) และผู้ประกอบการไม่ต้องการให้มีการซื้อขายในตลาดรอง หรือไม่ต้องการ List เหรียญ จะได้รับข้อยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. เช่น กรณีของเหรียญ Popcoin

โดยกระบวนการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ มีกระบวนการและระยะเวลาดำเนินการใกล้เคียงกับ กระบวนการระดมทุน IPO ใน SET และ mai ที่ใช้ระยะเวลาประมาน 12–18 เดือน ดังนี้

  1. ผู้ระดมทุน Issuer Company เตรียมข้อมูลเพื่อขอระดมทุน เช่น ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ข้อมูลแผนธุรกิจ ทีมผู้บริหาร
  2. จัดจ้างที่ปรึกษาในด้านต่างๆ ที่ปรึกษาต่าง ๆ รวมถึง วาณิชธนกิจ (Investment Banker) เพื่อช่วยผู้ระดมทุนเตรียมข้อมูล และ ออกหนังสือชี้ชวน
  3. สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาอนุมัติ
  4. ผู้ระดมทุน Issuer Company ยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์
  5. ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ SET พิจารณาอนุมัติ และดำเนินการจดทะเบียน

A Complete Guide to the Regulations on Cryptocurrency and Digital Token Offering in Thailand 2022 Edition (The law as of 15 July 2022) by Baker Mckenzie

ประเด็นที่ 7 : กระบวนการออก เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการนำเข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (Thai Digital Assets Exchange — TDX)

บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด (Thai Digital Assets Exchange — TDX)
กระบวนการออก เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการนำเข้าจดทะเบียนใน TDX

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด (TDX) เพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th/th/tdx/about

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่จดทะเบียนใน SET และ mai หรือ บริษัทที่กำลังเข้าจดทะเบียน และสนใจระดมทุนด้วยการสร้าง Digital Asset ทั้งในรูปแบบ Investment Token และ Utility Token

และต้องการคำแนะนำในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุน อาทิ

  • เตรียมข้อมูลโทเคนที่ต้องการระดมทุน เช่น จานวนเงินที่ต้องการระดมทุน, สิทธิประโยชน์ของผู้ถือโทเคนและผลตอบแทน, สินทรัพย์หรือโปรเจคที่จะนามาใช้สร้างกระแสรายได้, ข้อมูลแผนธุรกิจภายหลังจากการระดมทุน
  • การจัดทำ Draft White Paper เพื่อยื่นเสนอโครงการต่อ ICO Portal
  • ทำงานร่วมกับ ICO Portal เพื่อจัดทำ ตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และการเป็นที่ปรึกษาร่วมกับทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมาย, ผู้ตรวจสอบบัญชี ของบริษัท
  • ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาอนุมัติ
  • ทำงานร่วมกับศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล เพื่อดำเนินเสนอขายโทเคนดิจิทัลในตลาดรอง
  • รวมถึง การคิดแผนธุรกิจใหม่และแผนการระดมทุน ICO ให้สอดคล้องกับแผนระดมทุน IPO
  • หรือ หากคุณมีความประสงค์ที่จะออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ (Utility token พร้อมใช้) และไม่ต้องการให้มีการซื้อขายในตลาดรอง หรือไม่ต้องการ List เหรียญ เพื่อจะได้รับข้อยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. เช่น กรณีของเหรียญ Popcoin

สามารถติดต่อเพื่อรับแนะนำจากผมและทีมที่ปรึกษาจาก sfia ได้ที่ อีเมล์ contact@sfia.io หรือ โทร. 098-269-9004

--

--