Transformer Map เครื่องมือออกแบบกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (พร้อมกรณีศึกษา)

เครื่องมือออกแบบกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อโต้กลับ Disrupter (พร้อมกรณีศึกษา)

--

Transformer Map by Digital Transformation Academy

หากคุณคือเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูง … บทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมความพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อโต้กลับ Disrupter ด้วยเครื่องมือออกแบบกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ที่เรียกว่า Transformer Map

เมื่อองค์กรที่อยู่มาก่อน หรือ ‘Incumbent’ กำลังถูกดิสรัปต์จาก ‘Disruptor’ ซึ่งเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ หรือ ‘Newcomer’ ที่ไม่ใช่คู่แข่งที่มาจากในอุตสาหกรรมเดียวกันตามคำนิยามการแข่งขันแบบดั้งเดิม ทั้งที่เป็น Startup, บริษัทเทคโนโลยี (Tech Company) และจากบริษัทที่อยู่ต่างอุตสาหกรรมแต่ได้ก้าวข้ามอุตสาหกรรมเดิมเข้ามาแข่งขันกับเราได้ด้วยการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี (Cross-industry competitors)

Transformer Map ทางเลือกการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทั้ง 4 ช่อง

Transformer Map by Digital Transformation Academy

ช่องที่ 1 : Current [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

กลยุทธ์ที่ธุรกิจมักจะทรานส์ฟอร์มในส่วนนี้ มักจะใช้กลยุทธ์​ Refocus เพื่อรักษาฐานลูกค้าเฉพาะบางกลุ่มที่เป็นที่มั่นของธุรกิจหรือยังสามารถทำกำไรให้ธุรกิจได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คู่แข่งจะไม่สามารถหรือลำบากในการช่วงชิงกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ควบคู่ไปกับการ Lean เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและสิ่งที่ไม่เกิดมูลค่า เช่น จำนวนพนักงาน จำนวนสาขา พร้อมทั้งนำดิจิทัลเทคโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ช่องที่ 2: Current [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + เข้าสู่ตลาดใหม่

หลายครั้งที่ธุรกิจได้เลือกกลยุทธ์ในการโต้กลับด้วยการเปิดธุรกิจใหม่แข่งกับ ‘Disruptor’ เอง ด้วยการการลงทุนในดิจิทัลเทคโลยีสร้างขีดความสามารถใหม่ในการแข่งขัน เพื่อไม่ให้ ‘Disruptor’ สามารถเข้าครองตลาดใหม่ที่มีศักยภาพได้ ดังเช่นกรณีของ Facebook ที่ในอดีตได้ปรับ Instagram มาทำตลาดในกลุ่มวัยรุ่นแข่งกับ Snapchat

ช่องที่ 3: New [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

บางครั้ง ธุรกิจที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เนื่องจากบริบทการแข่งขันและดิจิทัลเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป การปรับสู่ธุรกิจอื่น อาจเป็นทางรอดและการเติบโตครั้งใหม่ของธุรกิจเดิมได้ ดังเช่นกรณีของ ‘หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ’ ที่ทรานส์ฟอร์มธุรกิจเป็น ‘ไทยรัฐออนไลน์’ ผู้นำในธุรกิจสื่อดิจิทัล โดยธุรกิจเมื่อได้ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ในตลาดปัจจุบันได้แล้ว ก็จะดำเนินการควบคู่ในการเข้าสู่ตลาดใหม่ในช่องที่ 4

ช่องที่ 4: New [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + เข้าสู่ตลาดใหม่

ผู้นำธุรกิจในปัจจุบันมักมีความสามารถในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจใหม่ของของบริษัท (Reposition the Core) ทั้งจากเปลี่ยนจาก Core ของธุรกิจหลักที่มีอยู่เดิม และการสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นใหม่ในตลาดหรืออุตสาหกรรม เพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ (New Growth) ด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในกรณีศึกษาบริษัทชั้นนำระดับโลกและของไทย ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จากหนังสือใหม่ Transformer Playbook คู่มือทรานส์ฟอร์มธุรกิจ หนังสือลำดับที่ 4 ของหนังสือชุด Digital Transformation เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

หนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

ดูข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม และสั่งซื้อได้ที่ www.digitaltransformationacademy.org/Books

กรณีศึกษาทรานส์ฟอร์มธุรกิจระดับโลกและของไทย หนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

อ่านกรณีศึกษา Transformers เพิ่มเติมได้ ที่นี่

--

--